เนชั่นแนล จีโอกราฟิก (National Geographic) เป็นนิตยสารของสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก ออกวางจำหน่ายเป็นรายเดือน ซึ่งมีการตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นฉบับภาษาอังกฤษ เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2431 สำหรับเนื้อหาภายในนิตยสารนั้นจะมีเกี่ยวกับทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันมีการตีพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่นถึง 37 ภาษาทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทย
งานวารสารฯ ศูนย์บรรณสารสนเทศ เห็นถึงการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งเดิมได้มีการบอกรับเป็นตัวเล่มเป็นภาษาไทยอยู่แล้ว จึงได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการบอกรับในรูปแบบของ e- Magazine ซึ่งสามารถอ่านจากที่ไหน ก็ได้ โดยการอ่านผ่านหน้าจอ Smart Phone หรือ Tablet เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ สำหรับการให้บริการนั้นทางห้องสมุดได้สมัครสมาชิกไว้เรียบร้อยแล้ว และได้รับ USER การใช้งาน 1 USER สามารถอ่านเนื้อหาได้ครั้งละ 5 เครื่องพร้อมกัน Read the rest of this entry »
View (147)
QR Code Link หนังสือโดนใจ เป็นอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่เข้ากับยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากมายในชีวิตประจำวัน เมื่อพูดถึง QR Code คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะปัจจุบันนี้เมื่อเดินไปที่ไหน ๆ มักจะเห็นกันแทบทุก ๆ พื้นที่รอบ ๆ ตัวเรา อย่างเช่น ตามป้ายโฆษณา ร้านค้า ธนาคาร แม้แต่การอบรม สัมมนา ฯลฯ การใช้ QR code เป็นสีสันของการประชาสัมพันธ์ หรือการให้ข้อมูลที่สะดวกมากขึ้น ให้เข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลได้ทันที ที่ สแกน QR code
ศูนย์บรรณสารสนเทศเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำ QR Code มาใช้กับหนังสือ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ เช่น แนะนำเรื่องย่อของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจในการเลือกหยิบหนังสือเล่มนั้น ๆ มายืมเพื่อกลับไปอ่านที่บ้าน
ขั้นตอนการทำ QR Code มีดังนี้
1.ค้นหาหนังสือจากศูนย์บรรณสารสนเทศที่น่าสนใจ
2. นำรายชื่อหนังสือที่ต้องการค้นหา มาสืบค้นเพื่อหาลิงค์ นำมาทำ QR Code ส่วนใหญ่แหล่งข้อมูลที่ได้มาจากเว็บไซต์ หรือบทคัดย่อที่ได้จากเว็บไซต์ของร้านหนังสือ เช่น SE-ED , B2S หรือ นายอินทร์ Read the rest of this entry »
View (49)
เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรค COVID – 19 ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีความจำเป็นต้องปิดให้บริการชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค ทางศูนย์บรรณสารฯ มองเห็นถึงความจำเป็นที่ผู้ใช้บริการต้องใช้หนังสือประกอบการเรียนการสอน (ซึ่งในระหว่างนั้น ยังอยู่ในภาคเรียนที่ 2/2562) จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ใช้บริการใช้บริการจองหนังสือผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดยผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศผ่านหน้าจอการสืบค้น WorldCat Discovery ของระบบห้องสมุด WMS ตามขั้นตอนดังภาพด้านล่าง
ผู้ใช้บริการเพียงแจ้งในระบบว่า หนังสือเล่มใดบ้างที่ต้องการใช้ ระบุวัน เวลา ที่ต้องการรับหนังสือ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะดำเนินการตรวจสอบในระบบ และหยิบตัวเล่ม เพื่อส่งให้ผู้ใช้บริการต่อไป จากการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Face book และ LINE @ ของ ศูนย์บรรณสาร พบว่าผู้ใช้บริการให้ความสนใจจองหนังสือเข้ามา เป็นจำนวนไม่น้อย
เจ้าหน้าที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีวิธีการตรวจสอบการจองในระบบ ดังนี้ Read the rest of this entry »
View (35)
Zotero เป็น software ประเภท open source สาหรับช่วยบริหารจัดการข้อมูลรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า Reference management และมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างรูปแบบการเขียนอ้างอิงได้หลายรูปแบบ ซึ่ง Zotero สามารถทำงานร่วมกับ Microsoft Word ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งรายการบรรณานุกรมที่เก็บรวบรวมไว้ใน Zotero เข้ามาแทรกตามตำแหน่งต่างๆ ในเอกสาร word ได้สะดวก ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องติดตั้ง Add-In ใน tool ของ Microsoft Word เพิ่มเติม โดยผู้เขียน ขอแบ่งการนำเสนอเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Zotero ส่วนที่ 2 การนำรายการทางบรรณานุกรมที่มีการดาวน์โหลดจากฐานข้อมูลหรือระบบที่ให้บริการจัดทำรูปแบบการอ้างอิงออกมา ส่วนที่ 3 การนำข้อมูลทางบรรณานุกรมที่นำออกจากฐานข้อมูล/ระบบห้องสมุด เข้าโปรแกรม Zotero และส่วนที่ 4 กล่าวถึงการ add-in โปรแกรม Zotero กับ Microsoft Word ต่อไป
ส่วนที่ 1 การติดตั้งโปรแกรม Zotero ในคอมพิวเตอร์
1. ดาวน์โหลดโปรแกรม Zotero จากเว็บไซต์ เนื่องจากเป็น open source จึงสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ https://www.zotero.org/download โดยให้เลือกเวอร์ชั่นให้ตรงกับ OS ที่ใช้งานอยู่ ว่าเป็น Windows / macOS / Linux
Read the rest of this entry »
View (1006)
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 อาศรมสยาม-จีนวิทยา จัดบรรยายหัวข้อ การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 โดย ดร. พิมพร วัฒนากมลกุล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ณ ห้อง 4-0806 ชั้น 8 อาคาร CP All Academy สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยมีหัวข้อในการบรรยาย 4 หัวข้อ ได้แก่
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การเรียนรู้และนวัตกรรม ผ่านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อชีวิตและการทำงาน ดังนั้นในการสืบค้นสารสนเทศ จะต้องทราบว่า ต้องการค้นหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหา และต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูล หรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา
การสืบค้นสารสนเทศ
เราจึงควรต้องเรียนรู้แหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ และวิธีการค้นหาแหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ ให้เหมาะสมกับเรื่องที่้ต้องการค้นหา วิทยากรได้แนะนำ Read the rest of this entry »
View (76)
นับได้ว่าในปัจจุบัน ไม่มีใครไม่รู้จัก [ส่อง] ส่องในที่นี้ผู้เขียนหมายถึง ส่อง QR Code ส่องหรือเรียกอย่างเป็นทางการว่าสแกน QR Code
ผู้เขียน ทำหน้าที่ลงรายการบรรณานุกรมในส่วนของหนังสือ นวนิยายและเรื่องสั้น ทำให้เห็นถึงพัฒนาการของหนังสือนวนิยาย เช่น QR Code ทดลองอ่าน ของสำนักพิมพ์ต่างๆ จากทางด้านหลังของปกหนังสือ QR Code ทดลองอ่านนี้ วิธีการสแกน QR Code ก็ง่าย ๆ เพียงแค่เอากล้องไปส่องหรือจ่อที่ QR Code ที่เราต้องการสแกน เมื่อสแกนสำเร็จ ก็จะมีข้อความ หรือลิงค์ หรือข้อมูลที่อยู่ใน QR Code ขึ้นมา แตะที่ลิงค์ก็จะเข้าไปที่สำนักพิมพ์นั้น ๆ เช่น สำนักพิมพ์สถาพรแล้วลิงค์ไปยังนวนิยายเล่มที่เราทำการสแกน ในนั้นมีเนื้อเรื่องของนวนิยายให้เราได้ทดลองอ่านกันประมาณ 40 กว่าหน้าเลยที่เดียว บางเรื่องก็มีให้ทดลองอ่านเยอะมาก แถมยังได้ทดลองอ่านได้วิเคราะห์พิจารณาว่าเรื่องนี้ตรงกับความต้องการของเราหรือเปล่า ถ้าทดลองอ่านแล้วยังไม่โดนใจ ก็สแกน QR Code เล่มต่อไปมาทดลองอ่านได้อีก สแกน QR Code ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้นวนิยายเล่มที่ถูกใจ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ที่นิยมและชื่นชอบทางด้านหนังสือนวนิยายได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงจัดให้บริการหนังสือนวนิยายใหม่ๆ สามารถหายืมได้ที่ “มุมคนรักนิยาย” ที่ชั้น 1 ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เรามีไว้ให้บริการ มากมายหลายเรื่อง
ตัวอย่างการ สแกน QR Code ของหนังสือนวนิยาย
รูปภาพที่ 1 หนังสือนวนิยายที่ต้องการ สแกน
View (111)
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแนะนำมุมหนังสือที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือ Just returned จัดให้บริการบริเวณเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ เนื่องจากในแต่ละวันมีผู้ใช้บริการนำหนังสือมาคืน แล้วต้องคัดแยกส่งเก็บตามชั้นต่างๆ ทุกวัน ช่วงเวลา 16.00 น. ดังนั้น จึงได้มีแนวความคิดในการนำหนังสือที่เพิ่งคืนมาจัดแสดงอีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่า น่าจะเป็นที่สนใจว่า ใครยืมหนังสืออะไรไปอ่านกันบ้าง ผู้ใช้ที่เรียนในสาขาวิชาเดียวกัน หรือผู้ที่สนใจในเรื่องทำนองเดียวกัน จะได้มีไอเดียในการอ่านหนังสือ เมื่อเห็นการจัดแสดงหนังสือที่เพิ่งมาคืน เหมือนเป็นการแนะนำหนังสือโดยผู้อ่านคนอื่นที่มีสไตล์การอ่านแบบเดียวกัน
บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงเลือกหนังสือที่คืนบางส่วนในแต่ละวัน โดยเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาทั่วไปเบาๆ ไม่เชิงวิชาการมากนัก เน้นเล่มใหม่ๆ เช่น หนังสือทางด้านดูแลสุขภาพ ทางด้านภาษาที่น่ารู้ นวนิยาย เป็นต้น นำมาจัดแสดงให้เห็นว่ามีหนังสืออะไรที่เพิ่งมาคืน น่าจะเป็นที่สนใจแก่ผู้อ่านคนอื่น ๆ บ้าง โดยไม่ต้องขึ้นไปเสาะแสวงหา การจัดมุมหนังสือ Just returned เป็นที่สนใจแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก ทำให้หนังสือเหล่านี้มีการหมุนเวียนถูกหยิบยืมอีก และยังได้เพิ่มการจัดทำ QR CODE เพื่อ Scan ดูเนื้อหาของหนังสือบางเล่ม อีกด้วย Read the rest of this entry »
View (56)
การกำหนดสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ในห้องสมุด จะเป็นความรับผิดชอบของงาน Cataloging เพื่อเป็นการจัดระเบียบของสิ่งพิมพ์ให้มีความชัดเจนและเพื่อเป็นการให้บริการผู้ใช้สามารถหยิบใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น
หนังสืออ้างอิง (Reference Book) เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทหนึ่งที่มีในห้องสมุด หมายถึง หนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้น จะไม่ใช้อ่านทั้งเล่ม ดังนั้นหนังสืออ้างอิงจึงถูกจัดแยกออกจากหนังสือทั่วไป เป็นหนังสือที่ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด โดยจะมีการกำหนดสถานะ (Code) หรือสัญญลักษณ์ในระบบห้องสมุด เพื่อแสดงให้รู้ว่าไม่สามารถยืมออกจากห้องสมุดได้ แต่สามารถใช้อ่านศึกษาค้นคว้าภายในห้องสมุดเท่านั้น ในการกำหนดสถานะ (Code) ของหนังสืออ้างอิงของระบบ WorldShare Management Services (WMS) บรรณารักษ์งาน Cataloging จะต้องเข้าไปกำหนดในเขตข้อมูล Tag 008 ดังนี้ Read the rest of this entry »
View (63)
ผู้เขียน รับผิดชอบการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยจัดเตรียมไฟล์และตรวจสอบความถูกต้องและใส่รายละเอียดของข้อมูลใน properties
ในการจัดการไฟล์นั้น ได้มีการทำ Bookmark ซึ่งเสมือนเป็นสารบัญ และเป็นตัวช่วยในการคลิกดูเนื้อหา ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
View (148)
ตามที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมโครงการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เพื่อให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายมีความสะดวก ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ การวิจัย หนังสือหายาก และบทความ ทั้งที่เป็นของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ จึงขอแนะนำวิธีการค้นข้อมูล เบื้องต้น (Basic search) ตามขั้นตอนดังนี้
เริ่มต้นจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ (http://www.lib.hcu.ac.th) Read the rest of this entry »
View (257)