SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
วิธีติดตั้ง Zotero Connector ส่วนขยายเพิ่มเติมบน Browser
พ.ย. 22nd, 2020 by pailin

Zotero Connector คือ extension ที่ติดตั้งบน browser ไว้ใช้ทำงานร่วมกับโปรแกรม Zotero เพื่ออำนวยความสะดวกในการดาวน์โหลดและจัดเก็บไฟล์บทความพร้อมข้อมูลรายการอ้างอิง ในขณะที่ผู้ใช้กำลังสืบค้นข้อมูลและบันทึกไฟล์บทความจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้ ก่อนจะติดตั้งส่วนขยาย Zotero Connector นี้ ท่านควรมีโปรแกรม Zotero ในเครื่องก่อน สามารถย้อนดูวิธีการติดตั้งโปรแกรม Zotero และ Add-In Zotero ใน Microsoft Word ได้ คลิกที่นี่

 

1. ไปที่ URL www.zotero.org/download คลิก Install Chrome Connector

 

แต่ถ้าจะติดตั้งบน browser รุ่นอื่น ให้คลิกที่ Zotero Connectors for other browsers

แล้วกดเลือก browser ที่ต้องการใช้งาน

 

Read the rest of this entry »

View (305)

การทำวิจัย
พ.ค. 11th, 2020 by supaporn

จากการฟังสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร. ศากุน บุญอิต อาจารย์ประจำสาขาบริหารการปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับโลกหลายฉบับ เรื่องการทำงานวิจัย   โดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์  ผ่าน YouTube https://youtu.be/mLu5iing7Tk น่าสนใจทีเดียว ขอสรุปสั้น ๆ ดังนี้

ในแง่ของนักศึกษาระดับปริญญเอก

อาจารย์ ศากุน แชร์ให้ฟังว่า การสอนในระดับปริญญาเอก จะเริ่มต้นด้วยการให้อ่านมาก ๆ ให้ตึกผลึกก่อน แล้วค่อยหาหัวข้อ วิจัย หลังการเรียน course work ควรเป็นเรื่องของการอ่าน ไม่อย่างนั้นจะไม่เป็น high abstract thinking

การทำวิจัย การเรียนปริญญาเอก การตีพิมพ์ คล้าย ๆ กัน คือ เป็นการเดินทาง (journey) ดังนั้น ต้องไม่ท้อใจ ต้องเรียนรู้ว่าเป็น journey พอเป็น journey ก็ต้องพบอะไรต่อมิอะไร แต่อย่าเพิ่งท้อใจ และเลิกไป จะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ไปทำงาน ไปสอน ก็ไม่จบ ต้องไปทางหลักจึงจะถึงจุดหมาย

ในแง่ของอาจารย์

การเป็นอาจารย์มีหน้าหลัก ๆ 3 อย่าง คือ สอน ทำวิจัย และบริการวิชาการ ซึ่ง 3 อย่างนี้เลือกไม่ได้ ต้องทำทุกอย่าง ครู กับ อาจารย์ นักวิชาการ ความหมายต่างกัน ครู หน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่สอน แต่พอเป็นอาจารย์และนักวิชาการ หน้าที่หลักมี 3 อย่าง ตามที่บอก วิจัย คือ 1 ในนั้น ดังนั้น อาชีพอาจารย์ การทำวิจัยไม่ใช่ทางเลือก แต่ต้องทำ ถึงต้องมีเกณฑ์ว่า เท่านั้น ปี ต้องตีพิมพ์ แล้วถึงต่อสัญญา ซึ่ง จริง ๆ ก็ถูก เพราะเป็นพันธกิจของอาจารย์ที่ต้องทำ ถ้าวิจัยในอาชีพอาจารย์ เป็น A Must ก็ต้องแบ่งเวลามาทำ ถ้าทำวิจัยวันละ 2 ชม. มี paper ออกมาแน่นอน ปัญหาหลัก คือ ไม่ทำมากกว่า เพราะมีทางเลือก จึงไม่ทำ ต้องเริ่มที่ mindset ว่า วิจัย เป็น A Must ที่ต้องทำ ไม่ใช่ทางเลือก เหมือนกับเป็นอาจารย์ ก็ต้องไปสอน

การทำวิจัยให้คิด 3 เรื่อง

1. โจทย์วิจัยมีความสำคัญหรือไม่ สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติ

2. กระบวนการทำวิจัย เข้มข้น เข้มแข็งพอหรือไม่ มีความชัดเจน หรือไม่

3. ผลที่ได้น่าเชื่อถือ กับโจทย์ที่ตั้งมาหรือต้องการวัดหรือไม่

อ้างอิง

ศากุน บุญอิต. (2563, พฤษภาคม 10) การทำวิจัย. [Video file). สืบค้นจาก https://youtu.be/mLu5iing7Tk

View (56)

การติดตั้ง Add-In Zotero ใน Microsoft Word
เม.ย. 25th, 2020 by pailin

Zotero เป็น software ประเภท open source สาหรับช่วยบริหารจัดการข้อมูลรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า Reference management และมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างรูปแบบการเขียนอ้างอิงได้หลายรูปแบบ ซึ่ง Zotero สามารถทำงานร่วมกับ Microsoft Word ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งรายการบรรณานุกรมที่เก็บรวบรวมไว้ใน Zotero เข้ามาแทรกตามตำแหน่งต่างๆ ในเอกสาร word ได้สะดวก ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องติดตั้ง Add-In ใน tool ของ Microsoft Word เพิ่มเติม โดยผู้เขียน ขอแบ่งการนำเสนอเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Zotero  ส่วนที่ 2 การนำรายการทางบรรณานุกรมที่มีการดาวน์โหลดจากฐานข้อมูลหรือระบบที่ให้บริการจัดทำรูปแบบการอ้างอิงออกมา ส่วนที่ 3 การนำข้อมูลทางบรรณานุกรมที่นำออกจากฐานข้อมูล/ระบบห้องสมุด เข้าโปรแกรม Zotero และส่วนที่ 4 กล่าวถึงการ add-in โปรแกรม Zotero กับ Microsoft Word ต่อไป

ส่วนที่ 1 การติดตั้งโปรแกรม Zotero ในคอมพิวเตอร์

1. ดาวน์โหลดโปรแกรม Zotero จากเว็บไซต์ เนื่องจากเป็น open source จึงสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ https://www.zotero.org/download โดยให้เลือกเวอร์ชั่นให้ตรงกับ OS ที่ใช้งานอยู่ ว่าเป็น Windows / macOS / Linux

Read the rest of this entry »

View (4384)

การจัดการบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม Mendeley
มิ.ย. 27th, 2019 by Natchaya

Mendeley เป็นโปรแกรม Freeware ที่ผลิตขึ้นโดย Elsevier เป็นเครื่องมือจัดการบรรณานุกรมที่สามารถจัดเก็บและจัดการรายการบรรณานุกรม ทำรายการอ้างอิงในเนื้อหาและทำรายการบรรณานุกรมในรูปแบบที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย

ข้อดีของ Mendeley

  1. ใช้งานได้ทั้งบน Desktop และผ่าน Web
  2. รองรับการทำงานบน Windows, Mac และ Linux
  3. ใช้งานบน Smartphone ได้ ทั้งระบบ IOS และ Android
  4. ให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลฟรี ได้ถึง 2 GB
  5. รองรับไฟล์เอกสารมากถึง 20 รูปแบบ
  6. รูปแบบอ้างอิงในระบบพร้อมติดตั้ง 16 รูปแบบ และสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้มากกว่า 8,000 รูปแบบ
  7. Import ข้อมูลได้หลายรูปแบบ จากฐานข้อมูลที่สำคัญทั้งหมด
  8. Export ข้อมูลเป็นไฟล์ BibTeX, RIS, EndNote, XML
  9. ใช้งานได้ฟรี

Read the rest of this entry »

View (1189)

เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism)
ม.ค. 3rd, 2019 by supaporn

รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา ได้บรรยาย เรื่อง เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism) โดยคณะนิติศาสตร์ และ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรมนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับคณาจารย์ นักวิจัย และผู้มาประชุมเครือข่ายประกันคุณภาพ 6 สถาบัน ที่มาร่วมประชุมวันที่ 24 ธันวาคม 2561 ณ ห้องสื่อประสม (ห้องบรรยายพิเศษ 2) อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism)

โดยสรุปจากการฟังและจากเอกสารประกอบการบรรยาย ได้ดังนี้

วิทยากรแบ่งการบรรยายออกเป็น 3 ภาค คือ

ภาค 1 เรียนรู้จากข่าว โดยนำกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เป็นข่าวเกิดขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างสะท้อนให้เห็นความหมายของการลักลอกผลงาน ให้ชัดเจนขึ้น และให้เป็นข้อสังเกตว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของใครก็ตาม ต้องพิจารณาว่า ผลงานนั้นๆ มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ตัวอย่างที่ยกมานั้น มีทั้งกรณีที่เป็นนักศึกษา อาจารย์ และประชาชนทั่วไป ที่มีการคัดลอกผลงานทางวิชาการของคนอื่นมาเขียน ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา และมีการตรวจสอบได้ รวมทั้งวิธีการพิจารณาของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง เช่น มีทั้งการเพิกถอนปริญญา หรือบางกรณีเจ้าของผลงานไม่ติดใจ แต่ให้มหาวิทยาลัยดำเนินการตามมาตรการของมหาวิทยาลัยเอง ความเคลื่อนไหว และบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในการให้นิสิต นักศึกษา พ้นสภาพความเป็นนักศึกษาทันที หาพบว่ามีการจ้าง หรือคัดลอกวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในการพยายามหาเครื่องมือมาตรวจสอบการลอกเลียนทางวรรณกรรม Read the rest of this entry »

View (532)

รายการอ้างอิงง่ายๆ ด้วยระบบ WMS
มิ.ย. 7th, 2018 by somsri

ในการทำรายงาน การเขียนรายงาน การทำวิทยานิพนธ์ การทำวิจัย หรือการเขียนทางวิชาการ ซึ่งจำเป็นต้องมีการอ้างอิงทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ  ผู้ใช้บริการมีตัวช่วยที่ทำให้การเขียนรายการอ้างอิง ได้ง่ายขึ้น โดยการสืบค้นจากระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นที่ช่วยในการเขียนรายการอ้างอิงที่สะดวก และทำให้ผู้ใช้บริการจัดทำรายการอ้างอิงได้อย่างง่ายๆ โดย Read the rest of this entry »

View (160)

การใช้ Mendeley ช่วยทำงานวิจัย
มี.ค. 23rd, 2018 by pailin

Mendeley (www.mendeley.com) เป็นเครื่องมือออนไลน์จาก ELSEVIER ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนนักวิจัยในการทำวิจัย ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการต่างๆ ของการทำวิจัย โดยเปิดให้ทุกท่านใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้

1. การสมัครสมาชิก 2. การใช้งานเครื่องมือช่วยทำวิจัย 3. การสืบค้นเอกสาร

Read the rest of this entry »

View (143)

เครื่องมือช่วยค้นหาวารสารที่เหมาะสมในการเผยแพร่บทความและงานวิจัย
มิ.ย. 25th, 2017 by pailin

หนึ่งในกระบวนการสร้างสรรค์งานวิจัยนั้น ต้องมีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่บทความงานวิจัยออกสู่สาธารณชน ผ่านวารสารทางวิชาการที่มีอยู่มากมาย ดังนั้น ในการพิจารณาเลือกวารสารที่จะใช้เผยแพร่บทความของนักวิจัยนั้น จึงมีความสำคัญมาก เพราะ มีส่วนช่วยให้บทความนั้นถูกค้นพบ นำไปใช้ และอ้างถึง  ช่วยส่งเสริมในการประเมินคุณค่างานวิจัยชิ้นนั้น และเพิ่มอันดับให้นักวิจัยได้ด้วยเช่นกัน

ด้วยความจำเป็นดังกล่าว ทางสำนักพิมพ์ Elsevier จึงได้พัฒนาเครื่องมือ Elsevier Journal Finder ไว้อำนวยความสะดวกให้กับนักวิจัย ในการค้นหาวารสาร เปรียบเทียบข้อมูล พร้อมทั้งประเมินความเหมาะสมในการเผยแพร่บทความ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาอัจฉริยะและคำศัพท์เฉพาะเจาะจงในการวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสม เพื่อหาวารสารในเครือ Elsevier ที่ตรงกับลักษณะบทความของคุณมากที่สุด มีขั้นตอนการใช้งาน ดังนี้

  1.  เข้าไปที่เพจ Elsevier Journal Finder  (http://journalfinder.elsevier.com)
  2.  แปะบทคัดย่อลงในช่อง Paper abstract
  3.  เลือกหมวดหมู่เนื้อหาที่ต้องการจะเผยแพร่บทความ โดยเลือกได้ไม่เกิน 3 หมวด
  4.  พิจารณาเลือกวารสารที่เหมาะสม จากการเปรียบเทียบข้อมูลสำคัญ โอกาสที่จะได้รับการตอบรับ และประเมินความเหมาะสม
  5.  ศึกษา ข้อมูล ข้อกำหนด ค่าใช้จ่าย ระยะเวลา สิ่งที่จำเป็น ในการส่งบทความให้บรรณาธิการของวารสารฉบับนั้นพิจารณา
  6.  ในเครือ Elsevier นักวิจัยสามารถส่งบทความออนไลน์ ได้ที่เมนู Submit Your Paper ในหน้าเพจของวารสาร

โดยมีรายละเอียดการใช้งาน ดังรูป Read the rest of this entry »

View (154)

การใช้ประโยชน์จาก IEEE Xplore และการตีพิมพ์บทความกับ IEEE
มิ.ย. 13th, 2017 by pailin

Introduction to IEEE & IEEE Xplore

IEEE เป็นองค์กรที่มีบทบาทในวงการค้นคว้าและงานวิจัยมายาวนาน โดยดำเนินกิจการใน 4 กิจกรรมหลัก ดังนี้

  • Membership organization
  • Conferences organizer
  • Standards developer
  • Publisher of journals, conferences, standards, e-books and e-learning

Read the rest of this entry »

View (4278)

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย
เม.ย. 16th, 2017 by supaporn

จากการบรรยายของ ศาสตราจารย์ ดร. อังศุมาลย์ จันทราปัตย์ หัวหน้าคณะผู้จัดทำจรรยาวิชาชีพและแนวทางปฏิบัติให้กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560 ณ ห้องบรรยาย 3 อาคารอำนวยการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอสรุปส่วนหนึ่งของการบรรยาย ที่เกี่ยวกับการจัดทำผลงาน การเผยแพร่ผลงานวิจัย ขอนำมาสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้อยู่ในกรอบของการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย จากเอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการ ของสำนักพัฒนาวิชาการ ดังนี้

การเผยแพร่ผลงานวิจัย

  • หากไม่จำเป็นไม่ควรเสนอผลงานที่ยังไม่สมบูรณ์ (Premature) หรือยังไม่ได้รับการประเมินออกสู่สังคม
  • ต้องให้เกียรติและอ้างถึงนักวิชาการ/แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้
  • ระบุและลำดับชื่อผู้นิพนธ์อย่างถูกต้องเป็นธรรม
  • ขอบคุณบุคคล คณะบุคคล และองค์กรที่สนับสนุนงานวิจัยในกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)
  • นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรม
  • แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการนำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณะ
  • ไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่องเดียวกันซ้ำซ้อนหรือมากกว่า 1 แห่ง (Dual or duplicate publication)
  • ตีพิมพ์ผลงานมากกว่าหนึ่งภาษาได้ หากวารสารที่จะตีพิมพ์มีนโยบายรองรับ แต่ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบล่วงหน้าด้วย
  • ส่งเรื่องเต็มของบทคัดย่อ (Abstract) ที่ตีพิมพ์ใน Proceedings ไปให้วารสารวิชาการพิจารณาได้ แต่ควรให้บรรณาธิการวารสารนั้นทราบและยินยอมก่อน
  • ไม่แบ่งย่อยผลงานวิจัยเป็นหลายเรื่องเกินความเหมาะสม เพื่อเพิ่มจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ (Salami publication or Balogna) เพราะอาจลดคุณค่าของงานได้ (แต่อาจจกระทำได้ หากบทความเหล่านั้น มีเนื้อหาเหมือนกันไม่เกินร้อยละสิบ และต้องไม่ใช้ตารางหรือภาพประกอบเดียวกัน และให้บรรณาธิการวารสารที่ส่งเรื่องไปตีพิมพ์ทราบและยินยอมด้วย)
  • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยแก่ผู้สนใจและร้องขอ ควรเป็นไปตามเงื่อนไขหรือได้รับความเห็นชอบตากต้นสังกัดว่าด้วยจริยธรรมที่ครอบคลุมข้อมูล วัสดุและทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

Read the rest of this entry »

View (286)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa