SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การจัดการชั้นหนังสือ (Shelf Management)
ตุลาคม 17th, 2020 by supaporn

ห้องสมุดทำหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (ซึ่งก็เป็นหนังสือที่มีสัดส่วนมากกว่าสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ) จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ ระเบียบ และมีเครื่องมือสืบค้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดให้บริการ เริ่มเปลี่ยนเป็นดิจิทัลมากขึ้น ความสนใจในการอ่านตัวเล่มหนังสือเริ่มลดน้อยลง บทบาทของห้องสมุดในแง่ของการเข้าใช้ห้องสมุดเพื่อการอ่านหนังสือลดลง ห้องสมุดต้องปรับการจัดหาหนังสือเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ปรับบทบาทการให้บริการผ่านออนไลน์มากกว่าเดิม ปรับบทบาทจากการใช้พื้นที่เพื่อการนั่งอ่านหนังสือ  และในยุคการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 ห้องสมุดต้องปรับพื้นที่นั่งอ่าน ให้เป็นพื้นที่ที่รองรับการใช้งานของผู้เรียนในยุคนี้มากขึ้น  เพราะการเรียนการสอนต้องพัฒนาทักษะของนักศึกษา คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) คือ 4 ทักษะที่จำเป็น หรือ 4Csได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ (Creativity and Innovation) คิดนอกกรอบและต่อยอดเป็น มีวิจารณญาณ (Critical Thinking and Problem Solving) คิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเองได้ การสื่อสาร (Communication) สื่อสารได้ถูกต้องเหมาะสม และ การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)

การปรับพื้นที่ในห้องสมุด ในขณะที่ยังมีหนังสืออยู่เต็มชั้นหนังสือ ห้องสมุดแต่ละแห่งคงจะมีนโยบายในการจัดการตามบริบทของตนเอง เช่น บางแห่งมีพื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือแยกต่างหากจากชั้นหนังสือที่ให้บริการทั่วไป เป็นอาคารหรือสถานที่ ที่สามารถใช้เป็นคลังเก็บหนังสือ บางแห่งอาจจะไม่มีพื้นที่จัดเก็บเลย เพราะไม่มีอาคารที่นอกเหนือจากอาคารที่ให้บริการ แต่ไม่ว่าจะเข้าข่ายลักษณะใดก็ตาม การจะดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือที่ให้บริการ ห้องสมุดแต่ละแห่งต้องวางนโยบายในการดึงหนังสือออก

ปัจจัยใดบ้างที่ต้องนำมาพิจารณาในการดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือ

  1. ความจำเป็นต้องในการเก็บไว้ที่ชั้น ถ้าเก็บไว้ มีการยืม/ใช้หรือไม่ เพราะจะรวมหลาย ๆ ประเด็นอยู่ในคำว่า “จำเป็น” เช่น
    – หนังสือเก่า ที่เนื้อหาไม่ทันสมัย หรือหมดยุคแล้ว เช่น หนังสือคอมพิวเตอร์ แยกเก็บไว้ที่ห้องเก็บก็ได้ (ถ้ามีห้องเก็บหรือสถานที่เก็บ) เป็นประวัติหรือวิวัฒนาการ ยังหยิบให้บริการได้ ถ้ามีผู้ใช้แจ้งความต้องการขอใช้ และระบบห้องสมุดควรมีการระบุตำแหน่งของหนังสือว่า อยู่ที่ใด เช่น ห้องเก็บหนังสือ หรือ Stack เป็นต้น และมีข้อมูลแจ้งผู้ใช้ว่า ต้องการใช้ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่
    – หนังสือที่เป็นความรู้พื้นฐาน หรือ Basic Knowledge ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน เพราะเป็นความรู้พื้นฐานของสาขาหรือศาสตร์นั้น ๆ แม้ว่าจะเก่า แต่จำเป็นต้องเก็บ หรือแม้ว่าจะมีการพิมพ์ครั้งใหม่ ไม่ว่าจะกี่ครั้ง แต่ให้พิจารณาการพิมพ์ใหม่ ด้วยว่า ความรู้พื้นฐาน ยังคงใส่ไว้หรือไม่ เพราะบางทีเนื่องจากเหตุผลของการพิมพ์ มักจะตัดเนื้อหาที่เป็นความรู้พื้นฐานออก
  2. ไม่สอดคล้องกับหลักสูตร/มาตรฐานการเรียนการสอนในปัจจุบัน
  3. เนื้อหาเหมือนกัน ถ้าเอาออกแล้วมีเล่มอื่น ดีกว่าหรือทดแทน
  4. มีสภาพเสียหาย ชำรุด สกปรก สันขาด หน้าหาย เชื้อรา
  5. อย่าดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือ โดยดูแค่ปีที่พิมพ์
  6. ร่วมมือกับอาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาหนังสือออก
  7. มีจำนวนฉบับมากเกิน จำเป็นต้องเก็บหลายฉบับหรือไม่
  8. หนังสือที่มีการพิมพ์หลายครั้ง (Edition) จำเป็นต้องเก็บทุกครั้งของการพิมพ์ ควรพิจารณาเปรียบเทียบเนื้อหาที่เพิ่มเติมหรือตัดออกในการพิมพ์แต่ละครั้ง อาจจะต้องเก็บทุกครั้งไว้ เพราะการพิมพ์ครั้งใหม่อาจจะตัดเนื้อหาที่เป็นความรู้พื้นฐานออกไป
  9. มีฉบับอิเล็กทรอนิกส์หรือดิจิทัลทดแทน
  10. เป็นหนังสือที่มีการยืมผ่านระหว่างห้องสมุด
  11. ไม่มีการใช้ (3-5 ปี)
  12. ไม่เหมาะสมกับระดับการอ่าน
  13. นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ ความสนใจจะอยู่ภายใน 3 ปีหลังจากพิมพ์ ให้พิจารณา คุณค่าในการเก็บ หรือมีพื้นที่ในการเก็บ
  14. หนังสือที่เป็นประวัติหรือเหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น ทางสังคม การเมือง ต้องเก็บไว้ หรือนวนิยายที่จะมีการบ่งบอกถึงยุคสมัยนั้น ๆ ในเนื้อหาด้วย

ปัจจัยที่กล่าวมาเบื้องต้น เป็นแนวทางที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ใช้พิจารณาในการดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือปัจจุบัน (อาจจะมีสอดคล้องและไม่สอดคล้องกับห้องสมุดแห่งอื่น ๆ บ้าง เพราะบริบทของแต่ละแห่งอาจจะไม่เหมือนกัน) เพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หรือ Collection มีหนังสือจำนวนหนึ่งที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้พิจารณานำออกจากศูนย์บรรณสารสนเทศ โดย

  • ให้กับห้องสมุด/หน่วยงานอื่น ๆ เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดเรือนจำ และ กรมการศึกษานอกโรงเรียน หรือ กศน. เป็นต้น
  • เสนอรายชื่อหนังสือให้กับหอสมุดแห่งชาติ เพื่อพิจารณาหนังสือที่จำหน่ายออก เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนเทศ เห็นว่า หอสมุดแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่จะต้องเก็บหนังสือที่ผลิตในประเทศ และหากมีรายชื่อหนังสือใดที่จำหน่ายออก และหอสมุดแห่งชาติ ยังไม่มี ก็จะจัดเก็บไว้ใน repository เพื่อประโยชน์ในการควบคุมบรรณานุกรมของชาติ
  • คณะวิชา ขอรับหนังสือที่ช่วยพิจารณาคัดเลือก ไปใช้ประโยชน์ที่คณะต่อไป (กรณีมีหนังสือจำนวนหลายเล่ม)

View (112)


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa