SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านใน อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ กชพร ขวัญทอง. (2561). การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านใน อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (A Study of Folklore: A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bang Sao Thong District, Samutprakan Province). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

รายงานการวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของการตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านริมคลองในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของคลองที่เปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นศึกษาจากการลงภาคสนามและเอกสารเป็นสำคัญ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุในท้องถิ่น นักวิชาการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พระภิกษุ รวมทั้งศึกษาจากเอกสารราชการ งานเขียนกึ่งวิชาการ บันทึกท้องถิ่น หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ แผนที่คลองในอดีตและปัจจุบัน และลงภาคสนามสังเกตลักษณะทางกายภาพของคลองและสถานที่ ๆ เกี่ยวข้อง โดยมีการตรวสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบสามเส้า(Triangulation)
ผลจากการวิจัยพบว่า การตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อส่วนใหญ่คนในท้องถิ่นตั้งกันเองตามชื่อบุคคลที่อยู่ในคลองหรือลักษณะโดดเด่นของคลอง เช่น ชื่อพืชพันธุ์ไม้ ขนาดหรือทิศทางของคลอง ภูมิประเทศ สัตว์ สิ่งก่อสร้าง กริยาการกระทำ เครื่องใช้ไม้สอย และความเชื่อหรือตำนาน ตามลำดับ เพื่อจดจำได้ง่ายและสะดวกในการสื่อสารให้เข้าใจได้ตรงกัน

บทบาทและความสำคัญของคลองจากอดีตสู่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลัง คลองในอดีตที่เคยมีความสำคัญเป็นต้นกำเนิดของชุมชน แหล่งเศรษฐกิจทำกินและเส้นทางคมนาคมหลัก เปลี่ยนไปเมื่อถนนตัดผ่าน ก็ก่อเกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ เกิดพื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรมและหมู่บ้านแห่งใหม่ของคนต่างถิ่นอยู่ตามแนวถนนและมีรูปแบบสังคมเมือง ส่วนหมู่บ้านที่อยู่ติดคลองเปลี่ยนเป็นรูปแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท
Read the rest of this entry »

View (54)

ความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

บังอร ฉางทรัพย์ สุภาภรณ์ วรรณภิญโญชีพ ศิริวรรณ ตันตระวาณิชย์ เกษม พลายแก้ว ภาสินี สงวนสิทธิ์ และ ระพีพันธุ์ ศิริเดช (2561). ความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย (Prevalence of Enterobius vermicularis among preschool and lower primary school children in Bangbor district, Samutprakarn province, Thailand). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในเขตอำเภอบางบ่อ  จังหวัดสมุทรปราการ  และ 2) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  วิธีการศึกษาโดยการตรวจหาไข่พยาธิเข็มหมุดด้วยวิธีสกอตเทป ในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษา  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 9 แห่ง และโรงเรียนประถมศึกษา 20  แห่งในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนธันวาคม 2559  เด็กที่รับการตรวจจำนวน  2,013  คน เป็นเพศชาย จำนวน  1,013 คน เพศหญิง จำนวน 1,000  คน ผลการสำรวจพบความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็ก ร้อยละ 5.17 (104/2,013)   พบเด็กขายมีความชุกพยาธิเข็มหมุด ร้อยละ 5.23  (53/1,013) เพศหญิง ร้อยละ 5.10 (51/1,000)  เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กกับปัจจัยที่ศึกษา  ประกอบด้วย 1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับเด็ก ได้แก่  เพศ  อาการแสดงของโรค  และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด  2)  ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ปกครองเด็ก ได้แก่  เพศ อายุ รายได้ ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย ระดับการศึกษา อาชีพ  พื้นเพดั้งเดิม  และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคพยาธิลำไส้  และ 3) พื้นที่ศึกษา พบว่าเกือบทุกปัจจัยไม่มีความสัมพันธ์กับความชุกของยาธิเข็มหมุดในเด็ก  (p>0.05) ยกเว้น  ปัจจัยด้านการกัดเล็บเล่นของเด็ก  ความเพียงพอค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองเด็ก และระดับการศึกษาของผู้ปกครองเด็ก ที่มีความสัมพันธ์กับความชุกพยาธิเข็มหมุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กวัยประถมศึกษายังคงมีการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดค่อนข้างสูง ดังนั้นควรมีการอบรมครูและผู้ปกครองเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีเพื่อลดการแพร่ระบาดของพยาธิเข็มหมุดในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป

Read the rest of this entry »

View (56)

การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2561).  การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสน. (A Study of Acronym in 108 Core Scripture as a Supplementary Buddhist Material). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108      (2) เพื่อศึกษาแหล่งที่มา สาระสำคัญ และการนำอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ไปใช้ในมิติต่าง ๆ (3) เพื่อศึกษาการใช้อักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และนำเสนอเป็นรายงานการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analysis Description)

ผลการวิจัยพบว่า การย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่ใช้วิธีการย่ออักษรตามคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะที่เป็นทฤษฎีการย่ออักษร 4 รูปแบบ คือ การย่ออักษรตัวแรกของศัพท์ การย่ออักษรตัวสุดท้ายของศัพท์ การย่ออักษรที่ใช้วิธีทั้งสองข้างต้นร่วมกัน การย่ออักษรแล้วประมวลอักษรมาไว้ตรงกลางโดยวางอักษรสลับกันไปมา หัวใจนอกจากนี้ใช้คำย่อ คำศัพท์ อักษรในภาษาบาลี อักษรไทย และคำไทยมาผสมกัน สำหรับแหล่งที่มาของอักษรย่อส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ รวมถึงบทสวดมนต์จากหนังสือสวดมนต์ แต่มีหัวใจบางส่วนที่มีแหล่งที่มาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไสยศาสตร์ วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์และขุนช้างขุนแผนที่โบราณาจารย์นำมาใช้สื่อเรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้า พระธรรม พุทธสาวกบางรูป คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา พิธีกรรม และเรื่องเล่าในพระพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของโบราณาจารย์ที่นำเรื่องเหล่านี้มาใช้สื่อผ่านหัวใจต่าง ๆ ดังนั้น หัวใจและอักษรย่อของหัวใจจึงเป็นสื่อการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาโดยย่อ ส่วนการนำไปใช้นั้นพบในรูปแบบสำคัญคือ การใช้ที่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจที่สัมพันธ์กับหลักการในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ใช้สำหรับท่องจำหลักที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ใช้เป็นอุบายฝึกจิตให้เป็นสมาธิโดยใช้อักษรในหัวใจเป็นเครื่องภาวนา และใช้เป็นอุบายเตือนสติผู้นำไปใช้ให้ละความชั่ว ทำความดีด้วยการรักษาศีล เสียสละ และพัฒนาจิตให้ผ่องใส ส่วนการนำไปใช้ที่ไม่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจนั้นพบว่า ส่วนใหญ่นำไปใช้ตามความเชื่อในไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดอานุภาพด้านทีดี เช่น ปลอดภัยจากอันตราย เมตตามหานิยม เป็นต้น และบางส่วนถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ทำให้คนหลงรัก ทำให้คนเกลียดชังกัน และนำไปใช้เสกของกินร่วมกับสุราที่เป็นการส่งเสริมให้คนผิดศีลข้อที่ 5 แต่ถ้ากล่าวสรุปตามสาระสำคัญของหัวใจแล้ว อักษรย่อในคัมภีร์ในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่เป็นสื่อการเรียนรู้พระพุทธ ศาสนาที่มุ่งให้คนเข้าใจและนำไปใช้พัฒนาชีวิตตั้งแต่หลักการพื้นฐาน เช่น ศีล 5 จนถึงหลักธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตสู่ความหลุดพ้นทุกข์ เช่น อริยสัจสี่ เป็นต้น

ผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาเรื่องนี้โดยสรุป คือ การไขความลี้ลับของหัวใจ 108 ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอานุภาพต่าง ๆ  แต่ผลการศึกษาเรื่องนี้สามารถยืนยันได้ว่า หัวใจต่าง ๆ ในคัมภีร์หัวใจ 108 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่อันเป็นกุศโลบายในการสอนพระพุทธศาสนาของ   โบราณาจารย์ไทย แต่เรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนาถูกกลบไปด้วยอิทธิพลของความเชื่อไสยศาสตร์ ประกอบกับการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้มักจะไม่มีการบอกความหมายและแหล่งที่มาของอักษรย่อจึงทำให้หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนาเลือนหายไปกลายเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาแทนที่อย่างน่าเสียดาย

Read the rest of this entry »

View (205)

แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผูปวยผาตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ: จากการสังเคราะหงานวิจัยสูการนำไปปฏิบัติ
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผูปวยผาตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ : จากการสังเคราะหงานวิจัยสูการนำไปปฏิบัติ

The Clinical Nursing Practice Guideline for Patients with Coronary Artery Bypass Grafting : Research Synthesis for Application

 

วนิดา ดุรงคฤทธิชัย ณัฐณภัทร วัฒนเดชาสกุล รัชนี ผิวผอง และสุวรรณี มงคลรุงเรือง. (2559). แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผูปวยผาตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ : จากการสังเคราะหงานวิจัยสูการนำไปปฏิบัติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20(39), 143-156.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

View (39)

ผลของการใชโอโซนรวมกับความรอนในการกำจัดเชื้อ Salmonella Typhimurium, Escherichia coli และ Saccharomyces cerevisiae ในน้ำตาลสด น้ำลำไย และน้ำมะพราว
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

ผลของการใชโอโซนรวมกับความรอนในการกำจัดเชื้อ Salmonella Typhimurium, Escherichia coli และ Saccharomyces cerevisiae ในน้ำตาลสด น้ำลำไย และน้ำมะพราว

Combination Effect of Ozone and Heat Treatments for the Inactivation of Salmonella Typhimurium, Escherichia coli and Saccharomyces cerevisiae in Coconut Syrup,
Dried Longan Drink and Coconut Juice

 

วรพรรณี เผาทองศุข และจำรูญศรี พุมเทียน . (2559). ผลของการใชโอโซนรวมกับความรอนในการกำจัดเชื้อ Salmonella Typhimurium, Escherichia coli และ Saccharomyces cerevisiae ในน้ำตาลสด น้ำลำไย และน้ำมะพราว. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 119-131.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

View (33)

การสำรวจปญหาและพฤติกรรมการใชยาผลิตภัณฑเสริมอาหารและสมุนไพรของผูสูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเขนอย จังหวัดสมุทรปราการ
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

การสำรวจปญหาและพฤติกรรมการใชยาผลิตภัณฑเสริมอาหารและสมุนไพรของผูสูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเขนอย จังหวัดสมุทรปราการ

The Survey of Medicine, Food Supplement and Herbal Products Used Problems Among Elderly A Case Study at the Community of Tumbon Srisa Chorakhe Noi, Samut Prakan Province

ปิยะวัน วงษบุญหนัก ปวีณา วองตระกูล หรรษา มหามงคล และวรัญญา เนียมขำ . (2559). การสำรวจปญหาและพฤติกรรมการใชยาผลิตภัณฑเสริมอาหารและสมุนไพรของผูสูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเขนอย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 97-108.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

View (46)

ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความฉลาดทางอารมณของนักศึกษาในหลักสูตรสายวิทยาศาสตรสุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความฉลาดทางอารมณของนักศึกษาในหลักสูตรสายวิทยาศาสตรสุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Factors Affecting Emotional Quotient of Students in Health Science Curriculums at Huachiew Chalermprakiet University

 

นิลาวรรณ งามขำ ปทุมมาศ กั้นหยั่นทอง อติญญา สุสิวงศ กนกวรรณ จิตระบูรณ พิมพณัฐชยา นุชสิริ นิตยา ชัยชนะ พรอารดา อยูรักษ อาภรณ บุญฉิม และศุภักษณา สรรพลุน. (2559).
ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความฉลาดทางอารมณของนักศึกษาในหลักสูตรสายวิทยาศาสตรสุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20(39), 45-56.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

View (26)

ความสัมพันธระหวางระดับไกลเคตฮีโมโกลบินและภาวะไมโครอัลบูมินในปสสาวะของผูปวยโรคเบาหวาน
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

ความสัมพันธระหวางระดับไกลเคตฮีโมโกลบินและภาวะไมโครอัลบูมินในปสสาวะของผูปวยโรคเบาหวาน

The Relationship Between Glycated Hemoglobin (HbA1C) and Microalbuminuria in Diabetes Patients

 

นนทยา ทางเรือ เทศทัศน คำบุดดี และอรุณ สารพงษ์. (2559). ความสัมพันธระหวางระดับไกลเคตฮีโมโกลบินและภาวะไมโครอัลบูมินในปสสาวะของผูปวยโรคเบาหวาน. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 31-43.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

View (36)

พฤติกรรมปองกันภาวะแทรกซอนของผูปวยโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลแหงหนึ่ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

พฤติกรรมปองกันภาวะแทรกซอนของผูปวยโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลแหงหนึ่ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Behavior in Prevention of Complications of Diabetic Patients in a Health Promoting Hospital, Bang Phli District, Samutprakan Province

 

ตวงพร กตัญุตานนท จินตนา เทพพันธ สุพรรณี ฉ่ำเย็นอุรา เบญจมาภรณ จันทหงษ สุภาพร บุญอินทร เพ็ญพิสุทธิ์ แหนมเชย รัชฎาพร ทองประดับ และอรณิชา วังคีรี. (2559). พฤติกรรมปองกันภาวะแทรกซอนของผูปวยโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลแหงหนึ่ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 15-29.

อ่านบทความฉบับจริง

 

View (36)

ผลผลิตกรดแลคติกจากกระบวนการหมักเศษผลไม
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

ผลผลิตกรดแลคติกจากกระบวนการหมักเศษผลไม

Lactic Acid Production from Fruit Waste Fermentation

 

ศศิธร นนทา สมพงศ โอทอง และนุชนาถ แชมชอย. (2559). ผลผลิตกรดแลคติกจากกระบวนการหมักเศษผลไม. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 1-14.

อ่านบทความฉบับเต็ม

View (34)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa