SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การใช้คำสั่ง Move LBD และ LHR เมื่อมีข้อมูลซ้ำ
ม.ค. 21st, 2021 by dussa

เมื่อพบว่า มีระเบียนบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศซ้ำซ้อนหรือมี bibliographic record (bib) ซ้ำกัน บรรณารักษ์จะรวมระเบียนนั้น ๆ หรือรวม bib นั้นให้เหลือเพียงระเบียนเดียว หรือ bib เดียวที่สมบูรณ์เท่านั้น โดยการเลือกใช้คำสั่ง Move ย้ายไปยังระเบียนที่สมบูรณ์ที่สุด

เข้าสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS https://hcu.share.worldcat.org/wms และเลือกโมดูล Matadata แล้ว เลือกระเบียนที่มี Bib ซ้ำ  ซึ่งจะย้ายไปรวมกับ Bib อื่น จึงต้อง Move ส่วนที่เป็น LBD (คือ Local Bibliographic Data เป็นส่วนข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุด ซึ่งจะมีส่วนนี้ เมื่อใช้ Bib ร่วมกับ Master record กับห้องสมุดแห่งอื่น ห้องสมุดที่ขอใช้ระเบียนร่วมจะใส่ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่ห้องสมุดใส่นอกเหนือจากที่มีการลงใน master record)  ไปอยู่ในระเบียนใหม่

 

ตัวอย่างแสดงหน้าจอ LBD

Read the rest of this entry »

View (105)

การสั่งซื้อหนังสือออนไลน์
ต.ค. 28th, 2020 by dussa

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ มีการปรับนโยบายในการจัดซื้อหนังสือผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ตั้งแต่ช่วงการระบาดของโควิด-19 เดือน เมษายน-พฤษภาคม 2563 ซึ่งศูนย์บรรณสารสนเทศ ปิดทำการ และช่วงเวลาดังกล่าว เป็นการจัดกิจกรรมจัดซื้อหนังสือสัญจรของแผนกจัดหาฯ ในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ที่เมืองทองธานี ซึ่งต้องงดการจัดงานอย่างกะทันหัน บรรณารักษ์จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องปรับตัว และปรับเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อมาเป็นแบบออนไลน์ วิธีการสั่งซื้อ ไม่ยุ่งยากค่ะ เหมือนกับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ทั่วไป

ขั้นตอนการจัดซื้อหนังสือออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (website) ร้านค้า ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. สมัครสมาชิกก่อนการสั่งซื้อออนไลน์

 

เมื่อสมัครสมาชิกแล้วสามารถสั่งซื้อรายการหนังสือตามที่ต้องการได้ทุกเล่มผ่าน เว็บไซต์ของร้านหนังสือ

2. เลือกรายการหนังสือที่ต้องการสั่งซื้อใส่ตะกร้า

 

Read the rest of this entry »

View (449)

การลงรายการบรรณานุกรม Library of Things
เม.ย. 24th, 2020 by dussa

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่จัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท เช่น หนังสือ วารสาร Board Game สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ เพื่อนำมาให้บริการผู้ใช้ห้องสมุด นอกจากสิ่งที่กล่าวมานั้น ศูนย์บรรณสารสนเทศยังให้บริการสิ่งของต่าง ๆ ที่เรียกว่า “Library of Things”

Library of Things หมายถึง สรรพสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือหนังสือ ที่ห้องสมุดมีให้ยืม โดยไม่คิดมูลค่าหรือมีค่าใช้จ่ายในการขอใช้บริการ แต่อย่างใด ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่ เครื่องใช้ในครัว อุปกรณ์ทำสวน และเมล็ดพันธุ์พืช อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น เกมส์ ชุดวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์งานฝีมือ เครื่องดนตรี และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อเป็นการขยายการให้บริการของห้องสมุด และเพื่อให้ห้องสมุดเป็นสถานที่ ที่ทุกคนสามารถเข้าใช้บริการ และยืมสิ่งอื่น ๆ ได้นอกเหนือจากหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ สื่ออื่น ๆ

การลงรายการทางบรรณานุกรมของสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่จัดอยู่ใน Library of Things เข้าระบบห้องสมุด เพื่อให้สามารถเก็บหลักฐานจำนวนของการมีสิ่งของเหล่านี้ จำนวนของการใช้บริการ บรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องศึกษาลักษณะของสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้มีการลงรายการทางบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับสิ่งของต่าง ๆ

การลงรายการบรรณานุกรม  เข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน แล้วเลือก Module Metadata

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Read the rest of this entry »

View (212)

การจัดการงบประมาณด้วยระบบ WMS ใน Module Acquisition
เม.ย. 24th, 2020 by dussa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นศูนย์รวมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและเรียนรู้ด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดังนั้น ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ใช้ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อบริหารจัดการตั้งแต่งบประมาณ การจัดเก็บระเบียนทรัพยากร การให้บริการยืม-คืน และงานอื่น ๆ ที่สนับสนุนงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ

งบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย  เริ่มตั้งแต่ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 กรกฏาคม  (เริ่มนับตามปีการศึกษา)  แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ สามารถดำเนินการจัดทำงบประมาณ โดยยึดหลักเกณฑ์ ดังนี้

หลักเกณฑ์การจัดทำงบประมาณ

  1. ดำเนินจัดสรรงบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยได้อย่างเหมาะสม
  2. จัดสรรงบประมาณให้คณะทุกคณะ และศูนย์บรรณสารสนเทศ
  3. การใช้จ่ายงบประมาณควรดำเนินการให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

การจัดสรรงบประมาณในระบบ WorldShare Management Services WMS ใน Module Acquisition  มีวิธีการดังนี้

1. เข้าระบบ WMS ในส่วนของผู้ปฏิบัติงาน เลือก Module Acquisition

หน้าจอจะปรากฎดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.  คลิก Budget เพื่อเข้าไปจัดการเรื่องงบประมาณ

 

หน้าจอจะปรากฎดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Read the rest of this entry »

View (179)

เก็บความจาก Knowledge Sharing : การเขียนโครงการ
พ.ย. 26th, 2019 by dussa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือ Knowledge Sharing เพื่อตอบโจยท์ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย  ข้อที่ 6 บริหารจัดการมหาวิทยาลัยและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการ ข้อที่ 2.5 สนับสนุนส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานมีการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO)

ดังนั้น คณะกรรมการจัดการความรู้ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมติเห็นว่า บุคลากรในหลายแผนกไม่มีความรู้ หรือความชำนาญในการเขียนโครงการ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ควรเรียนรู้ไว้ และจำเป็นที่จะต้องเขียนโครงการให้เป็น จึงได้กำหนดหัวข้อการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  “การเขียนโครงการ” ในวันที่ 16, 30 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00-15.30 ณ ห้องประชุม 212 ชั้น 2 อาคารบรรณสาร

ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยสรุป องค์ความรู์จากวิทยากร คือ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มีดังนี้

โครงการ  หมายถึง  การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ  ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน  และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน  การเขียนโครงการจึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย โครงการที่ดำเนินการ ต้องมีความเชื่อมโยกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ แผนปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังภาพ

 

ความพันธ์ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ มีดังนี้

  1. ผู้อนุมัติ
  2. ผู้ทำโครงการ
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. ผู้ประเมิน

ความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ

ในการอบรม การเขียนโครงการครั้งนี้ ยึดแนวทางปฎิบัติตามแบบฟอร์มที่ทางกองแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  คือ แบบ 103  From-project-103    ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้ Read the rest of this entry »

View (5870)

การลงรายการบอร์ดเกม (Board Game)
ต.ค. 21st, 2019 by dussa

บอร์ดเกม (Board game) หรือ  เกมกระดาน คือ เกมส์กระดานรูปแบบหนึ่งต้องใช้ชิ้นส่วนหรือตัวหมาก วางไว้บนพื้นที่เล่นเคลื่อนที่หรือหยิบออกจากพื้นที่เล่น พื้นที่เล่นเปรียบได้กับ “กระดาน” ซึ่งจะมีพื้นผิวหรือรูปภาพเฉพาะสำหรับเกมนั้น ๆ

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ เริ่มมีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศประเภท บอร์ดเกม (Board game) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 (ช่วงปลายปีงบประมาณ 2561)  มีให้บริการที่บริเวณ ชั้น 1 ส่วนพื้นที่ในการเล่น บอร์ดเกม (Board game) ทุกพื้นที่ของอาคารบรรณสาร สามารถยืมบอร์ดเกม (Board game) ผ่านระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)

ขั้นตอนการลงรายการบรรณานุกรมบอร์ดเกม (Board game)

 

 

Read the rest of this entry »

View (368)

บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย
ก.พ. 27th, 2019 by dussa

ผู้เขียนได้เข้าฟังการบรรยาย เรื่อง บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นฤตย์  นิ่มสมบุญ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตสรุปความได้โดยสังเขป ดังนี้

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ คือ การศึกษา และค้นคว้าสารสนเทศอย่างเป็นระบบแล้วนำมาสังเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง โดยต้องเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือได้ มีมาตรฐาน โดยการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก ที่มีการตกลงกันไว้ก่อน มีการกำหนดวิธีการสืบค้นที่แม่นยำ เที่ยงตรง และเชื่อถือได้ ดังนั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จึงมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. กำหนดปัญหา
  2. รวบรวมข้อมูล
  3. ประเมินคุณภาพ
  4. การสังเคราะห์
  5. การแปลผล

บรรณารักษ์มีส่วนในการช่วยนักวิจัยในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ บรรณารักษ์มีหลายบทบาท ตั้งแต่การเป็นผู้แนะนำฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูล บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย ในฐานะเป็นที่ปรึกษา ในฐานะเป็นผู้ให้การศึกษา

Database Selection การพิจารณาคัดเลือกฐานข้อมูลในการสืบค้น เช่น

  1. EBSCOhost
  2. Proquest
  3. CiteSeerx
  4. ฐานข้อมูลงานวิจัยไทย (https://www.researchgateway.in.th/)
  5. Google scholar
  6. Books
  7. Journal articles
  8. Google สืบค้นฐานข้อมูลหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

Librarian as co-researcher (บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย)

มีงานวิจัยรองรับว่า การทำงานกับบรรณารักษ์สามารถเพิ่มคุณภาพในการสืบค้น โดยเฉพาะเมื่อบรรณารักษ์มีความรู้เกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพราะบรรณารักษ์เชี่ยวชาญด้านกระบวนการกำหนดคำสำคัญและกำหนดหัวเรื่อง Read the rest of this entry »

View (476)

Change the Game โลกเปลี่ยน ห้องสมุดเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยน
ม.ค. 18th, 2019 by dussa

งาน APRC หรือ Asia Pacific Regional Council Conference ประจำปี 2018 ของ OCLC จัดภายใต้หัวข้อ Change the Game ที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน ระหว่างวันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2561 Skip Prichard ซึ่งเป็น CEO ของ OCLC ได้พูดถึงความสำคัญของคำว่า Change the Game ภายใต้หัวข้อ How can we change the game? ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

ห้องสมุดเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง    

Skip Prichard เกริ่นนำ โดยพูดถึงเรื่องรอบ ๆ ตัว ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น แผนที่แบบกระดาษ เปลี่ยนเป็นแผนที่ดูจากคอมพิวเตอร์ จากโทรศัพท์มือถือ ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญที่ไม่มีใครใช้แล้ว ก็เปลี่ยนเป็น การใช้โทรศัพท์ในมือของตนเอง การเฝ้าบ้านที่เคยใช้สุนัข ก็เปลี่ยนเป็น การดูแลบ้านผ่านโทรศัพท์มือถือ จากนั้นก็กล่าวถึง เกมส์ ให้เราเข้าใจมากขึ้น จากพัฒนาการแบบง่าย ๆ เช่น ตู้เกมส์จอดำ เกมส์แบบตลับ เกมส์คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนรูปแบบไปอย่างเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น ถึงคราวที่ห้องสมุดต้องเปลี่ยนแล้ว

จุดเปลี่ยนที่ วิทยากร กล่าวคือ สิ่งที่ห้องสมุดต้องเปลี่ยนใน 4 ด้าน ได้แก่

  • You Chang your Frame (เปลี่ยนกรอบ/เปลี่ยนสิ่งที่ต้องเห็น)
  • You Chang your Culture (เปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานใหม่)
  • You Chang your Mindset (เปลี่ยนแนวคิดของตัวเอง)
  • You Chang your Narrative (เปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่องใหม่)

การเปลี่ยนของจุดเปลี่ยนทั้ง 4 ด้านต้องเริ่มจากตัวเราเอง เปลี่ยนที่ตัวเราเอง แล้วส่งต่อการเปลี่ยนแปลงให้คนอื่น อย่าสั่งให้คนอื่นเปลี่ยนโดยที่ตัวเองทำแค่สั่ง เพราะสุดท้ายมันไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น นอกจากเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแล้ว ที่สำคัญสิ่งที่ต้องรักษาไว้ก็คือ

  • Keep Your Values (เก็บค่านิยม/คุณค่าของห้องสมุด)
  • Keep Your Principles (เก็บหลักการ/หลักการพื้นฐานของห้องสมุด)
  • Keep Your Purpose (เก็บวัตถุประสงค์/จุดประสงค์ของการทำงานห้องสมุด)
  • Keep Your Passion (เก็บความรัก/ความหลงไหลที่มีคุณค่าในงานห้องสมุด)

บทสรุปจากการฟังในวันดังกล่าว สื่งที่ต้องเปลี่ยน ทั้ง 4 ด้านแล้ว ที่สำคัญที่สุด ในความคิดที่ได้จากการฟัง ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเอง (Mindset) หมายความถึงบรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเองก่อน ก้าวตามโลกให้ทัน ต้องมีแนวคิดที่ทันสมัย ตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และ อีกสิ่งที่ต้องเก็บไว้รักษาไว้ คือ ความเป็นเอกลักษณ์ของห้องสมุด เช่น เป็นแหล่งที่มีข้อมูลหลากหลายจัดเก็บอย่างเป็นระบบด้วยมืออาชีพ และต้องเก็บความหลงใหล Passion ความรักในห้องสมุดอย่างยั่งยืน

 

View (69)

แนวทางการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทหนังสือ มสธ.
มิ.ย. 4th, 2018 by dussa

การลงรายการหนังสือ มสธ. (เอกสารประกอบการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) เป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนึ่งที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อเข้าห้องสมุดเพื่อให้บริการผู้ใช้ ดังนั้นในการลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าวอาจเป็นปัญหาอยู่บ้าง ดังนั้น เพื่อให้การทำงานเป็นไปในแนวทางเดียวกันจึงต้องมีการลงรายการที่เป็นแบบแผนเดียวกัน ซึ่งแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ มีการหารือประเด็นการทำงานเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561 และสรุปประเด็นในการทำงานไว้ ดังนี้

picblog1.1

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการลงรายการเอกสารการสอน ของ มสธ. ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. พิจารณาจากตัวเล่ม ลักษณะทรัพยากรจะแบ่งเป็นหน่วย ๆ อย่างน้อย 2-3 หน่วย แบ่งได้ดังนี้  หน่วยที่ 1-7 และ หน่วยที่ 8-15 เป็นต้น
  2. พิจารณาจาก ปี พ.ศ ที่จัดพิมพ์เป็นหลักในการลงรายการ (ถ้าปีพิมพ์เดียวกันสร้างเพียง 1 ระเบียน หรือ 1 bib เท่านั้น)
  3. ลงรายการตาม MARC 21 ดังนี้

Read the rest of this entry »

View (131)

แนะนำมุมหนังสือพลังงาน
พ.ค. 16th, 2018 by dussa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้บริการมุมหนังสือพลังงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวพลังงานและสิ่งแวดล้อมโดยจะนำหนังสือและสื่อความรู้ต่าง ๆ ซึ่ง ประกอบด้วย หนังสือ จุลสาร เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา และพลังงาน นำมาจัดเป็น “มุมหนังสือพลังงาน” ที่บริเวณ ชั้น 4 อาคารบรรณสาร ผู้ใช้บริการสามารถยืมทรัพยากรได้ โดยตัวเล่มจะมีสัญลักษณ์ ติดแถบสติกเกอร์สีเขียวเข้มไว้มุมบนซ้ายมือ มุมหนังสือพลังงานดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2561

 

มุมหนังสือพลังงาน ชั้น 4 Read the rest of this entry »

View (122)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa