SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ขั้นตอนการดำเนินการกรณีหนังสือหายจากการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan)
ก.พ. 3rd, 2021 by navapat

การยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan) มี 2 ประเภทคือ Borrowing Request (ห้องสมุดเป็นผู้ยืม) และ Lending Request (ห้องสมุดเป็นผู้ให้ยืม)   มีระเบียบการให้ยืมเหมือนกับการยืมภายใน ตามนโยบายของห้องสมุดแต่ละแห่ง

การให้บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุด เช่นเดียวกัน เมื่อให้บริการและมีการสูญหาย จึงมีระเบียบหรือขั้นตอนต่างๆ ตามที่ห้องสมุดกำหนด กรณีที่ให้ยืมหนังสือระหว่างประเทศ และมีการสูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้  ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการติดต่อเป็นระยะๆ ในการติดตามหนังสือที่เกินกำหนด ผนวกกับการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านได้ มีการขาดการติดต่อไประยะหนึ่ง แต่มีการติดต่อได้ในภายหลังโดยมีการแจ้งให้ทราบว่า ผู้ยืมมีการส่งคืนหนังสือหลังจากสถานการณ์โควิดผ่านไปประมาณ 3 เดือนแล้ว  แต่หนังสือสูญหายระหว่างการขนส่ง  และไม่สามารถติดตามได้เนื่องจากใบรับประกันของหายหมดอายุ   จึงขอให้มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  คิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรื่องหนังสือหายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยต่อไป ซึ่งขั้นตอนในการดำเนินการมีดังนี้ Read the rest of this entry »

View (47)

ศึกษาดูงานห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ธ.ค. 25th, 2020 by navapat

จากการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ไปศึกษาดูงานห้องสมุดมารวย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 น. – 12.00 น.  ซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. นั้น สรุปการศึกษาดูงาน ได้ดังนี้

วิทยากรผู้นำชม คือ คุณณัฐยา  ตันเจริญ  ผู้ช่วยผู้จัดการ ส่วนงานห้องสมุดมารวย   ได้ให้ข้อมูลว่า ห้องสมุดมารวย เป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านตลาดทุนครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทยที่ทันสมัย  ด้วยหนังสือและสื่อความรู้ด้านการเงิน การลงทุนมากกว่า 20,000 รายการ  พร้อมยกระดับสู่การเป็นห้องสมุดดิจิทัลด้านตลาดทุนชั้นนำระดับประเทศ เพื่อให้นักลงทุน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านตลาดทุน และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านตลาดทุนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ตามเป้าหมาย คือ

ประชาชนทั่วไป        เริ่มต้นเรียนรู้การวางแผนการเงินและการบริหารเงินให้งอกเงย

นักลงทุน                   เริ่มต้นลงทุนศึกษาปัจจัยพื้นฐานและต่อยอดการลงทุนแนวเทคนิค

ผู้ประกอบวิชาชีพ     ก้าวสู่การเป็นผู้แนะนำการลงทุน นักวิเคราะห์ และนักวางแผนการเงิน

ผู้ประกอบการ           ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีแนวคิดใหม่ และนำนวัตกรรมมาใช้ขับเคลื่อนองค์กร

ในภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ มีหน้าที่หลักคือ  1) Exchange Function  หา Product ต่าง ๆ ให้นักลงทุน  2) Education  นักลงทุน และบุคคลทั่วไปที่สนใจ อยากมีความรู้ไปบริหารจัดการการเงินของตน  ซึ่งในส่วนของงานห้องสมุดทำหน้าที่ในส่วนของการให้ความรู้ (Education) ประกอบด้วย  2 ส่วน คือ งานบริการ และการจัดสรรทรัพยากรสารสนเทศ

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ

  1. หนังสือ
  2. วารสาร / นิตยสาร
  3. หนังสือพิมพ์
  4. สื่อมัลติมีเดีย
  5. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
  6. ฐานข้อมูล

ทรัพยากรสารสนเทศมีมากกว่า 20,000 รายการ   80% เป็น Core Subject ด้านการเงิน การลงทุน การบริหารธุรกิจ ส่วนอีก 20%  เป็น Support Core Subject ได้แก่ การพัฒนาตนเอง ไอที ภาษา วรรณกรรม หนังสือเด็ก รูปแบบการให้บริการยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัล หรืออิเล็กทรอนิกส์ ได้ทั้งหมด เนื่องจากผู้ใช้บริการยังมีทั้งคนรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ Read the rest of this entry »

View (1417)

พามาชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบประเทศไทย (Thailand Creative and Design Center) (TCDC)
ธ.ค. 24th, 2019 by navapat

คิด ผลิต ขาย  ยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจสร้างสรรค์อย่างครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย พัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อันเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์ของประเทศไทย

เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562   เวลา 10.30 – 12.00 น. ผู้เขียนและบุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทุกคน ได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบประเทศไทย หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า TCDC (Thailand Creative and Design Center) ต้องขอบอกเลยว่ามีความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง  เพราะมาเยี่ยมชมในช่วงที่ TCDC จัด THEME “Zoorigami” จากกระดาษรีไซเคิลสู่ผลงานรักษ์โลก ซึ่งเราจะเห็นชิ้นงานออกแบบที่ทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ตั้งแสดงอยู่ในแต่ละชั้น

 

                                                                                   

TCDC Bangkok  ปัจจุบัน อยู่ที่อาคารไปรษณีย์ไทย บางรัก มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 8,600 ตารางเมตร มีทั้งหมด 5 ชั้น และแยกเป็นโซนต่างๆ  ดังนี้ Read the rest of this entry »

View (722)

การแนะนำหนังสือผ่านโซเชียลมีเดีย (Book to Social Media : B2S)
พ.ย. 2nd, 2019 by navapat

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในยุคปัจจุบันมีรูปแบบการนำเสนอที่เปลี่ยนไป รวมทั้งการแนะนำหนังสือ ต้องมีความน่าสนใจ สั้น กะทัดรัดและไม่ใช้เวลาในการอ่านนานเกินไป ผู้เขียนได้รับความกรุณาจากผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และคุณทศพล ศิลาศาสตร์  นักเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนกทรัพยากรการเรียนสารสนเทศ  แนะนำการใช้โปรแกรม PowerPoint และการใส่ดนตรีประกอบการนำเสนอ  การแปลงไฟล์ข้อมูลเป็นวีดิโอ ตลอดจนเนื้อหาที่จะใส่ในวีดีโอ ซึ่งมีขึ้นตอนในการนำเสนอแบบง่ายๆ ดังนี้

  1. การพิจารณาคัดเลือกหนังสือที่จะแนะนำ ได้แก่  หนังสือใหม่  หนังสือที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม หรือหนังสือที่ผู้ใช้ยืมบ่อยในห้องสมุด
  2. ใช้โปรแกรม Power Point  ใส่รูปและข้อความที่ต้องการแนะนำ หรือรีวิว
  3. ใช้ดนตรี / เพลงประกอบจากเว็บไซด์ http://www.bensound.com/
  4. ใช้โปรแกรม QR Code Generator free เพื่อผู้ใช้สามารถสแกนเข้าไปดูรายละเอียดของหนังสือ

วิธีทำมีดังนี้

  1. Microsoft PowerPoint (ใช้ 2016)

Read the rest of this entry »

View (261)

การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในรูปแบบ Article Exchange
พ.ค. 13th, 2019 by navapat

การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในระบบ WorldShare Interlibrary Loan หรือ WorldShareILL นั้น มีบริการให้ผู้ใช้สามารถขอรับบริการได้  2 แบบ คือ

1) ยืมตัวเล่ม (loan)  ดูเพิ่มเติม  ขั้นตอนการให้บริการการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan)

2) ขอสำเนาเอกสาร (Copy) หรือไฟล์ข้อมูล (Article Exchange)  โดยบทความนี้ จะขอกล่าวถึง รายละเอียดและขั้นตอนการให้บริการ ดังนี้

ขั้นตอนการให้บริการ Article exchange

  1. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานบริการยืมระหว่างห้องสมุดได้รับคำร้อง (Request) จากห้องสมุดหรือสถาบันของผู้ใช้บริการ
  2. ตรวจสอบว่าเอกสารที่ผู้ใช้บริการขอใช้ มีการจัดทำหรือสแกนเป็นไฟล์เอกสารแล้วหรือไม่
  3. พิจารณาค่าธรรมเนียมในการให้บริการเพื่อให้มีความสอดคล้องกับประกาศมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ 137/2560 เรื่อง “การกำหนดอัตราการจัดเก็บค่าบริการยืมระหว่างห้องสมุด พ.ศ. 2560” ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2560   หากพบว่ามีความสอดคล้อง สามารถดำเนินการตามคำร้องของผู้ใช้บริการได้
  4. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสแกน หรือดิจิไทซ์ บทความหรือเอกสารที่ผู้ใช้บริการต้องการ (กรณีที่ไม่มีไฟล์เอกสาร)
  5. จัดส่งไฟล์ให้ผู้ใช้บริการโดยเลือกคลิกลิ้ง OCLC Article Exchange จากนั้นจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เลือกไฟล์ คลิกปุ่ม upload แล้วกด Yes ระบบจะแสดง Password ผู้ใช้บริการสามารถ download เอกสารที่เราจัดส่งให้ด้วย URL และ Password ดังกล่าว เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการให้บริการ ดังภาพ

 

 

View (36)

Transforming trend insights into innovation
ม.ค. 8th, 2019 by navapat

Transforming trend insights into innovation  โดย Nathania Christy , Head of Global Insight Network   เป็น member session วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561 ของ OCLC Asia Pacific Regional Council Conference 28 – 29 November 2018  :  BANGKOK  THAILAND  (APRC 2018 Change the Game)  วิทยากรได้แนะนำ Trend Watching ว่าเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวม Trend ของอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท ซึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์

ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การที่เราจำเป็นต้องรู้  Trend จะทำให้เราทราบความคาดหวังและความต้องการของผู้ใช้บริการ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน  โดย Trend หลักๆ ที่วิทยากรนำเสนอ และตั้งคำถามให้เราคิดตามด้วยทุกข้อตามความเข้าใจของผู้เขียน สรุปได้ดังนี้

1.  STATUS  SANDCASTLES  สถานภาพทางสังคม  (Social Status)

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 1.8 พันล้านคน มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายภาพ ทักทายผู้คนด้วยอินสตราแกรม แชร์ประสบการณ์ทุกสิ่งอย่างบนเฟสบุ๊กส์   แล้ว “เราจะใช้ทรัพยากรหรือพื้นที่ในห้องสมุดของเราให้ผู้ใช้บริการบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาได้อย่างไร??” ตัวอย่างที่วิทยากรนำเสนอ เช่น  IKEA สอนการทำอาหารอย่างง่าย ฯลฯ

2.  FANTASY  IRL  การออกจากโลกของความเป็นจริง

เขตแดนระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกจินตนาการกำลังจางหายไป และในปี 2562 ผู้บริโภคจะแสวงหาการมีส่วนร่วมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่วิทยากรนำเสนอ เช่น การนำชมพิพิธภัณฑ์  Louvre  ตามมิวสิควีดีโอของ Beyonce และ  Jay – Z,  Man city and fantom นาฬิกาบอกตารางการแข่งขันของทีม Man city เป็นต้น “กลุ่มเป้าหมายของของคุณหนีไปสู่โลกแบบไหน?  คุณจะทำให้เขตแดนนั้นพร่ามัวต่อไป หรือจะดึงดูดและกระตุ้นพวกเขาได้อย่างไร?? ”

3.   MAGIC  TOUCHPOINT  สัมผัสมายากล  / สัมผัสมหัศจรรย์

ผู้บริโภคคาดหวังว่าจะได้รับบริการจาก MAGIC TOUCHPOINT  ราวกับว่าเป็นจินนี่กับตะเกียงวิเศษ ตัวอย่างเช่น  พวกเขาต้องการแชทโดยไม่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรม,  จองการเดินทางได้ทุกที่ ทุกเวลา, Intime mall  ที่มีบริการ magic mirror ในห้องน้ำหญิง เป็นต้น  “คุณคิดจะใช้เทคโนโลยีเพื่อความสุขได้นี้ได้อย่างไร Touch point ไหนที่คุณสามารถฝังบริการของคุณลงไป?? ”

4.    VILLAGE  SQUARED (Connection) การเชื่อมโยงหรือเครือข่าย ไม่มีใครอยู่ได้โดยไม่ติดต่อสัมพันธ์กับใคร

ผู้บริโภคในปี 2019 นิยามการเชื่อมโยงใหม่และยอมรับวิธีการใหม่ในการสร้างชุมชน  ตัวอย่างเช่น  สายการบิน KLM มี  Airline’s translation seats ติดต่อกับผู้โดยสารที่สนามบิน,  โรงเรียนในชนบทของ Chennai ออกแบบเหมือนหมู่บ้าน โดยเน้นการเรียนการสอนที่ทำอย่างไรให้เด็กๆ มีความสุข , โฆษณาเบียร์ไฮเนเกนส์ ในประเทศอินเดีย ที่แสดงให้เห็นช่องว่างระหว่างเจนเนอเรชั่น  ปัญหาที่แท้จริงก็คือพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้มีการพูดคุยหรือสื่อสารซึ่งกันและกัน  เป็นต้น   “คุณสามารถทำอะไรกับพื้นที่ของคุณ, นโยบาย, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, รูปแบบประสบการณ์ที่สามารถทำให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างมีความหมาย?? ”

ท้ายที่สุดของการฟังสัมมนาในหัวดังกล่าว ผู้เขียนได้ข้อสรุปและประทับใจจากการนำเสนอของวิทยากรทั้งการบรรยายและ Presentation ว่า  Trend  ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง และงานห้องสมุดไม่ใช่เรื่องยาก โดยเฉพาะผู้เขียนซึ่งไม่ได้จบบรรณารักษศาสตร์  แต่เมื่อต้องมาปฏิบัติงานห้องสมุด ต้องหมั่นเรียนรู้ และพัฒนาตนเองให้พร้อมในการบริการตลอดเวลา สอดคล้องกับประโยคที่ว่า  “Open your mind …… open your world”

View (60)

ขั้นตอนการให้บริการการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan)
มิ.ย. 16th, 2018 by navapat

การยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan) หรือ ILL แบ่งการยืมเป็น 2 ประเภทคือ
1. Borrowing Requests หมายถึง ห้องสมุดเป็นผู้ยืม
2. Lending Requests หมายถึง ห้องสมุดเป็นผู้ให้ยืม

1. Borrowing Requests

เมื่อนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความประสงค์จะขอยืมทรัพยากรสารสนเทศ ที่ไม่มีให้บริการอยู่ในศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้รับผิดชอบงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด จะดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1. ค้นหารายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ต้องการว่ามีให้บริการอยู่ที่ห้องสมุด/สถาบันการศึกษาใด และห้องสมุด/สถาบันการศึกษานั้นๆ มีนโยบายในการให้ยืมอย่างไร เช่น จำนวนรายการที่ให้ยืม ระยะเวลาการให้ยืม จำนวนครั้งในการยืมต่อ ค่าบริการในการยืม หรือทำสำเนาเอกสาร และค่าบริการในการจัดส่ง โดยพิจารณาเลือกห้องสมุดในประเทศไทย และมีความร่วมมือระหว่างห้องสมุดฯ กับศูนย์บรรณสารสนเทศก่อน เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ ถ้าเป็นห้องสมุด/สถาบันการศึกษาต่างประเทศ ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายเป็นดอลล่าสหรัฐ Read the rest of this entry »

View (82)

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
ธ.ค. 13th, 2017 by navapat

ภาพ 1

ระบบห้องสมุด  WorldShare  Management Services (WMS) ซึ่งพัฒนาโดย Online Computer Library Center (OCLC) เป็นระบบที่ประกอบด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดประมาณ 7,200 แห่ง จาก 149 ประเทศทั่วโลก ซึ่งศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำมาใช้ในการบริหารทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ตั้งแต่การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ  การจัดเก็บด้วยการลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ การสืบค้นผ่านระบบการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก  และด้วยความที่เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เปิดให้บริการแก่ห้องสมุดที่เป็นสมาชิกขอใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้ ผ่านบริการ WorldShareILL หรือ WorldShare Interlibrary Loan เพื่อเอื้อประโยชน์สำหรับอาจารย์ นักศึกษาและบุคลากร ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอน การศึกษา การทำวิจัย และการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ซึ่งมีขั้นตอนในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศและแจ้งการขอใช้บริการ ดังนี้

วิธีการเข้าใช้ระบบการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare ILL)

1. สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการที่ https://hcu.on.worldcat.org/discovery

หน้าจอการสืบค้น

หน้าจอการสืบค้น

2.  พิมพ์คำค้นที่กล่องคำค้น กด enter หรือคลิก  ภาพ 3

ตัวอย่าง พิมพ์คำค้น “ค้ามนุษย์”  ผลการสืบค้น พบว่ามีหนังสือตามคำค้น จำนวน 3 รายการ ดังนี้

 

ผลการสืบค้น

ผลการสืบค้น

3. พิจารณารายการหนังสือที่ต้องการใช้ เช่น  ต้องการอ่านหนังสือรายการที่ 1 ให้คลิกที่ชื่อหนังสือ จะเห็นว่าเป็นรายการหนังสือของห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ILL-3

คลิกเลือกรายการที่ 1

4. ขอใช้บริการโดยการส่งคำขอ (Request)  มายังศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อดำเนินการยืมระหว่างห้องสมุด  โดยคลิกที่  Request Item through InterLibrary Loan หน้าจอจะปรากฏแบบฟอร์ม ให้กรอกข้อมูลในกล่องที่มีเครื่องหมาย  *  ให้ครบ ได้แก่

1.   ประเภทของเอกสารที่ต้องการ (Service Type)
2.   เวลาที่ต้องการรับเอกสาร
3.   ชื่อ นามสกุล อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้
4.   กด Submit

หน้าจอการกรอกแบบฟอร์มเพื่อการยืมระหว่างห้องสมุด

หน้าจอการกรอกแบบฟอร์มเพื่อการยืมระหว่างห้องสมุด

 

หลังกด Submit แล้ว Request นี้ จะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อดำเนินการต่อไป

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนกบริการสารสนเทศ หมายเลขโทรศัพท์ภายใน  1472, 1473

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก 

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

View (1410)

การแนะนำหนังสือ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
มิ.ย. 23rd, 2017 by navapat

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นมา ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ  ได้มีนโยบายการให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นการให้บริการเชิงรุก เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยให้แนวคิดเรื่องการแนะนำหนังสือ ให้เกิดการหมุนเวียนการใช้หนังสือให้มากที่สุด และเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ใช้บริการ  ซึ่งผลจากการจัดแนะนำหนังสือ พบว่าผู้ใช้มีความสนใจ พึงพอใจ และหนังสือมีการยืมมากขึ้น  ผู้เขียนในฐานะผู้รับผิดชอบการแนะนำหนังสือคนหนึ่ง  จึงขอสรุปขั้นตอนการจัดทำหนังสือแนะนำ ของแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังนี้

  1. ผู้รับผิดชอบจัดทำหนังสือแนะนำ ตรวจรับ และตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือที่ส่งจากแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
  2. ผู้รับผิดชอบจัดทำหนังสือแนะนำ คัดเลือกหนังสือ จัดทำบรรณนิทัศน์ และแสกนปกหนังสือ โดยแบ่งไปจัดแสดงที่ชั้น 1 จำนวน 2 รอบ รอบละ 15 วัน และหมุนเวียนนำขึ้นมาจัดแสดงที่ชั้น 3 และ ชั้น 4 ต่อไป
  3. ผู้รับผิดชอบ นำรายชื่อหนังสือขึ้นเฟสบุ๊คส์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าแผนกบริการสารสนเทศ
  4. หัวหน้าแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ นำรายชื่อหนังสือแนะนำขึ้นเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เดือนละ 1 ครั้ง
  5. ผู้รับผิดชอบแนะนำหนังสือเฉพาะกิจเป็นกรณีๆ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มอบหมายตามความเหมาะสม

รูป1                                                                                                     หนังสือแนะนำ

รูป 2                                                                                                   หนังสือแนะนำ

รูป3                                                                                        หนังสือแนะนำ

การทำกิจกรรมแนะนำหนังสือนี้ ทำให้บุคลากรในงานบริการสารสนเทศ ได้ประโยชน์ ดังนี้

  1. รู้จักพิจารณาคัดเลือกหนังสือที่น่าสนใจ
  2. รู้จักวิธีการสรุปประเด็นสำคัญและรู้จักวิธีการเขียนบรรณนิทัศน์
  3. มีความคิดริเริ่มในการจัดแสดงนิทรรศการหนังสือแนะนำ
  4. ทำให้ทราบว่าควรเขียนแนะนำอย่างไรเพื่อให้น่าสนใจ

View (113)

Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ
เม.ย. 22nd, 2017 by navapat

จบลงไปอย่างสวยงามสำหรับโครงการ Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ซึ่งแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 – 23 มีนาคม 2560  ณ โถงชั้น 1  อาคารบรรณสาร  เพื่อให้ผู้รับบริการมีความรู้ ความเข้าใจในทรัพยากรสารสนเทศ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ สามารถใช้บริการต่างๆ และก่อให้เกิดแนวความคิดในการเรียนการศึกษา ค้นคว้า ที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21  และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ สรุปง่ายๆ ก็เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ นั่นเอง

กิจกรรมที่จัดขึ้นประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที มีการเสวนาเรื่อง “อ่าน/เขียน อย่างไร …เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ” โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรชื่อดัง จากสำนักพิมพ์สถาพร บุ๊คส์   การออกร้านจำหน่ายหนังสือจากสำนักพิมพ์ชื่อดังจำนวน 5  ร้าน  บูธกิจกรรมบริการต่างๆ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ   ได้แก่  บูธบริการต่างๆของศูนย์บรรณสารสนเทศ  บูธบริการสารสนเทศออนไลน์  บูธรักษ์โลก และบูธ DIY สุดชิค Read the rest of this entry »

View (86)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa