ปัญหาสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกอย่างบนโลกใบนี้ ซึ่งปัญหาโดยส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ ที่เห็นได้ชัดเจน คือ ปัญหาภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทวีความรุนแรงในการเกิดพายุต่างๆ สาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนมาจากการสะสมก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ อันเกิดมาจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์
ในการดำเนินชีวิตของเราทุกคนล้วนมีส่วนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เราจึงควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือช่วยลดผลกระทบต่างๆ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมของโลกเราไว้ให้ดีหรือให้ยังคงอยู่เหมือนเดิม ด้วยการลดกิจกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือเข้าร่วมโครงการต่างๆ ที่มีช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมกิจกรรมชดเชยคาร์บอน ที่ใช้เป็นกลไกและมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อน อันเกิดมาจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจก
ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases : GHG)
ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซชนิดต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และสารประกอบจำพวกฟลูออไรด์ 3 ชนิด คือ ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrofluorocarbon: HFC) เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (Perfluorocarbon: PFC) และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (Sulfurhexafluoride: SF6) ซึ่งวัฎจักรการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมีทั้ง โดยทางตรงจากกลุ่มการเผาไหม้เชื้อเพลิง หรือโดยทางอ้อมจากการผลิตกระแสไฟฟ้าและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน จะเห็นได้ว่าการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มีอยู่หลากหลาย ได้สร้างก๊าซเรือนกระจกมากมายขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ
Read the rest of this entry »
View (3416)
การแถลงข่าว Library care the bear
Library Care the Bear เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ผ่านเครือข่ายห้องสมุดทั่วประเทศ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ขยายความร่วมมือจากหน่วยงานและบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อรณรงค์ให้บริษัท และหน่วยงานมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้โครงการ Care the bear “Change the Climate Change” ลดคาร์บอนจากงานEvent ลดโลกร้อน โดยขั้นตอนง่ายๆ 6 ขั้นตอน
Care the bear
View (234)
ตามที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของศูนย์บรรณสารนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการอนุรักษ์พลังงาน ในตารางการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
1. ตารางสรุปการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา อาคารบรรณสาร 2. กราฟแสดงทิศทางการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา อาคารบรรณสาร 3. วิธีการคำนวณน้ำหนักกระดาษ อาคารบรรณสาร 4. ข้อมูลการใช้ทรัพยากรและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 5. การวิเคราะห์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 6. ปริมาณขยะ อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศ
มารู้จักวิธีการคำนวณรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศกันเถอะ….
ประโยชน์ที่ได้จากการทำรายงานฉบับนี้ ทำให้ทราบถึงปริมาณการใช้ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และกระดาษ ของอาคารบรรณสาร หากมีการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรดังกล่าว จะได้หาปัญหาของการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรนั้น เช่น การช่วยรณรงค์ การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟฟ้า ลดปริมาณขยะ และรวมถึงการร่วมแรงร่วมใจกันใช้กระดาษรีไซเคิลนำมาพิมพ์เอกสาร ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวมาข้างต้น ได้มีอยู่ในมาตรการการประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรมของมหาวิทยาลัย 15 ข้อ
View (69)
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หัวข้อ “เขยิบมาแยกขยะ” เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของขยะ การจัดการขยะ และการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์วนิดา สุวรรณพ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.30-12.00 น. นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในยุทธศาสตร์ที่ 6 มีการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 3.2 ปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่วนรวม
วัตถุประสงค์โครงการ
1.เพื่อปลูกจิตสำนึกแก่ นักศึกษา อาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.เพื่อให้ความรู้ และสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
วิทยากรได้กล่าวถึงภาวะโลกร้อน ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และขยะก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถจัดเก็บให้ทันกับปริมาณ ทั้งนี้จึงมีการเชิญชวนให้คัดแยกขยะ โดยร่วมกับโครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้ เพื่อช่วยลดการตัดต้นไม้เพื่อผลิตกระดาษได้ถึง 17 ตัน แถมยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ และลดพื้นที่หลุมฝังกลบขยะอีกด้วย
โครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้
จากภาพข้างต้น เป็นการนำกล่องนมยูเอชที กลับมาใช้ใหม่ โดยสอนวิธีการพับเก็บกล่องอย่างถูกวิธี ก่อนนำไปรีไซเคิล Read the rest of this entry »
View (103)
ป้ายยินดีต้อนรับด้วยกระดานและชอร์ค
วันที่ 30 สิงหาคม 2559 อาคารบรรณสาร โดยชาวบรรณสารสนเทศ ได้ให้การต้อนรับ คณะผู้ตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) (รอบดีเยี่ยม) และนำเสนอกิจกรรมของอาคารบรรณสารในแต่ละเกณฑ์ โดยมีผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รศ.ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี อ.ฉลอง แขวงอินทร์ รองอธิการบดี ร่วมให้การต้อนรับ รับฟังการนำเสนอ และรับฟังผลการตรวจและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ จากนั้น ได้นำคณะกรรมการฯ ชมมหาวิทยาลัยโดยรอบ และรับประทานอาหารร่วมกัน “พวกเรา บรรณสาร ร่วมมือ ร่วมใจ ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” และพวกเราจะดำเนินการต่อไป เพื่อความยั่งยืน Read the rest of this entry »
View (32)
สำนักงานสีเขียว (Green Office) หมายถึง สำนักงานและกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มีแนวทางในการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณต่ำ
หลักการสำคัญของสำนักงานสีเขียว คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำกิจกรรมต่าง ในสำนักงานให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซ้ำการนำกลับมาใช้ใหม่ การลดและเลิกใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย เป็นต้น
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำ หนังสือคู่มือสำนักงานสีเขียว Green Office เพื่อศึกษาและพัฒนาเกณฑ์สำนักงานสีเขียว ตามแนวคิดและวิธีการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) และการพัฒนาเกณฑ์ ทดสอบเกณฑ์ และประเมินผลเพื่อรับรองสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมศักยภาพการจัดการทรัพยากร พลังงาน และสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน รองรับการจัดซื้อ จัดจ้างสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐ (Green Procument)
ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.deqp.go.th/media/36201/เล-มค-ม-อ-green-office-18-12-2557.pdf
รายการอ้างอิง
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2557). คู่มือสำนักงานสีเขียว. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.deqp.go.th/media/36201/เล-มค-ม-อ-green-office-18-12-2557.pdf
View (113)
ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตประจำวันในสถานที่ทำงานไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง/วัน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของชีวิต บางคนอาจใช้เวลาในที่ทำงานมากกว่าที่บ้าน คุณภาพชีวิตของคนในสำนักงานจะดีหรือไหมนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานเป็นสำคัญ ภายในอาคาร สำนักงานถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเจือปนอยู่ในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานๆๆ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของคนในสำนักงานได้ “โรคสำนักงาน” หรือ Sick buildings syndrome ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา รวมทั้งสาร VOCs (Volatile Organic Compounds) และมลพิษอื่นๆ ที่มาจาก สี เสียง กลิ่น อุปกรณ์ตกแต่งสำนักงาน ระบบปรับอากาศ และของเสียภายในสำนักงาน อีกทั้ง Read the rest of this entry »
View (156)