SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การให้บริการ E-book จาก Bookcaze
ม.ค. 25th, 2022 by Natchaya

ศูนย์บรรณสารสนเทศ เปิดให้บริการ platform การอ่านและการยืม E-book จาก Bookcaze ซึ่งปัจจุบันมี E-book จำนวน 137 ชื่อเรื่อง 165 สิทธิ์การยืม ครอบคลุมสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ และอีกหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเปิดสอน

เข้า URL : hculib.bookcaze.com Read the rest of this entry »

View (216)

ความแตกต่างระหว่าง “Co-Working Space และ Learning Space” ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
ก.ค. 7th, 2021 by Natchaya

ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศก็เป็นเรื่องง่าย แค่มี สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ ผ่านอินเตอร์เน็ต ก็สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลาแล้ว ผู้ใช้บริการจึงไม่จำเป็นต้องเข้าห้องสมุดเพื่อมาค้นหาข้อมูล จำนวนผู้เข้าใช้บริการห้องสมุดก็ลดน้อยลง ฉะนั้นห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตในยุคปัจจุบัน ด้วยการเพิ่มพื้นที่นั่ง พื้นที่ทำกิจกรรม ให้มากขึ้น และศูนย์บรรณสารสนเทศก็ได้จัดสรรพื้นที่ Learning Space และ Co-Working Space ให้กับผู้ใช้บริการได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ Read the rest of this entry »

View (443)

สร้าง Vote ได้ง่ายๆ ใน Line Group
ธ.ค. 25th, 2020 by Natchaya

ปัจจุบัน Line กลายเป็นแอฟพลิเคชั่นที่จำเป็นสำหรับสมาร์ทโฟนและ PC ทุกเครื่องไปแล้ว เพราะสะดวกในการสื่อสารทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว โดยเฉพาะการตั้งกลุ่มหรือ Group ก็มีมากมายหลายกลุ่ม การสื่อสารแบบที่ต้องการให้เลือกหรือโหวต ย่อมเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ปัญหานี้จะหมดไปด้วยการสร้างโหวต หรือ Poll ในกลุ่มไลน์ค่ะ

1 เริ่มจากในหน้าแชทสนทนา คลิกที่เครื่องหมาย + ที่อยู่มุมล่างด้านซ้าย

2 คลิกคำว่า “โหวต”

3 จะเข้าสู่หน้าจอการสร้างโหวต คลิกที่ “สร้างหน้าโหวต”

Read the rest of this entry »

View (39743)

Check in ก่อนเข้าห้องสมุด ยุค New Normal
ก.ค. 14th, 2020 by Natchaya

ตั้งแต่สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 เกิดขึ้น ก็ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป โดยหลัก ๆ จะเป็นการเว้นระยะห่าง ทั้งระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และระยะห่างทางกายภาพ (Pysical Distancing) รวมถึงการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งของที่อยู่ในสาธารณะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ตามมาตรการหลักที่ทาง ศูนย์ข้อมูลมาตรการการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้กำหนดไว้

เหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงชื่อเข้าใช้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  จากแต่เดิมจะใช้บัตรนักศึกษา Scan Barcode ผ่านเครื่อง Scan หรือหากนักศึกษาไม่ได้นำบัตรมา ก็ต้องใส่รหัสประจำตัวผ่านแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ลงในตาราง Excel เพื่อเป็นการเก็บสถิติผู้เข้าใช้ในแต่ละวัน แต่ละช่วงเวลา ก็ปรับเปลี่ยนเป็นการ Scan QR code ด้วยโทรศัพท์มือถือของตนเอง เพื่อเข้าไปกรอกข้อมูลผู้เข้าใช้ใน Google Form แทน ซึ่งวิธีนี้ ลด เลี่ยง การสัมผัสจากสิ่งของสาธารณะได้ 100%   Read the rest of this entry »

View (242)

แนะนำหนังสือน่าสนใจใน WMS ผ่าน #SubjectGuideไกด์หนังสือให้คุณ
ก.ค. 13th, 2020 by Natchaya

ปัจจุบัน Facebook เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ และก็ถูกใช้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่งของหน่วยงานนั้นๆ อย่างห้องสมุดก็ใช้ Facebook ในการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดด้วย ไม่ว่าจะเป็น การแจ้งประกาศ ข่าวสาร กิจกรรมต่าง ๆ การแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ และสามารถคลิกไปหาหนังสือที่ต้องการเพิ่มเติมก็เป็นสิ่งที่ห้องสมุดทำช่องทางให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แนะนำหนังสือด้วยการสร้าง URL Link และ แฮชแท็ก (Hashtag) #SubjectGuideไกด์หนังสือให้คุณ ในโพสหน้าเพจ Facebook เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ก็สามารถเข้าถึงระบบห้องสมุด เพื่อดูหนังสือที่แนะนำ หรือค้นหาหนังสืออื่นๆ ในระบบได้ทันทีเพียงคลิกเดียว! แต่ทั้งนี้ ต้องมีการสืบค้นหัวข้อที่จะแนะนำหนังสือนั้น ๆ ก่อน นะคะ

ตัวอย่างที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แนะนำหนังสือด้วยการใช้ Subject Guide เพื่อการประชาสัมพันธ์หรือแนะนำหนังสือผ่าน Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศค่ะ

Read the rest of this entry »

View (47)

การจัดการบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม Mendeley
มิ.ย. 27th, 2019 by Natchaya

Mendeley เป็นโปรแกรม Freeware ที่ผลิตขึ้นโดย Elsevier เป็นเครื่องมือจัดการบรรณานุกรมที่สามารถจัดเก็บและจัดการรายการบรรณานุกรม ทำรายการอ้างอิงในเนื้อหาและทำรายการบรรณานุกรมในรูปแบบที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย

ข้อดีของ Mendeley

  1. ใช้งานได้ทั้งบน Desktop และผ่าน Web
  2. รองรับการทำงานบน Windows, Mac และ Linux
  3. ใช้งานบน Smartphone ได้ ทั้งระบบ IOS และ Android
  4. ให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลฟรี ได้ถึง 2 GB
  5. รองรับไฟล์เอกสารมากถึง 20 รูปแบบ
  6. รูปแบบอ้างอิงในระบบพร้อมติดตั้ง 16 รูปแบบ และสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้มากกว่า 8,000 รูปแบบ
  7. Import ข้อมูลได้หลายรูปแบบ จากฐานข้อมูลที่สำคัญทั้งหมด
  8. Export ข้อมูลเป็นไฟล์ BibTeX, RIS, EndNote, XML
  9. ใช้งานได้ฟรี

Read the rest of this entry »

View (1189)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa