เนื่องจากมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ละลอกใหม่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาลและแนวทางของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม (อว.) ในการปิดมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว และให้ทำงานจากที่บ้าน (Work from home)
ผู้เขียน เป็นบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จึงได้เตรียมงานที่สามารถทำจากที่บ้านได้ โดยนำใบสั่งซื้อจากร้านค้า มาตรวจสอบกับระบบห้องสมุด และบันทึกข้อมูลในส่วนที่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่สะดวกในเรื่องการนำหนังสือมาวิเคราะห์และลงรายการทางบรรณานุกรมจากที่ทำงานมาทำที่บ้าน การสแกนหน้าปก เพื่อจะได้นำมาทำที่บ้าน ไม่สามารถจัดเตรียมได้ทัน เนื่องจากปิดมหาวิทยาลัยค่อนข้างกระทันหัน หัวหน้าแผนกฯ จึงได้มอบหมายให้นำใบสั่งซื้อจากร้านค้า มาดำเนินการในส่วนของ งานวิเคราะห์ฯ ในเบื้องต้น
โดยมีการทำงานจากที่บ้าน ดังนี้ Read the rest of this entry »
View (65)
เมื่อพบว่า มีระเบียนบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศซ้ำซ้อนหรือมี bibliographic record (bib) ซ้ำกัน บรรณารักษ์จะรวมระเบียนนั้น ๆ หรือรวม bib นั้นให้เหลือเพียงระเบียนเดียว หรือ bib เดียวที่สมบูรณ์เท่านั้น โดยการเลือกใช้คำสั่ง Move ย้ายไปยังระเบียนที่สมบูรณ์ที่สุด
เข้าสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS https://hcu.share.worldcat.org/wms และเลือกโมดูล Matadata แล้ว เลือกระเบียนที่มี Bib ซ้ำ ซึ่งจะย้ายไปรวมกับ Bib อื่น จึงต้อง Move ส่วนที่เป็น LBD (คือ Local Bibliographic Data เป็นส่วนข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุด ซึ่งจะมีส่วนนี้ เมื่อใช้ Bib ร่วมกับ Master record กับห้องสมุดแห่งอื่น ห้องสมุดที่ขอใช้ระเบียนร่วมจะใส่ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่ห้องสมุดใส่นอกเหนือจากที่มีการลงใน master record) ไปอยู่ในระเบียนใหม่
ตัวอย่างแสดงหน้าจอ LBD
Read the rest of this entry »
View (42)
สมาชิกหรือผู้ใช้ห้องสมุดเมื่อยืมหนังสือออกจากห้องสมุดแล้วไม่สามารถนำหนังสือมาคืนได้ตามกำหนดเวลา หรือนำหนังสือมาคืนล่าช้ากว่ากำหนดจึงทำให้เกิดค่าปรับขึ้น สมาชิกหรือผู้ใช้บางท่าน อาจจะไม่พร้อมที่จะชำระค่าปรับทั้งหมดในคราวเดียวกันได้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ อนุญาตให้สมาชิกสามารถแบ่งการชำระค่าปรับได้ ดังมีขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องดำเนินการเคลียร์รายการค่าปรับในระบบ ดังนี้
1.เข้าสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS คลิกที่เมนูตามลูกศรชี้
View (26)
ในระบบการสืบค้นฐานข้อมูล มักจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ใส่คำค้นในช่องทางการสืบค้นจากกล่องการสืบค้น จากเขตข้อมูลจากสืบค้นจากเขตข้อมูลที่ระบบนั้น ๆ กำหนดเป็นคำค้น สำหรับฐานข้อมูลห้องสมุด เช่นเดียวกัน เก็บคำค้นจากเขตข้อมูลใดบ้าง มักจะระบุในกล่องการสืบค้น เช่น ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง คำสำคัญ หัวเรื่อง ISBN เป็นต้น
ตัวอย่าง กล่องการสืบค้นของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services-WMS ระบบมีเขตข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้เลือกเป็นตัวช่วยค้น และมีตรรกะบูลีน (AND OR NOT) เพื่อเพิ่มเงื่อนไขในการสืบค้นให้ด้วย
รูปที่ 1 คำค้น (Index) ในกล่องการสืบค้น
นอกจากการสืบค้นจากกล่องหรือช่องทางการสืบค้นที่ระบบให้มา ดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้หรือบรรณารักษ์ สามารถที่จะพิมพ์หรือใส่คำค้นในเขตข้อมูลที่ต้องการจะค้น ได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องเรียนรู้ ตัวระบุเขตข้อมูลในการค้น หรือตัวที่ระบบนำมาทำเป็นคำค้น (Index labels) ซึ่งจะเป็นตัวย่อ เพื่อจะได้กำหนดการค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการมากขึ้น บทความนี้ สรุปความบางส่วนและนำตัวอย่างจาก Index labels and examples of an expert search in WorldCat [1] ซึ่งเสนอตัวย่อในการกำหนดคำค้น พร้อมตัวอย่าง และลักษณะของการเก็บคำค้น ทำให้สามารถที่จะค้นได้ตรงมากขึ้น
คำแนะนำในการค้น
1. ใช้เครื่องหมายโคลอน ( : ) หลังคำค้น เช่น au: wang ถ้าไม่แน่ใจคำค้น เช่น การสะกด
2. ใช้เครื่องหมาย เท่ากับ ( = ) หลังคำค้น เช่น au=saint-arroman, august สำหรับคำค้นที่ทราบคำที่แน่ชัด หรือถูกต้อง
View (17)
มหาวิทยาลัยหัวเฉึยวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Less Paper (LP) มาใช้เมื่อช่วงการเกิดโรคระบาดโควิด-19 รอบแรก ทำให้การเสนอบันทึกเพื่ออนุมัติเห็นชอบ หรือการแจ้งข่าวสารต่างๆ เป็นไปอย่างไม่หยุดชะงัก มีการปรับวิธีการทำงานบางอย่าง เช่น เอกสารการเงิน เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปและสอดคล้องกับระเบียบ ขั้นตอน เช่น การเสนอเอกสารกรณีเซ็นต์สด ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
เมื่อเข้าระบบ Less Paper และคลิก login เข้าระบบ แล้ว
ขั้นตอนการเข้า Login
View (22)
แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีแนวคิดเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้หนังสืออย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยนำหนังสือที่จัดซื้อในปีที่ผ่านมาลงมาจัดแสดงที่มุมเพาะชำความรู้ มุมเพาะชำนักอ่าน หรือมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เก๋ คือ Something nice to you ซึ่งหมายถึง น่าจะมีหนังสือ ซัก 1 เล่ม ที่คุณชอบ บริเวณโถงกลาง ด้านหน้าศูนย์บรรณสารฯ
มีการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาประมาณ 2-3 ปี ผู้บริหาร จึงได้มีการหารือเพื่อให้หนังสือที่นำมาจัดแสดงน่าสนใจ มากขึ้น ผู้เขียนและทีมงาน จึงได้มีการปรับปรุงการนำหนังสือมาจัดแสดง ซึ่งเดิมพิจารณากันเอง อาจจะมีเปะปะ จึงวางแผนการจัดแสดงหนังสือทั้งปี แบ่งการจัดเป็น Theme ต่างๆ ใช้ระยะเวลาจัดแสดง Theme ละ 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย ตามตารางด้านล่าง
ตารางกิจกรรมการจัดหนังสือมุมเพาะชำความรู้ มุมเพาะชำนักอ่าน
จากการจัดแสดงหนังสือเป็น Theme เป็นระยะเวลาหนึ่ง ไดัรับความสนใจจากผู้ใช้บริการที่เดินผ่านบริเวณ โถงศูนย์บรรณสารฯ ได้แวะชมและหยิบยืมหนังสือเพิ่มขึ้น นับเป็นการกระตุ้นการใช้หนังสือให้คุ้มค่ามากขึ้น ทั้งยังได้เพิ่มยอดการยืมหนังสืออีกทางหนึ่ง โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียเวลาขึ้นไปหาหนังสือบนชั้นต่างๆ จากภาพจัดแสดงหนังสือตาม Theme ต่างๆ รวมทั้งเทศกาลและวันสำคัญ ดังนี้ (ทั้งนี้ Theme อาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ตามภาวะการณ์หรือมีกระแสเกิดขึ้้นในสังคม)
View (24)
ทำต่อออร์เดอร์เดิม คือ การทำขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ต่อจาก (Orders) ที่ยังทำไม่เสร็จในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
Acquisitions module เป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด ในบทความนี้ขอนำเสนอการทำ Orders ต่อจาก Orders ที่ยังทำไม่เสร็จ จะใช้สำหรับ Orders ที่มีจำนวนรายการหนังสือจำนวนมาก ๆ ที่ไม่สามารถทำให้เสร็จภายในวันเดียว และสามารถทำต่อได้ในวันถัด หรือมีงานอื่นที่ต้องทำก่อน ก็สามารถ Save Orders ไว้ทำในคราวถัดไป ทำให้เกิดความสะดวกและง่าย ในการทำรายการต่อ มีขั้นตอนดังนี้
เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms
ไปที่โมดูล Acquisitions เลือก Discover Items Search
ภาพ 1 โมดูล Acquisitions เลือก Discover Items Search
ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS เพิ่มฟังก์ชั่นช่วยในการสืบค้น ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้เป็นตัวช่วยใน (กรอง) การสืบค้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการมากขึ้น ฟังก์ชั่นหรือทางเลือกที่เพิ่มเข้ามาได้แก่
รูปที่ 1 ตัวกรองการสืบค้น
Current Search – Keep selections for subsequent searches
เมื่อเปิดใช้งานตัวเลือกนี้ search filters ที่ผู้ใช้ได้เลือกไปแล้วนั้นจะยังคงอยู่เพื่อใช้ในการค้นหาในครั้งต่อไป ถ้าปิดตัวเลือกนี้ search filters ที่เคยเลือกไว้จะถูกลบ เมื่อผู้ใช้ได้ค้นหาคำค้นครั้งใหม่ Read the rest of this entry »
ปัจจุบัน Line กลายเป็นแอฟพลิเคชั่นที่จำเป็นสำหรับสมาร์ทโฟนและ PC ทุกเครื่องไปแล้ว เพราะสะดวกในการสื่อสารทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว โดยเฉพาะการตั้งกลุ่มหรือ Group ก็มีมากมายหลายกลุ่ม การสื่อสารแบบที่ต้องการให้เลือกหรือโหวต ย่อมเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ปัญหานี้จะหมดไปด้วยการสร้างโหวต หรือ Poll ในกลุ่มไลน์ค่ะ
1 เริ่มจากในหน้าแชทสนทนา คลิกที่เครื่องหมาย + ที่อยู่มุมล่างด้านซ้าย
2 คลิกคำว่า “โหวต”
3 จะเข้าสู่หน้าจอการสร้างโหวต คลิกที่ “สร้างหน้าโหวต”
View (19)
จากการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ไปศึกษาดูงานห้องสมุดมารวย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 น. – 12.00 น. ซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. นั้น สรุปการศึกษาดูงาน ได้ดังนี้
วิทยากรผู้นำชม คือ คุณณัฐยา ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้จัดการ ส่วนงานห้องสมุดมารวย ได้ให้ข้อมูลว่า ห้องสมุดมารวย เป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านตลาดทุนครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทยที่ทันสมัย ด้วยหนังสือและสื่อความรู้ด้านการเงิน การลงทุนมากกว่า 20,000 รายการ พร้อมยกระดับสู่การเป็นห้องสมุดดิจิทัลด้านตลาดทุนชั้นนำระดับประเทศ เพื่อให้นักลงทุน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านตลาดทุน และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านตลาดทุนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ตามเป้าหมาย คือ
ประชาชนทั่วไป เริ่มต้นเรียนรู้การวางแผนการเงินและการบริหารเงินให้งอกเงย
นักลงทุน เริ่มต้นลงทุนศึกษาปัจจัยพื้นฐานและต่อยอดการลงทุนแนวเทคนิค
ผู้ประกอบวิชาชีพ ก้าวสู่การเป็นผู้แนะนำการลงทุน นักวิเคราะห์ และนักวางแผนการเงิน
ผู้ประกอบการ ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีแนวคิดใหม่ และนำนวัตกรรมมาใช้ขับเคลื่อนองค์กร
ในภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ มีหน้าที่หลักคือ 1) Exchange Function หา Product ต่าง ๆ ให้นักลงทุน 2) Education นักลงทุน และบุคคลทั่วไปที่สนใจ อยากมีความรู้ไปบริหารจัดการการเงินของตน ซึ่งในส่วนของงานห้องสมุดทำหน้าที่ในส่วนของการให้ความรู้ (Education) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ งานบริการ และการจัดสรรทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ
ทรัพยากรสารสนเทศมีมากกว่า 20,000 รายการ 80% เป็น Core Subject ด้านการเงิน การลงทุน การบริหารธุรกิจ ส่วนอีก 20% เป็น Support Core Subject ได้แก่ การพัฒนาตนเอง ไอที ภาษา วรรณกรรม หนังสือเด็ก รูปแบบการให้บริการยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัล หรืออิเล็กทรอนิกส์ ได้ทั้งหมด เนื่องจากผู้ใช้บริการยังมีทั้งคนรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ Read the rest of this entry »
View (29)