SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Collection งานวิจัย มฉก.
กันยายน 24th, 2021 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการจัดเก็บงานวิจัยไว้เป็น Collection โดยเฉพาะ ซึ่งรวมงานวิจัยของหน่วยงานทั่วไป และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากมีการปะปนงานวิจัยของหน่วยงานทั่วไป จัดเก็บที่ชั้นหนังสือทั่วไป จึงได้มีการพิจารณาทบทวนการจัดเก็บงานวิจัยใหม่ โดยรวมถึงการลงรายการทางบรรณานุกรมสำหรับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ เนื่องจากไม่สามารถทราบจำนวนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ทั้งหมด รวมทั้งการลงข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ และการจัดทำงานวิจัยเป็นดิจิทัลเพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย

Pain Point: ไม่สามารถรวบรวมงานวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ตามจำนวนงานวิจัยที่มี การจัดเก็บตัวเล่มปะปนกับงานวิจัยทั่วไป

การวิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนวทางการแก้ปัญหา:

 

สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา 
1. การจัดเก็บตัวเล่มงานวิจัยปะปนกัน มีงานวิจัยของหน่วยงานทั่วไปปะปนกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ 1. สำรวจงานวิจัยของหน่วยงานอื่นที่ปะปนกัน แยกออกไว้ที่ชั้นหนังสือทั่วไป และมีการกำหนดสีเป็นสัญลักษณ์เพื่อให้แยกกันระหว่างงานวิจัยของหน่วยงานทั่วไป (มี Location เป็นชั้น 3) และงานของวิจัยของมหาวิทยาลัย (มี Location เป็น งานวิจัย ชั้น 3)  โดยไม่มีการกำหนดหมวดหมู่หรือรหัสใหม่ ยังคงกำหนดเป็นหมวดหมู่ตามเดิม เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้เวลาในการ Re-catatloging แต่ใช้แรกซีน สี เป็นตัวแยกให้เห็นความแตกต่าง เพื่อสะดวกในการเก็บตัวเล่มขึ้นชั้น
2. การไม่สามารถค้นจำนวนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ทั้งหมด 2. พิจารณาทบทวนการลงรายการทางบรรณานุกรม และกำหนดให้เพิ่ม เขตข้อมูล 610 เป็น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ตามด้วยหัวเรื่องย่อย วิจัย
3. การไม่สามารถค้นจำนวนงานวิจัยของแต่ละคณะ 3. พิจารณาทบทวนการลงรายการทางบรรณานุกรมและกำหนดให้เพิ่ม เขตข้อมูล 710 เป็น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ตามด้วยคณะวิชา
4. การไม่มีแนวทางการลงรายการทางบรรณานุกรมเป็นแนวทางเดียวกัน 4. พิจารณาทบทวนการลงรายการทางบรรณานุกรมแต่ละเขตข้อมูล และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นต้องลง จัดทำคู่มือการลงรายการทางบรรณานุกรมของงานวิจัยของมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ ได้มีการพิจารณาทบทวนการจัดทำคู่มือการลงรายการทางบรรณานุกรมงานวิจัยของมหาวิทยาลัย และสามารถใช้กับงานวิจัยของหน่วยงานอื่นๆ ดังนี้ 

เขตข้อมูล แนวทางการลงรายการ
008 ลงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในการลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือทั่วไป แต่ถ้ารายงานวิจัยนั้น ระบุว่าเป็นการรายงานวิจัยเชิงเทคนิค ข้อมูลในส่วนที่เป็น Nature of content  codes ให้ใส่ t (ซึ่งย่อมาจาก technical report)
100 ลงชื่อผู้วิจัย ที่ปรากฏเป็นคนแรก ถ้ามีผู้วิจัยมากกว่า 3 คน ให้ลงชื่อผู้วิจัยทั้งหมดในเขตข้อมูล 700
245 ลงชื่องานวิจัย ตามด้วยชื่อเรื่องอีกชื่อหนึ่ง  ลง statement of responsibility ทั้งนี้ ให้ศึกษาตามหลักเกณฑ์การลงรายการทางบรรณานุกรมที่มีการเปลี่ยนแปลงด้วย และใส่ชื่อผู้วิจัยคนอื่นๆ เพิ่มในเขตข้อมูล 700 เพื่อจะได้ค้นชื่อนักวิจัยคนอื่นๆ ได้ครบถ้วน
246 ใส่ชื่องานวิจัยที่เป็นภาษาอื่นๆ
246 ใส่ชื่องานวิจัยที่พิจารณาได้ว่าเป็นช่องทางในการสืบค้น (เพิ่มเติม)
260 ใส่ชื่อสถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ และปีพิมพ์
300 ใส่จำนวนหน้า หรือแผ่น  ภาพประกอบ ขนาด
490 ชื่อชุดกรณีที่มีเป็นส่วนหนึ่งของชุดงานวิจัย
500 ใส่ note ทั่วไป (ถ้ามี)
536 ใส่ข้อมูลเรื่องทุน เช่น ได้รับการสนับสนุนการทำวิจัยจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและปีที่ได้รับทุน กรณีที่มีหมายเลขสัญญาของทุนให้ใส่ไว้ด้วย
600 หัวเรื่องทั่วไปที่เป็นชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องในงานวิจัย
610 บังคับใส่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หัวเรื่องย่อย วิจัย ถ้าเป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ไม่ต้องใส่เขตข้อมูลในการบอกสังกัด
610 ใส่หัวเรื่องชื่อหน่วยงานที่เป็นเนื้อหาสำคัญของการวิจัย
650 ใส่หัวเรื่องทั่วไปที่แสดงถึงเนื้อหาที่ปรากฏในงานวิจัย
651 ใส่หัวเรื่องทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงเนื้อหาที่ปรากฏในงานวิจัย
700 ใส่ชื่อผู้วิจัยที่เหลือจากที่ระบุในรายการหลัก (100)
710 บังคับใส่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. ตามด้วยชื่อคณะวิชา ให้ครบตามชื่อนักวิจัยที่อยู่แต่ละคณะวิชา/หน่วยงาน
710 บังคับใส่ ชื่อหน่วยงานที่สังกัดของผู้วิจัยคนอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ใน มฉก.
830 ใส่ชื่อชุดงานวิจัย สัมพันธ์กับ 490
856 ใส่ $uตามด้วย Link ที่ใส่ไฟล์งานวิจัยเข้าระบบ ThaiLis

ตัวอย่าง
100  รุ่งฤดี รัตนวิไล
245 การใช้ประโยชน์และมูลค่าทางเศรษฐกิจของผักพื้นบ้าน ในตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา = Economic Evaluation of Benefits and Value of Indigenous Vegetables grown in Kuyaimee Sub-district of Sanam Chaikhet District of Chachoengsao Province / $c รุ่งฤดี รัตนวิไล, สถาพร ปิ่นเจริญ, ลั่นทม จอนจวบทรง
246 Economic evaluation of benefits and value of indigenous vegetables Grown in Kuyaimee Sub-District of Sanam Chaikhet District of Chachoengsao Province
260 สมุทรปราการ : $b มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, $c 2559
300 ก-ช [2], 94 แผ่น ; $c 30 ซม.
520 บทคัดย่อ (ถ้ามีไฟล์ ให้ copy มาใส่ด้วยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
536 ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2555
610 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ $x วิจัย.
650 ผักพื้นบ้าน $z ไทย $z ฉะเชิงเทรา.
650  เศรษฐกิจพอเพียง
651 คู้ยายหมี (ฉะเชิงเทรา)
700 สถาพร ปิ่นเจริญ.
700 ลั่นทม จอนจวบทรง.
710 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. $b คณะบริหารธุรกิจ.
710 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.  $bคณะบริหารธุรกิจ.
856$u http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=117&bib=710&doc_type=0&TitleIndex=1

View (142)


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa