SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเขียนชื่อบนปกหนังสือโดยใช้ปากกาไฟฟ้า
ก.ค. 4th, 2021 by pisit

ในการซ่อมหนังสือ จะมีกรณีที่ต้องฉีกปกเดิมออก เนื่องจากมีการชำรุด หรือเสียหายมาก จนต้องพิจารณาดึงหน้าปกหนังสือเดิม ออก เมื่อมีการซ่อมโดยทำหน้าปกใหม่ ถ้าภาพของหน้าปกเดิมยังมีสภาพดี  ผู้มีหน้าที่ซ่อม ก็จะนำภาพหน้าปกเดิมมาติดไว้ตามเดิม กรณีที่หน้าปกเดิมมีความชำรุด เสียหาย ไม่สามารถนำมาติดไว้ตามเดิมหลังจากซ่อมได้  การที่จะให้ผู้ใช้ทราบว่า หนังสือเล่มที่หน้าปกนี้หายไป มีชื่อเรื่องว่าอะไร ผู้ซ่อมจะใช้ปากกาไฟฟ้า เขียนไว้ที่หน้าปกบนผ้าแรกซีนหุ้มปก

วิธีการทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

อุปกรณ์

1.ปากกาไฟฟ้า.    2.เทปสำหรับเขียนสัน

Read the rest of this entry »

View (95)

งานติดบัตรกำหนดส่ง
ก.ค. 21st, 2020 by pisit

บัตรกำหนดส่ง ในหลายห้องสมุดยังคงใช้บัตรกำหนดส่งติดที่ข้างหลังตัวเล่มด้านในของหนังสือ แต่บางแห่งอาจจะไม่ใช้บัตรกำหนดส่งแล้ว เนื่องจากมีระบบห้องสมุดที่มีการบันทึกการยืมและคืนในระบบได้ทันที แต่การที่ยังต้องมีการใช้บัตรกำหนดส่งอยู่ในห้องสมุดบางแห่ง เพื่อ

1. ประทับวันกำหนดส่ง เพื่อจะได้เป็นการเตือนถึงวันกำหนดส่งให้ผู้ใช้ห้องสมุด

2. ใช้เป็นหลักฐานในการติดตามการทำงาน โดยการลงชื่อผู้ให้บริการไว้ที่ตราประทับวันที่กำหนดส่ง เนื่องจากปัญหาในการยืม คืน เข้าระบบ จะได้ติดตามได้ว่าเจ้าหน้าที่คนใดเป็นคนให้ยืมหรือคืน Read the rest of this entry »

View (496)

งานติดบาร์โคด
ก.ค. 21st, 2020 by pisit

ห้องสมุดใช้บาร์โคด เป็นเหมือนทะเบียนของหนังสือ เนื่องจากมีการลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือในระบบห้องสมุดแล้ว และติดบาร์โคดเพื่อเป็นเลขทะเบียนของตัวเล่ม  ไม่ต้องมาลงข้อมูลของหนังสือในสมุดทะเบียนเหมือนสมัยก่อนอีกต่อไป และใช้บาร์โคดเป็นตัวที่ให้เจ้าหน้าที่ใช้สำหรับการยืมออก หนังสือทะเบียนนี้ ออกไป และใช้ยืงบบาร์โคดของหนังสือกลับเข้ามาในระบบ เมื่อมีการคืนหนังสือ (ห้องสมุดส่วนใหญ่ จะใช้ RFID มาติดแทนบาร์โคดและเพื่อการยืม-คืนหนังสือ)

ผู้เขียน มีหน้าที่ในการติดบาร์โคดที่ตัวเล่ม ในกรณีที่เป็นหนังสือซ่อม จึงขอแบ่งปันวิธีการดังนี้

อุปกรณ์

1.บาร์โคดที่พิมพ์จากสติกเกอร์

2. สก๊อตเทปใส สำหรับติดทับบาร์โคด เพื่อกันไม่ให้บารโคดไม่หลุด หรือ ถูกแกะ หรือถูกเอาสีป้ายเล่น

ภาพที่ 1 บาร์โคดที่พิมพ์ออกมา

Read the rest of this entry »

View (289)

การซ่อมบำรุงและรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
มิ.ย. 27th, 2019 by pisit

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีบริการทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ด้วยจำนวนการยืม สภาพการหยิบจับหนังสือ หรือสภาพแวดล้อมของห้องสมุด หนังสือมีการชำรุด เช่น ปกขาด สันหนังสือชำรุด เป็นต้น  การซ่อมแซมหนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการรักษาและบำรุงทรัพยาการสารสนเทศให้มีสภาพที่สมบูรณ์ สามารถบริการให้ผู้ใช้ได้ศึกษาค้นคว้าได้ต่อไปอีกนาน

บทความนี้จึงขอแนะนำการซ่อมหนังสือ ประกอบด้วย

เครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมหนังสือ

  1. กาว
  2. แปรงทากาว
  3. กระดาษแข็งสำหรับทำปกเบอร์ 12
  4. กระดาษปอนด์รองสันปก
  5. ผ้าดิบหรือผ้ามุ้ง
  6. ผ้าแล็คซีน
  7. กระดาษแล็คซีน
  8. ผ้าคิ้ว
  9. มีดคัตเตอร์
  10. สว่านไฟฟ้าสำหรับเจาะรูหนังสือ
  11. เครื่องอัดหนังสือ
  12. เข็มขนาดใหญ่สำหรับเย็บหนังสือ
  13. ด้าย cotton สำหรับเย็บหนังสือ

ขั้นตอนการซ่อมหนังสือ Read the rest of this entry »

View (471)

งานพิมพ์สันและประทับตราหนังสือ
มิ.ย. 25th, 2019 by pisit

หนังสือที่ผ่านการวิเคราะห์และลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดแล้ว จะถูกนำมาติดสันและประทับตราในตัวเล่ม ซึ่งเป็นกระบวนการในการเตรียมหนังสือเพื่อออกให้บริการ

ในการพิมพ์สันเพื่อติดหมวดหมู่ของหนังสือ มีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบ WMS โดยเข้าที่ URL https://hcu.share.worldcat.org/wms เพื่อ Login เข้าสู่ระบบ

2. เลือกโมดูล Metadata และไปที่ Record Manager – Scope เลือก My Library Holding  และ นำเลข Barcode ของหนังสือที่งานวิเคราะห์ฯ ออกให้กับหนังสือเล่มนั้นๆ มาค้นหา และเลือกหนังสือที่ต้องการพิมพ์สันคลิกที่ชื่อเรื่องหนังสือ Read the rest of this entry »

View (931)

วิธีการทำสมุดโน๊ตจากส.ค.ส เก่า
ก.ค. 5th, 2018 by pisit

ขอนำความรู้และประสบการณ์จากการทำสมุดโน้ต โดยนำวัสดุจากของเหลือใช้ มาแบ่งปันกันครับ

อุปกรณ์

1. ส.ค.ส เก่าที่ใช้แล้ว

2. กระดาษ A4 หรือ กระดาษสี

3. แม๊กเย็บกระดาษ

4. คัตเตอร์ตัดกระดาษ

วิธีทำ

1.นำส.ค.ส และกระดาษA4 มาพับครึ่ง Read the rest of this entry »

View (61)

กิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้งานกิจกรรมคุณภาพ 7 สของหน่วยงานปีการศึกษา 2560
ก.ค. 5th, 2018 by pisit

เนื่องจากผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ครั้งที่2 เรื่องปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานกิจกรรมคุณภาพ 7 สของหน่วยงานปีการศึกษา 2560 จึงขอสรุปผลการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ ดังนี้

วัตถุประสงค์

  • ติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมคุณภาพ 7สของคณะ/หน่วยงาน
  • เพื่อทราบถึงวีธีการนำแนวปฎิบัติทีดีไปประยุกต์
  • เพื่อทราบปัญหา/อุปสรรค
  • เพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร
  • เพื่อแนวทางในการดำเนินงานกิจกรรมคุณภาะ 7ส ปีการศึกษา 2561

มีการจัดแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มหารือโดยมีประเด็นในการหารือ

  • หน่วยงานท่านนำแนวปฎิบัติที่ดีไปปฎิบัติ/ประยุกต์ใช้อย่างไร
  • เมื่อนำไปปฎิบัติแล้วพบปัญหา / อุปสรรคหรือไม่อย่างไรและมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
  • ท่านคิดว่าปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยควรมีวีธีการแนวทาง หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมกิจกรรม 7สอย่างไร

จากนั้นได้มีการแยกกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มโดยการจับสลากเลือกกลุ่มที่จะอยู่โดยศูนย์บรรณสารฯอยู่กลุ่มที่3 มีคณะศิลปศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ กองคลัง และกองกลางได้มีการสรุปหัวข้อที่ได้รับของแต่ละกลุ่มดังนี้ Read the rest of this entry »

View (50)

การดูแลหนังสือ
ก.ค. 7th, 2017 by pisit

ปัญหาที่พบบ่อยในห้องสมุดอีกข้อหนึ่งก็คือ ก็คือ หนังสือชำรุด อาจมีสาเหตุมาจาก

  1. ชำรุดตามอายุของการผลิต เช่น วัสดุที่ใช้มีคุณภาพไม่ดี ความบอบบางของหนังสือทำให้หนังสือเสียหายเร็ว
  2. ชำรุดจากการใช้งานมากเกินไป

วิธีการดูแลหนังสืออย่างถูกวิธี

1. หยิบด้วยมือที่แห้ง

2.เปิดหนังสือให้ถูกวิธี โดย

Read the rest of this entry »

View (331)

การสงวนรักษาหนังสือโดยวิธีการเสริมปกแข็ง
มิ.ย. 26th, 2017 by pisit

ผู้เขียนได้เคยเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง การซ่อมและการสงวนรักษาหนังสือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้ได้รับความรู้เรื่องวิธีการสงวนรักษาหนังสือโดยวิธีการเสริมปกแข็งทั้งนี้เพื่อให้บรรณารักษ์หรือบุคลากรห้องสมุดนำความรู้ไปดำเนินการแก้ไขวิธีการซ่อมทำปกที่ถูกวิธีสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้เขียน ขอนำบางส่วนจากการอบรม คือ วิธีการสงวนรักษาหนังสือแบบวิธีการเสริมปกแข็ง

วิธีการเสริมปกแข็ง (Stiffening)

วัสดุและอุปกรณ์

  1. กระดาษปกเบอร์12  หรือกระดาษปกแข็งที่มีความหนา .05 นิ้ว
  2. ผ้าฝ้ายที่มีความละเอียดมาก
  3. กาว
  4. มีดคัตเตอร์
  5. กรรไกร
  6. แผ่นพลาสติค
  7. ไม้กระดาน
  8. เครื่องอัดหนังสือ
  9. ไม้เนียน
  10. เครื่องตัดกระดาษ

Read the rest of this entry »

View (746)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa