SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
WFH งาน Catalog จากใบสั่งซื้อ
ม.ค. 22nd, 2021 by suwanna

เนื่องจากมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ละลอกใหม่  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาลและแนวทางของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม  (อว.) ในการปิดมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว และให้ทำงานจากที่บ้าน (Work from home)

ผู้เขียน เป็นบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จึงได้เตรียมงานที่สามารถทำจากที่บ้านได้ โดยนำใบสั่งซื้อจากร้านค้า  มาตรวจสอบกับระบบห้องสมุด และบันทึกข้อมูลในส่วนที่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่สะดวกในเรื่องการนำหนังสือมาวิเคราะห์และลงรายการทางบรรณานุกรมจากที่ทำงานมาทำที่บ้าน การสแกนหน้าปก เพื่อจะได้นำมาทำที่บ้าน ไม่สามารถจัดเตรียมได้ทัน เนื่องจากปิดมหาวิทยาลัยค่อนข้างกระทันหัน  หัวหน้าแผนกฯ จึงได้มอบหมายให้นำใบสั่งซื้อจากร้านค้า มาดำเนินการในส่วนของ
งานวิเคราะห์ฯ ในเบื้องต้น

 

  • ใบสั่งซื้อจากร้านค้า

โดยมีการทำงานจากที่บ้าน ดังนี้ Read the rest of this entry »

View (155)

สารบัญมีประโยชน์ : Tag 505 (Formatted Contents Note)
พ.ย. 16th, 2020 by suwanna

การลงรายการทางบรรณานุกรมในระบบฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัตินั้น การลงรายละเอียดของสารบัญหนังสือก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้ได้ทราบข้อมูลเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้น ๆ และสามารถใช้เป็นคำค้นในการสืบค้นได้อีกด้วย โดยกำหนดการลงข้อมูลในเขตข้อมูลที่เรียกว่า Tag 505 (Formatted Contents Note) : ข้อมูลจากหน้าสารบัญ

ลักษณะการลงข้อมูล สามารถลงข้อมูลที่เป็นแบบสมบูรณ์ หรือแบบย่อ หรือลงเป็นบางส่วนก็ได้ ซึ่งบรรณารักษ์จะเป็นผู้พิจารณาในการลงข้อมูล เช่น หนังสือมีเนื้อหาสารบัญที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างมาก ก็จะลงข้อมูลที่เป็นแบบสมบูรณ์ หรือ หนังสือบางเล่มเนื้อหาสารบัญมีข้อมูลที่แยกย่อยมากจนเกินไป และสามารถตัดข้อความออกได้ บรรณารักษ์ก็สามารถพิจารณาลงข้อมูลแบบลงบางส่วนได้ เป็นต้น

การลงข้อมูลในเขตนี้  ตามหลักเกณฑ์การลงรายการ MARC21  กำหนดตัวบ่งชี้เพื่อเป็นการบอกลักษณะของสารบัญที่นำมาลง ดังนี้

Fist  indicator

0             สารบัญสมบูรณ์ (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)

1             สารบัญไม่สมบูรณ์

2             สารบัญบางส่วน (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)

 

Second indicator

–             (เว้นว่าง) Basic (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)

0            Enhance

Read the rest of this entry »

View (609)

การปรับเปลี่ยนสิ่งพิมพ์ มฉก. เป็น HCU Archives
ม.ค. 21st, 2020 by suwanna

สิ่งพิมพ์ มฉก. คือสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยหน่วยงานของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เช่น รายงานเอกสารการอบรม เอกสารประกอบการประชุม หลักสูตร หรือรายงานกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

เนื่องจากสิ่งพิมพ์ มฉก. ในศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้บริการอยู่ที่ชั้นทั่วไปมีจำนวนมาก มากทั้งในจำนวนชื่อเรื่อง และจำนวนฉบับ และในปัจจุบัน มีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ ทำให้ต้องพิจารณาทบทวนการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ มฉก.   อีกครั้ง โดยรวบรวมตั้งแต่ปีพิมพ์เริ่มต้น – ปัจจุบัน จัดเก็บเพียงจำนวน 1 ฉบับ ไว้ในหอจดหมายเหตุ เพื่อให้เป็นหลักฐานว่ามหาวิทยาลัยเคยมีการผลิตสิ่งพิมพ์ชื่อใดบ้าง ส่วนบางรายชื่อที่มีจำนวนมากเกินไป มีการพิจารณาจำหน่ายออกบ้าง ที่มีการให้บริการที่ชั้นทั่วไปพิจารณาจำนวนฉบับตามความเหมาะสมกับการใช้  ดังนั้น สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่มีการจัดเก็บไว้หอจดหมายเหตุ จึงต้องมีการกำหนด Collection ไว้ในระบบ เพื่อให้ทราบว่า สามารถขอใช้บริการได้ที่หอจดหมายเหตุ ซึ่งหอจดหมายเหตุ  มีระบบการจัดเก็บในลักษณะของจดหมายเหตุ และให้บริการเป็นชั้นปิด

ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบปรับเปลี่ยน Collection สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่จัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ โดยมีหลักการปฎิบัติ คือ

1. สืบค้นรายการสิ่งพิมพ์ที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนในฐานข้อมูลระบบ WorldShare Management  Services (WMS) (ดังรูป)

 

2. ในส่วนของ LBD (ส่วนที่ 2) จะต้องแก้ไข จากเดิมที่มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ใน 590 จะต้องปรับเปลี่ยนมาใช้ Tag. 592  โดยกำหนดคำว่า   Arc.  ซึ่งย่อมาจากคำว่า Archive หมายถึง จดหมายเหตุ เพื่อต้องการแจ้งให้ทราบว่า อยู่ที่หอจดหมายเหตุ (ดังรูป) Read the rest of this entry »

View (56)

การกำหนดสถานะหนังสืออ้างอิง (Reference Book)
ต.ค. 10th, 2019 by suwanna

การกำหนดสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ในห้องสมุด จะเป็นความรับผิดชอบของงาน Cataloging เพื่อเป็นการจัดระเบียบของสิ่งพิมพ์ให้มีความชัดเจนและเพื่อเป็นการให้บริการผู้ใช้สามารถหยิบใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น

หนังสืออ้างอิง (Reference Book) เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทหนึ่งที่มีในห้องสมุด หมายถึง หนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้น จะไม่ใช้อ่านทั้งเล่ม ดังนั้นหนังสืออ้างอิงจึงถูกจัดแยกออกจากหนังสือทั่วไป เป็นหนังสือที่ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด  โดยจะมีการกำหนดสถานะ (Code) หรือสัญญลักษณ์ในระบบห้องสมุด  เพื่อแสดงให้รู้ว่าไม่สามารถยืมออกจากห้องสมุดได้ แต่สามารถใช้อ่านศึกษาค้นคว้าภายในห้องสมุดเท่านั้น ในการกำหนดสถานะ (Code) ของหนังสืออ้างอิงของระบบ WorldShare Management  Services (WMS) บรรณารักษ์งาน Cataloging จะต้องเข้าไปกำหนดในเขตข้อมูล Tag 008 ดังนี้ Read the rest of this entry »

View (105)

การตรวจเช็คหนังสือโดยใช้เลข Barcode
มิ.ย. 23rd, 2019 by suwanna

การปฏิบัติงานของฝ่ายวิเคราะห์หมวดหมู่ หนังสือ บางครั้งจะต้องมีการตรวจเช็คหนังสือในกรณีต่าง ๆ เช่น การตรวจเช็ครายการหนังสือเพื่อปรับเปลี่ยน Location ในการจัดเก็บ การตรวจเช็คหนังสือในกรณีที่อาจารย์หรือผู้ใช้ต้องการเร่งด่วน หรือตรวจเช็คหนังสือที่อยู่ระหว่างการดำเนินการวิเคราะห์หมวดหมู่ เป็นต้น

การตรวจเช็คหนังสือ ในกรณีที่ได้รับข้อมูลมาให้ตรวจสอบไม่ละเอียดนัก หรือผู้แจ้งให้ตรวจสอบไม่สามารถแจ้งข้อมูล ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หรือ ISBN ได้ วิธีการที่ง่ายที่สุด ก็คือ การให้ดูหมายเลข Barcode ของหนังสือเล่มนั้นๆ เพื่อให้ตรวจสอบในระบบห้องสมุดได้  เนื่องจากระบบ WorldShare Management มีช่องคำค้นให้หาได้จาก Barcode ของหนังสือเล่มนั้นๆ โดยมีขั้้นตอนในการค้นหา ดังนี้

  1. เข้าสู่หน้าจอการทำงาน Metadata (ดังรูป)

 

Read the rest of this entry »

View (86)

การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศประเภท ตำรา
เม.ย. 2nd, 2019 by suwanna

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้มีการจัดพิมพ์โครงการตำรามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตำราที่อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เขียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นตำราประกอบการเรียนการสอนประจำวิชา หรือเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ที่สนใจ

ศูนย์บรรณสารสนเทศ  จะได้รับตำราที่จัดพิมพ์นี้ รวบรวมเพื่อให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษาที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าซึ่งแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะดำเนินการลงรายการในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services (WMS) เพื่อให้สามารถสืบค้นได้ต่อไป

หลักเกณฑ์ในการลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือประเภทตำรา นี้  งานวิเคราะห์ทรัพยากรฯ จะลงรายละเอียดขอบเขตของหนังสือไปตามขั้นตอนและกำหนดการลงรายการทางบรรณานุกรม แต่จะมีการกำหนดคำค้น เพื่อให้สืบค้นได้จากหลักเกณฑ์ทั่ว ๆไป เช่น จากชื่อผู้เขียน ชื่อเรื่อง หัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา แล้วยังมีการกำหนดหัวเรื่อง ว่า ตำรา (มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ) ไว้ใน Tag 690 เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นได้ และเป็นการควบคุมข้อมูลที่เกี่ยวกับตำรา ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ทั้งหมด Read the rest of this entry »

View (117)

บริการ “หนังสือเร่งด่วน”
มิ.ย. 1st, 2018 by suwanna

ห้องสมุดจะมีกระบวนการในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เข้ามาในห้องสมุด ดังนั้น กว่าจะที่ทรัพยากรสารสนเทศ แต่ละรายการจะเสร็จออกให้สืบค้นได้นั้น จะใช้เวลาพอสมควร ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีบริการที่เรียกว่า “หนังสือเร่งด่วน” เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการที่ต้องการใช้หนังสือก่อนเสร็จสิ้นตามกระบวนการของห้องสมุด

“ หนังสือเร่งด่วน “ หมายถึง หนังสือที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดซื้อตามขั้นตอนกระบวนการจัดซื้อของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หนังสือเหล่านั้นจะยังไม่ปรากฏรายชื่อในระบบฐานข้อมูลของห้องสมุด และอาจารย์มีความประสงค์จะใช้บริการหนังสือเล่มนั้นในเรื่องการเรียนการสอนอย่างเร่งด่วน

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ฯ จึงได้ตอบสนองการให้บริการแก่อาจารย์ผู้สอนที่มีความประสงค์จะใช้บริการทรัพยากรเหล่านั้น โดยการบริการวิเคราะห์ หนังสือเร่งด่วน ให้แก่อาจารย์ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้

ขั้นตอนการขอใช้ หนังสือเร่งด่วน

  1. ผู้ใช้ตรวจสอบรายชื่อหนังสือจากฝ่ายจัดซื้อหนังสือ ที่สำนักงานเลขานุการศูนย์บรรณสารสนเทศ ชั้น 2
  2. แจ้งความประสงค์การใช้หนังสือและจำนวนเล่มที่ต้องการใช้
  3. แจ้งชื่อ, คณะที่สังกัด, เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้  เพื่อติดต่อกลับแจ้งผลการดำเนินการ
  4. ฝ่ายจัดซื้อจะทำหน้าที่คัดรายชื่อหนังสือตามที่อาจารย์แจ้งไว้ ลงรายละเอียดในแบบฟอร์ม จัดส่งให้งานจัดหาลงรายละเอียดของหนังสือในฐานข้อมูล
  5. งานวิเคราะห์ทรัพยากรฯ จะดำเนินการวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือ พร้อมลงรายละเอียดทางบรรณานุกรมและตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยของตัวเล่มอย่างเร่งด่วน
  6. จัดส่งตามวัน เวลา ที่กำหนด ให้แก่ผู้ใช้บริการต่อไป

หมายเหตุ : ผู้ใช้จะต้องมารับหนังสือตามวัน เวลา ที่กำหนด ถ้าเกินกำหนดวันนัดรับหนังสือ เป็นเวลา 15 วัน บรรณารักษ์จะนำหนังสือขึ้นชั้นบริการตามปกติ

ตัวอย่าง : หนังสือเร่งด่วน

 

หนังสือ2

คัดเลือกหนังสือพร้อมแนบแบบฟอร์ม “หนังสือเร่งด่วน”

 

หนังสือ4

หนังสือ3

 

                 หนังสือที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว พร้อมส่งให้ผู้ใช้บริการ

View (210)

อ่านถูกต้อง…ปกป้องสุขภาพ
มี.ค. 26th, 2018 by suwanna

อ่านถูกต้อง…ปกป้องสุขภาพ

สำหรับเวลาพักผ่อนหรือช่วงเวลาว่าง ๆ ของหลาย ๆ คนนั้น เชื่อว่าบางคนชอบเอาเวลาในช่วงนี้ไปหาอะไร  ๆ มาอ่าน มาดูเพลิน ๆ ไปตามเรื่องมากกว่าการออกไปเที่ยวช้อปปิ้ง (Shopping) หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ส่วนใหญ่การอ่านหรือการดูเหมือนจะใกล้เคียงกันมาก บางอย่างอาจดูได้อย่างเดียว เช่น ดูเพื่อให้เกิดความบันเทิง, ดูเพื่อให้ได้รับรู้ข่าวสาร แต่บางอย่างเมื่อดูแล้วก็ต้องอ่านไปด้วยจึงจะได้รับความรู้และความบันเทิง หรือที่เรียกว่าเกิด “อรรถรสในการอ่าน” อย่างนี้เป็นต้น ทราบกันหรือไม่ว่า หากเรารู้จักอ่านอย่างถูกต้องก็จะช่วยปกป้องสุขภาพของเราไปด้วยค่ะ

อ่านอย่างไร? เรียกว่า อ่านถูกต้อง

พฤติกรรมการอ่าน, ความเหมาะสมของท่าทางการอ่าน

การอ่านที่ถูกต้อง ควรนั่งหลังตรง ไม่เกร็งเกินไป เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงและเท้าแขนให้เหมาะสมกับร่างกาย นั่งแล้วรู้สึกสบายในการถือหนังสืออ่าน มีความผ่อนคลายได้ดี ควรถือหนังสือในระดับที่ห่างจากสายตาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และหนังสือควรอยู่ในแนวตั้ง ทำมุมประมาณ 40-80 องศากับโต๊ะ หรือตามลักษณะทางกายภาพของผู้อ่าน ซึ่งในลักษณะเช่นนี้จะทำให้อ่านหนังสือได้สบายตาที่สุด ไม่ปวดเมื่อยร่างกาย ทำให้อ่านได้นานและดีต่อสุขภาพ

 

สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการอ่าน

  • สถานที่และบรรยากาศการอ่าน

การอ่านเพื่อให้มีความสุข ควรอ่านในมุมที่เราชอบ มุมที่เรารู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด  เป็นมุมที่เงียบสงบ อากาศปลอดโปร่งถ่ายเทสะดวก เป็นห้องอ่านหนังสือแบบชิล ๆ  ภายในห้องควรมีหน้าต่างที่สามารถเปิดรับแสง รับลม มีบรรยากาศที่สดชื่นโอบล้อมกับธรรมชาติได้ดี ไม่ควรอ่านในขณะที่เราเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การอ่านบนรถขณะที่รถกำลังวิ่ง หรืออ่านในสถานที่ที่มีความพลุกพล่าน หรือมีเสียงดังรบกวนมาก ซึ่งจะทำให้ขาดสมาธิในการอ่านได้

  • แสงสว่าง

แสงสว่างที่ควรใช้ในการอ่าน ควรเป็นแสงธรรมชาติที่อ่านแล้วทำให้เราเห็นได้ชัดเจน สบายตา ไม่ควรใช้แสงที่สว่างจ้าเกินไป หรือมืดเกินไป  แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้แสงจากหลอดไฟฟ้า ควรใช้หลอดไฟที่มีแสงแบบ Continuous Spectrum เหมือนแสงอาทิตย์ธรรมชาติ เพื่อให้ได้แสงสว่างอย่างต่อเนื่อง ไม่กระพริบ เช่น หลอดตะเกียบ หรือหลอด LED

 

ความเหมาะสมของตัวอักษร

อักษรที่ใช้ในการพิมพ์หนังสือในปัจจุบันมีขนาดที่แตกต่างกัน การใช้อักษรที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป จะเป็นปัญหาต่อระบบการอ่าน คือ เล็กมากเกินก็จะทำให้อ่านยาก ใหญ่เกินไปจะทำให้สายตาไม่สามารถจับโฟกัสได้ชัดเจน ทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง ฉะนั้นขนาดอักษรที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการอ่านมากที่สุดคือ ขนาดอักษรไม่ควรเล็กกว่า 14 พอยต์ (Point)

หมึกพิมพ์หรือสีของตัวหนังสือ

ในปัจจุบัน เราจะเห็นว่า หมึกที่ใช้ในการพิมพ์มีหลากสี สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการขึ้นอยู่กับผู้พิมพ์ว่าเขาต้องการจะสื่อหรือเน้นอะไร แต่ส่วนมากแล้วตัวหนังสือที่ใช้ในการพิมพ์ มักจะใช้หมึกสีเข้ม เช่น สีดำ เพื่อให้ตัวอักษรลอยเด่นจากพื้นกระดาษ จะทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น หรือสังเกตแบบง่าย ๆ คือ ตัวหนังสือที่เราใช้อ่านควรจะเป็นสีเข้มกว่าพื้นหลังนั่นเอง

กระดาษพิมพ์

โดยทั่วไปกระดาษพิมพ์ มักจะนิยมพิมพ์บนกระดาษสีพื้น ซึ่งสีที่เหมาะสมที่สุด ควรเป็นสีตุ่น ๆ สักหน่อย เช่น สีขาวนวล ๆ หรือสีอ่อน ๆ ซึ่งเป็นสีที่มีการสะท้อนแสงน้อย เพื่อเป็นการถนอมสายตาเวลาอ่าน

ขนาดรูปเล่ม

ลักษณะของขนาดรูปเล่มหนังสือ หรือวัตถุที่เราจะอ่าน ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับการหยิบจับได้ถนัดมือ ไม่ควรมีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้ขาดความสมดุลในการอ่าน หรือเสียบุคลิกในการอ่านได้

สุดท้ายนี้ขอฝากบรรดานักอ่านหรือผู้ที่รักการอ่านทั้งหลาย ถ้าจะอ่านอย่างมีความสุข สนุกไปกับการอ่านทุกครั้งต้องดูแลรักษาสุขภาพของตนเองด้วนนะคะ…

แหล่งที่มา :

View (90)

การพัฒนาเอกสารสิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (สิ่งพิมพ์ มฉก.)
มิ.ย. 17th, 2017 by suwanna

เนื่องจากทรัพยากรฯ ซึ่งจัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและสิ่งพิมพ์ที่มีตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีอยู่ในศูนย์บรรณสารสนเทศเป็นจำนวนมากประกอบกับการบริหารจัดการในช่วงที่ผ่านมา จะดำเนินการวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากร ฯ ตามเนื้อหาของสาขาวิชานั้น ๆ  แต่ในปัจจุบันทรัพยากรฯ และสิ่งพิมพ์ได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  จำนวนผู้ใช้ก็มีความต้องการมากเช่นเดียวกัน จึงทำให้ประสบปัญหาในเรื่องการค้นหาทรัพยากรไม่เจอ เพราะมีการจัดเก็บไว้หลายสาขาวิชา และหลายสถานที่  (Location)

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารให้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงสิ่งพิมพ์ประเภทนี้  โดยการเก็บรวบรวมทรัพยากรสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมีอยู่ในศูนย์บรรณสารสนเทศทั้งหมด มาพัฒนาปรับเปลี่ยน กำหนดรหัสเลขหมู่ใหม่ เพื่อให้เอกสารสิ่งพิมพ์เหล่านี้ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน และผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวกในการค้นคว้าต่อไป Read the rest of this entry »

View (94)

การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R)
ธ.ค. 13th, 2016 by suwanna

R2R  ย่อมาจากคำว่า Routine to Research  คือ การศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานประจำทุกวัน แล้วนำปัญหานั้นมาทำเป็นงานวิจัย จากนั้นก็นำผลที่ได้จากการวิจัยย้อนกลับมาใช้กับงานประจำอีกที เพื่อแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานให้มีความเจริญขึ้น และพัฒนากำลังคนให้เกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงาน

หลักเกณฑ์ในการทำ R2R

  1. มีการศึกษาปัญหา คัดเลือกหัวข้อที่จะทำ R2R
  2. ดำเนินการทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาโดยใช้ R2R
  3. ทำแผนพัฒนาเพื่อปรับปรุงการทำงานจากผลการทำ R2R
  4. ดำเนินการตามแผนพัฒนาการปรับปรุงการทำงาน
  5. นำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงงานให้ดีขึ้น อย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน

การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

  1. ขนาดของปัญหา (Size of problem) ควรศึกษาจากน้ำหนักของปัญหาโดยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน
    ของปัญหา อาจกำหนดเป็นคะแนน แล้วนำปัญหาที่มีน้ำหนักคะแนนมากนั้น มาเป็นหัวข้อปัญหาของการวิจัยได้
  2. ความรุนแรงเร่งด่วนของปัญหา (Severity of problem) ควรเป็นปัญหาซึ่งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว ถ้าไม่แก้ไขด่วนก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้
  3. ความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา (Feasibility or ease) ปัญหานั้นจะต้องมีการแก้ไขกระทำได้ง่าย โดยไม่ต้องอาศัยหน่วยงานอื่น หรือมีปัจจัยสนับสนุนในการดำเนินการแก้ไข
  4. ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา (Community concern) การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ร่วมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
  5. ผลกระทบต่อหน่วยงาน (Impact) ต้องคำนึงถึงผลกระทบของปัญหาที่มีต่อบุคลากรและหน่วยงานมากน้อยแค่ไหน

Read the rest of this entry »

View (232)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa