SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21
มกราคม 13th, 2020 by supaporn

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 อาศรมสยาม-จีนวิทยา จัดบรรยายหัวข้อ การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 โดย ดร. พิมพร วัฒนากมลกุล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ณ ห้อง 4-0806 ชั้น 8 อาคาร CP All Academy สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยมีหัวข้อในการบรรยาย 4 หัวข้อ ได้แก่

  1. แหล่งสืบค้นข้อมูล และการใช้ Application ยอดฮิตในจีน
  2. แหล่งการสืบค้นทางงานวิจัยและวิชาการของจีน
  3. แหล่งข้อมูลสำหรับสื่อการเรียนการสอนภาษาจีน
  4. สรุปประโยชน์การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาจีน

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การเรียนรู้และนวัตกรรม ผ่านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อชีวิตและการทำงาน ดังนั้นในการสืบค้นสารสนเทศ จะต้องทราบว่า ต้องการค้นหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหา และต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูล หรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา

การสืบค้นสารสนเทศ

เราจึงควรต้องเรียนรู้แหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ และวิธีการค้นหาแหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ ให้เหมาะสมกับเรื่องที่้ต้องการค้นหา วิทยากรได้แนะนำ

1. เสิร์ชเอ็นจิ้น (Search engine) ในการค้นหาสารสนเทศ ที่นิยมใช้ในการค้นหาสารสนเทศภาษาจีน คือ Baidu

2. แอพพลิเคชั่น (Application) ของจีนในด้านต่าง ๆ เช่น การสื่อสาร ร้านค้า e-Commerce (สั่งอาหาร ซื้อหนังสือ หรือสินค้าออนไลน์อื่นๆ) ด้านบันเทิง ละคร ภาพยนตร์ การเดินทางเรียกรถ การเช่ารถจักรยาน เป็นต้น

3. เว็บไซต์ (Website) การสืบค้นงานวิจัยและงานวิชาการ เช่น

  • CNKI (http://new.oversea.cnki.net/index/) แหล่งสืบค้นฐานข้อมูลที่รวบรวมวารสาร งานวิจัย และงานประชุมวิชาการนานาชาติ เกี่ยวกับข้อมูลด้านการศึกษาของจีน มีทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี ค.ศ.1996 ถึงปัจจุบัน เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุมสารสนเทศมากที่สุดแห่งหนึ่งของฐานข้อมูลในประเทศจีน มีผู้ใช้เป็นหน่วยงานและองค์กรต่างประเทศกว่า 1,300 แห่ง ใน 43 ประเทศและเขตพื้นที่ และผู้ใช้ในประเทศจีนกว่า 20,000 แห่ง
  • China Academic Journal Full-Text Database (CJFD) เป็นฐานข้อมูลภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดและทันสมัย เน้นทางด้านวิชาการ เทคโนโลยี นโยบาย วิทยาศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ปรัชญา เกษตรศาสตร์ แพทยศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น (http://oversea.cnki.net/kns55/brief/result.aspx?dbPrefix=CJFD)
  • China Doctoral Dissertations Full-Text Database (CDFD) เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกมากที่สุด ครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ แพทยศาสตร์ ปรัชญา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นต้น ต้้งแต่ปี 1984 – ปัจจุบัน รวบรวมถึง 406,804 รายการ  (http://oversea.cnki.net/kns55/brief/result.aspx?dbPrefix=CDFD)
  • China Masters’ Theses Full-Text Database (CMFD) เป็นฐานข้อมูลรวบรวมวิทยานิพนธ์ปริญญาโทมากที่สุด ครอบคลุมสาขา วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ แพทยศาสตร์ ปรัชญา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นต้น รวบรวมตั้งแต่ปี 1984-จนถึงปัจจุบัน จำนวน 3,990,351 รายการ (http://eng.oversea.cnki.net/kns55/brief/result.aspx?dbPrefix=CMFD)
  • Chinese Reference Work Online รวบรวมหนังสืออ้างอิง พจนานุกรม สารานุกรม กว่า 10,873 รายการ (http://gongjushu20.oversea.cnki.net/oversea/)
  • Wanfang Data (http://www.wanfangdata.com.cn/index.html) ประกอบด้วย บทความ วิทยานิพนธ์ การประชุมทางวิชาการ รายงานต่าง ๆ คลิปวิดีโอ ฯลฯ ครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ปรัชญา กฎหมาย สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เป็นต้น มีทั้งภาษาจีนและภาษาต่างประเทศมากกว่า 131,930,799 รายการ วิทยานิพนธ์ 6,260,623 รายการ การประชุมทางวิชาการ 13,903,876 รายการ
  • CQVIP เริ่มให้บริการเมื่อปี ค.ศ. 2000 ให้บริการทั่วโลกเกี่ยวกับภาษาจีน มีความร่วมมือกับ Google Scholar และ Baiduwenku baike เป็น Plaform ที่ให้บริการแหล่งสืบค้นข้อมูล ถ้าใช้บริการผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยที่บอกรับเป็นสมาชิก สามารถดาวน์โหลดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากเป็นบุคคลภายนอกดูออนไลน์ได้แค่หน้าแรก จากนั้นต้องเสียเงินดาวน์โหลด สามารถ login จ่ายเงินผ่านวีแชทและ Alipay การลงทะเบียนที่ไทยค่อนข้างลำบาก เนื่องจากต้องผูกบัญชีกับเบอร์โทรศัพท์ที่ประเทศจีนเท่านั้น (http://www.cqvip.com/)
  • Baiduxueshu (http://xueshu.baidu.com/) สามารถค้นหาคำสำคัญ แยกตามปี สาขาวิชา ประเภทวารสาร บทความ วิทยานิพนธ์ การประชุมวิชาการ รวมทั้งแสดงรูปแบบการดาวน์โหลด มีฐานข้อมูลทั้งภาษาจีน และภาษาอังกฤษ สามารถสมัครลงทะเบีนนผ่าน Baidu ได้ ดาวน์โหลดฟรีได้วันละ 1 ครั้งเท่านั้น
  • Docin (https://www.docin.com/) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2008 เป็นแหล่งข้อมูลเอกสารหลายประเภทที่เป็นภาษาจีนกว่า 500 ล้านฉบับ สามารถดูออนไลน์ได้ หากต้องการดาวน์โหลดสามารถจ่ายเงินผ่านวีแชท หรือ Alipay ได้ สามารถอ่านผ่าน PC โทรศัพท์มือถือ ไอแพดหรือแทบเล็ต
  • Doc88 (https://www.doc88.com/) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2008 เป็น Platform ที่แชร์เอกสารที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน เป็นแหล่งข้อมูลเอกสารหลายประเภทที่เป็นภาษาจีนมากกว่า 1000 ล้านรายการ ประกอบด้วยข้อมูลวิจัย เอกสารประกอบการสอน วิทยานิพนธ์ หนังสือ ข้อสอบ รูปแบบเอกสารต่างๆ เป็นต้น มากกว่า 10 สาขาวิชา สามารถดูออนไลน์ แต่ถ้าต้องการดาวน์โหลด สามารถ login จ่ายเงินผ่านวีแชทและ Alipay  สามารถอ่านผ่าน PC โทรศัพท์มือถือ ไอแพดหรือแทบเล็ต
  • iData (https://www.cn-ki.net/) สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมแลกเปลี่ยน และเผยแพร่งานวิจัยใหม่ ๆ เป็นความร่วมมือของนักวิชาการของ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยซิงหัว มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง และ มหาวิทยาลัยฟู้ตั้น ผู้เขียนสามารถอัพโหลดเอกสารเผยแพร่งานได้อย่างอิสระ มีบริการให้ดาวน์โหลดฟรีไม่จำกัด ดาวน์โหลดฟรี 2 บทความ/วัน

4. เว็บไซต์การตรวจสอบการซ้ำซ้อนทางวิชาการ ได้แก่ http://www.paperpass.com

5. เว็บไซต์แหล่งข้อมูลทางภาษา (Corpus) เช่น http://ccl.pku.edu.cn:8080/ccl_corpus/index.jsp?dir=xiandai (Center for Chinese Linguistics PKU) และ BBC (http://bbc.blcu.edu.cn/)

6. เว็บไซต์สร้างแบบสอบถามออนไลน์ เช่น https://www.wjx.cn

7. เว็บไซต์แหล่งของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนภาษาจีน เช่น

รวมทั้ง app เรียนภาษาจีนอีกมากมาย

วิทยากรสรุปว่า ความรู้อยู่ในเครื่องมือ (Device) เดียว จึงต้องใช้ให้ถูก ใช้ให้เป็น ใช้ให้เหมาะสม และ ใช้ให้ปัง

ความรู้อยู่ในเครื่องเดียว

ติดตามเอกสารประกอบการบรรยายได้ที่ https://bit.ly/2Tl5AQS

รายการอ้างอิง

พิมพร วัฒนากมลกุล. (2563). การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการบรรยาย วันที่ 10 มกราคม 2563 สถาบันปัญญาภิวัฒน์.

View (370)


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa