SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
พอ : หลักธรรมแห่งความพอเพียง
มกราคม 10th, 2016 by supaporn

พอ : หลักธรรมแห่งความพอเพียง

พอ : หลักธรรมแห่งความพอเพียง

พอ : หลักธรรมแห่งความพอเพียง ธรรมนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก จัดพิมพ์โดย ชมรมศิษย์กรรมฐานพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ถวายพระราชกุศลเนื่องในมหามงคลสมัย 88 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2558 และ ถวายสักการะฉลองพระชันษาชาตกาล 102 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นธรรมคำสอนในชีวิตประจำวันให้รู้จักความพอเพียง ความสันโดษ ประกอบด้วยหลักธรรมคำสอนที่น่าศึกษาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่

  • จุดมุ่งหมายของชีวิต (องค์ประกอบของความดีในชีวิต 4 ; วิชาที่ต้องเรียนรู้เพื่อรักษาตัวให้รอด)
  • ชีวิตจะเป็นสุขได้อย่างไร (ความสุขอยู่ที่ไหน ; เงื่อนไขของความสุข)
  • ประโยชน์ปัจจุบัน (ประโยชน์ที่จำต้องมี ; ทางแห่งการประกอบประโยชน์)
  • สิ่งที่มีค่ากว่าเงินทอง (วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องต่อความปรารถนา ; ยิ่งสงบยิ่งเป็นสุข)
  • สันโดษ ความพอใจ ยินดี มีคุณูปการใหญ่หลวง (ประเภทของสันโดษ ; ลำดับในการปฏิบัติสันโดษ ; คุณของสันโดษ)
  • ให้อสุภะ ช่วยให้มีสันโดษ พอใจแต่คู่ชีวิตของตน (วิธีแก้ความหลง ; บริหารจิตด้วยการเจริญอสุภะ)
  • เป็นมนุษย์ที่ดีอย่างพอเพียงต้องมีปริญญาครบถ้วนสามอย่าง (ปัญญาที่แท้จริงต้องเป็นปัญหาที่รู้ทั่วถึงสัจจะ ; ปัญญาในอริยสัจเป็นปัญญาสูงสุด ; ปริยัติปัญญา)
  • พอใจในความเป็นไทย (ทางแห่งความสุขประเสริฐทุกประการ ; จุดสูงสุดที่ทุกชีวิตล้วนปรารถนา)
  • รู้จักรู้จักพอใจในตนเอง ไม่เพ่งเล็งเปรียบเทียบกับใคร (ผู้วางเฉยเป็นผู้พอใจในภาวะและฐานะของตน ; พึงตัดความสำคัญตนให้สิ้น จะพบความสุขสงบ ; ฝึกตนให้เป็นที่พึ่งที่ดีของตน)
  • ไม่โลภเกินไป ให้รู้จักคน เป็นคนมีปัญญา (ศัตรูของการมีชีวิตที่พอเพียง ; โลภเกินขอบเขตเป็นเหตุให้ทุกข์หนัก ; พึงอบรมรักษาใจเพื่อความสุขสวัสดีของชีวิต)
  • ฝึกความคิด “รู้จักพอ” (ความสำคัญของความคิด ; ความโลภเป็นตัวทำลายไม่ใช่สร้างสรรค์)
  • ทำดีเริ่มที่ตนเองก่อน (ทำความดีอย่างวางเฉย ไม่หวังผล ; ทำความดีโดยไม่มีตัวเรา ไม่มีของเรา)
  • คำสั่งสอน “ไม่เพียงพอ” และคำสั่งสอน “เพียงพอ” (บุพพศาสนา อาริยศาสนา รัฐศาสนา)
  • ความดี เราทำเรื่อยไป อย่าได้รู้จักพอ (บัณฑิตย่อมฝึกตน ; ผู้ประพฤติดีย่อมฝึกตน ; ปรารถนาเป็นคนเช่นไร พึงประพฤติเช่นนั้น)ทั้งนี้ สามารถติดตามอ่านได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มฉก. BQ4570.E25 ส243พ 2558  ค่ะ

รายการอ้างอิง

สมเด็จพระญาณสังวร. (2558). พอ : หลักธรรมแห่งความพอเพียง. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

View (80)


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa