SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ขั้นตอนการสืบค้นสื่อโสตทัศน์ฯ ที่มาพร้อมกับหนังสือ จากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services-WMS
ก.พ. 3rd, 2021 by Dr.sanampol

หนังสือต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ  มีการจัดซื้อจัดหาเข้าสู่ห้องสมุดนั้น บางเล่มจะมีแผ่นซีดีรอมที่มาพร้อมกับตัวหนังสือ (CD-Text Book หรือเรียกย่อๆว่า CD-T) ด้วย

วิธีการค้นหาสื่อโสตทัศน์อย่างง่าย ๆ ว่าในแต่ละตัวเล่มของหนังสือเล่มนั้น มีแผ่นซีดี-รอมด้วยหรือเปล่า ? ซึ่งมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ คือ

1.ผู้เข้าใช้บริการคลิ้กเข้ามาที่เว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ (www.lib.hcu.ac.th)  หรือมาที่ https://hcu.on.worldcat.org/discovery 

ภาพที่ 1 เว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ

ภาพที่ 2  การสืบค้น WCD https://hcu.on.worldcat.org/discovery

2. ที่ช่อง Seach พิมพ์คำว่า CD-T  ในช่องค้นหาจะปรากฏหน้าจอขึ้นดังนี้

                                                                               ภาพที่ 3 ใส่คำค้นว่า CD-T
Read the rest of this entry »

View (97)

ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพเอกสารไฟล์ดิจิทัลหนังสือพิมพ์จีน
มิ.ย. 25th, 2020 by Dr.sanampol

ผู้เขียนมีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ  ความถูกต้องและความคมชัดของไฟล์ภาพเอกสารหนังสือพิมพ์จีน (ภาษาจีน) โดยไฟล์ดิจิทัลดังกล่าว จะมีการนำเข้าสู่ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเตรียมไว้ให้บริการสืบค้นและเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงในงานวิจัยต่างๆ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1.เปิดโปรแกรม KeyIn Dialog ดังภาพ

Read the rest of this entry »

View (68)

การเปลี่ยน Location หนังสือ
ก.พ. 8th, 2020 by Dr.sanampol

ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ทำการเปลี่ยน Location ของหนังสือจากศูนย์บรรณสารสนเทศ (วข.ยศเส) มาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ (บางพลี) โดยระบุตำแหน่งหนังสือและสถานที่จัดวางหนังสือเล่มนั้น ๆ เพื่อให้ทราบแหล่งจัดเก็บสารสนเทศดังกล่าว โดยได้ทำการโอนย้ายข้อมูลบาร์โค้ดหนังสือในแต่ละเล่มเพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์ ซึ่งมีขั้นตอนและรายละเอียดดังนี้

1.เข้าระบบ World Share Management Services (WMS) https://hcu.share.worldcat.org/wms/cmnd/ แล้ว Login  จะปรากฏหน้าจอดังนี้ Read the rest of this entry »

View (64)

การลงข้อมูล (Metadata) ในเอกสารงานวิทยานิพธ์และงานวิจัย มฉก.
ก.ค. 31st, 2019 by Dr.sanampol

เมทาดาทา (Metadata)คือ ข้อมูลที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของข้อมูลต่างๆ เช่นถ้าเป็นหนังสือ เมทาดาทาของหนังสือก็คือ ข้อมูลที่เป็นชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อเจ้าของผลงาน ผู้รับผิดชอบ สิทธิของหน่วยงาน  ปีที่เขียน เป็นต้น  ผู้เขียนรับผิดชอบในการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย ซึ่งมีการลงเมทาดาทาในไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย มีขั้นตอนการลงในเมทาดาทา ดังนี้

1.เปิดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ขึ้นมา (ภาพที่ 1)

ภาพที่ 1

2.ให้คลิกที่เมนู  File (ภาพที่ 2) จะเห็นเมนูต่างๆ ปรากฏขึ้นมา Read the rest of this entry »

View (154)

การสร้าง Bookmark สำหรับงานวิทยานิพนธ์และงานวิจัย มฉก.
ก.ค. 31st, 2019 by Dr.sanampol

ผู้เขียน รับผิดชอบการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยจัดเตรียมไฟล์และตรวจสอบความถูกต้องและใส่รายละเอียดของข้อมูลใน properties

ในการจัดการไฟล์นั้น ได้มีการทำ Bookmark  ซึ่งเสมือนเป็นสารบัญ และเป็นตัวช่วยในการคลิกดูเนื้อหา ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้

  1. เปิดเอกสาร PDF ของวิทยานิพนธ์หรืองานวจัยที่ต้องการทำ Bookmark ขึ้น จะปรากฏภาพหน้าเอกสารดังกล่าวขึ้น (ภาพ 1) เมื่อนำเม้าท์ไปคลิ๊กจากภาพที่ลูกศรชี้ จะมีข้อความจะปรากฏขึ้นแสดงให้เห็นรายละเอียดของหน้าเอกสารทั้งหมดที่เมนู Page Thumbnails ให้นำเม้าท์ไปชี้ จะปรากฏข้อความขึ้น Page Thumbnails : Go to specific pages using thumbnail

Read the rest of this entry »

View (832)

การปรับ / ลด ขนาดหน้าเอกสาร PDF เบื้องต้นเพื่อความเหมาะสม
มิ.ย. 27th, 2018 by Dr.sanampol

ผู้เขียนมีโอกาสได้สแกนเอกสารที่เป็นตัวเล่มหนังสือในจัดทำเป็นไฟล์ดิจิทัล เพื่อสะดวกในการจัดเก็บไฟล์และสะดวกต่อการอ่านเอกสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความยุ่งยากสำหรับมือใหม่ในการเริ่มต้นจัดเก็บไฟล์เอกสาร นั่นคือ เมื่อเราทำการสแกนไฟล์เอกสารที่เป็น PDF เรียบร้อยแล้ว แต่เอกสารที่สแกนบางหน้า อาจจะมีขนาดของเอกสารไม่เท่ากัน จนดูไม่สวยงาม วิธีการง่าย ๆ ที่ผู้เขียนได้เรียนรู้ในการจัดการเอกสารเหล่านั้นซึ่งเป็นขั้นตอนที่ง่าย ๆ ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการจัดเรียงไฟล์การเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF เรียบร้อยแล้ว มีดังนี้ Read the rest of this entry »

View (19319)

สารคดีชุดพิเศษ เซน 2010 จากสวนโมกข์ สู่หมู่บ้านพลัม
มิ.ย. 27th, 2018 by Dr.sanampol

จากลมหายใจของคนบ้าข่าว “สุทธิชัย หยุ่น” สู่การเดินทางครั้งใหม่ ทางจิต ทางวิญญาณ.ถามหาหนทางการพ้นทุกข์ กับสองปราชญ์ที่โลกยกย่อง ท่านพุทธทาส สวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี และ ท่าน ติช นัท ฮันท์ หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส.

37386-01

 

พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ยังคงสามารถเยียวยาปัญหาผู้คนในยุคดิจิทัลนี้ได้หรือไม่. การเดินทางไปกับลมหายใจในรอยเท้ากับการค้นหาสัจธรรมพร้อมคนรุ่นใหม่ทางธรรมและทางโลก ซึ่งพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี กับ ปราบดา หยุ่น ร่วมเดินทางไปด้วยกันกับสารคดีชุดนี้ ที่จะทำให้เรารู้ว่า สติ และลมหายใจมีค่ามากแค่ไหน.

37388-02

 

สารคดีชุดนี้จะมีทั้งหมด 9 ตอนด้วยกัน เราสามารถเลือกชมได้ตามความสนใจ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ตอน 1 ลมหายใจแห่งพระพุทธองค์

ตอน 2 103 ปี พุทธทาส อินทปัญโญ

ตอน 3 บทกวี สอนโลก

ตอน 4 ไม่มีเกิด ไม่มีตาย

ตอน 5 พุทธศาสนาในดินแดนตะวันตก (East meets West)

ตอน 6 ความสุข กับ ปัจจุบันขณะ

ตอน 7 พุทธะในชีวิตจริง

ตอน 8 พลัม เมล็ดพันธุ์แห่งความสุข

ตอน 9 “พุทธ” ในวันพรุ่งนี้

สนใจสอบถามและชมสารคดีชุดนี้ได้ที่ แผนกทรัพยากรการเรียนรู้ ชั้น 2 ศูนย์บรรณสารสนเทศ.

View (118)

พันแสงรุ้ง 1 ชุด ไทใหญ่ ไทลื้อ…ความงามอันหลากหลาย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ชนเผ่า ชาติพันธุ์ ภาษา.
ส.ค. 11th, 2016 by Dr.sanampol

กลุ่มชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่รอยต่อชายแดนระหว่างไทยกับพม่า เรามักจะรู้จักกันในนามว่า ตระกูลไท พันแสงรุ้ง ความงามอันหลากหลาย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ชนเผ่า ชาติพันธุ์ ภาษา ชุด ไทใหญ่ ไทลื้อ เป็นภาพยนตร์สารคดี ที่รวบรวมความเป็นมา ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ของชนเผ่าเหล่านี้ ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว

ผมให้ข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับ ไทใหญ่ และ ไทลื้อ เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่า ชีวิตความเป็นอยู่ ของเค้าเหล่านี้ น่าสนใจเพียงไรก่อนจะชมภาพยนตร์นะครับ

 

ไทใหญ่

เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่รอยต่อชายแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่า ไทใหญ่ หรือที่เรียกตัวเองว่า คนไต เคยอยู่เป็นรัฐอิสระ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวินและบริเวณที่ราบสูงฉานมาแต่เดิม เมื่ออังกฤษปกครองพม่า รัฐไทใหญ่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพม่าในชื่อว่ารัฐฉาน   ไทใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไท-กะไต มีความคล้ายคลึงกันในทางเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมบางประการกับชาวล้านนา ความสัมพันธ์เป็นแบบฉันท์มิตรใกล้ชิดสนิทสนม

13933549_1350722571607887_930014815_n

ไทลื้อ

พี่น้องตระกูลไทกลุ่มหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ วิถีชีวิคและวัฒนธรรมอันโดดเด่น โดยเฉพาะเรื่องราวของผ้าทอ ที่บอกเรื่องราวภูมิปัญญาและความสามารถ มีคุณค่าทั้งในเชิงศิลปะ และตอบสนองการใช้งานในชีวิตประจำวัน คุณค่าของผ้าทอไทลื้อ เปลี่ยนไปตามยุคสมัย

ต้องการชม พันแสงรุ้ง ความงามอันหลากหลาย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ชนเผ่า ชาติพันธุ์ ภาษา ชุด ไทใหญ่ ไทลื้อ ติดต่อที่ แผนกทรัพยากรการเรียนรู้ ชั้น 2 ศูนย์บรรณสารสนเทศ นะครับ

 

 

View (99)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa