SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
แนะนำทรัพยากรสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
พ.ค. 24th, 2018 by somsri

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มียุทธศาสตร์ในการเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและจีนศึกษา ศูนย์บรรณสารสนเศ ซึ่งเป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย จึงมีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยมีการให้บริการหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ ชั้น 4

ดังนั้น เพื่อให้หนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานมากขึ้น ผู้ปฏิบัติงาน จึงได้จัดมุมหนังสือใหม่ (New Books) ขึ้น ที่บริเวณประตูทางเข้าชั้น 4 ดังปรากฏดังภาพ

24.1

โดยการจัดมุมหนังสือแนะนำนั้น จะเลือกหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีการจัดทำบรรณนิทัศน์ประกอบหนังสือแต่ละเล่มไว้ด้วย เพื่อเป็นการนำเสนอให้ผู้ใช้บริการอ่านเนื้อหาโดยสรุปและพิจารณาที่จะอ่านต่อหรือยืมกลับไปอ่านต่อไป

 

24.4

 

24.2

 

24.3
หนังสือแนะนำดังกล่าว จะมีการประชาสัมพันธ์ขึ้น เฟซบุ๊ค ของศูนย์บรรณสารสนเทศและทางเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศในแต่ละเดือนด้วยเช่นกัน

หากผู้ใช้สนใจต้องการยืม สามารถหยิบไปยืมได้ที่ชั้น 1 ค่ะ

View (71)

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
ธ.ค. 13th, 2017 by navapat

ภาพ 1

ระบบห้องสมุด  WorldShare  Management Services (WMS) ซึ่งพัฒนาโดย Online Computer Library Center (OCLC) เป็นระบบที่ประกอบด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดประมาณ 7,200 แห่ง จาก 149 ประเทศทั่วโลก ซึ่งศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำมาใช้ในการบริหารทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ตั้งแต่การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ  การจัดเก็บด้วยการลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ การสืบค้นผ่านระบบการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก  และด้วยความที่เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เปิดให้บริการแก่ห้องสมุดที่เป็นสมาชิกขอใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้ ผ่านบริการ WorldShareILL หรือ WorldShare Interlibrary Loan เพื่อเอื้อประโยชน์สำหรับอาจารย์ นักศึกษาและบุคลากร ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอน การศึกษา การทำวิจัย และการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ซึ่งมีขั้นตอนในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศและแจ้งการขอใช้บริการ ดังนี้

วิธีการเข้าใช้ระบบการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare ILL)

1. สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการที่ https://hcu.on.worldcat.org/discovery

หน้าจอการสืบค้น

หน้าจอการสืบค้น

2.  พิมพ์คำค้นที่กล่องคำค้น กด enter หรือคลิก  ภาพ 3

ตัวอย่าง พิมพ์คำค้น “ค้ามนุษย์”  ผลการสืบค้น พบว่ามีหนังสือตามคำค้น จำนวน 3 รายการ ดังนี้

 

ผลการสืบค้น

ผลการสืบค้น

3. พิจารณารายการหนังสือที่ต้องการใช้ เช่น  ต้องการอ่านหนังสือรายการที่ 1 ให้คลิกที่ชื่อหนังสือ จะเห็นว่าเป็นรายการหนังสือของห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ILL-3

คลิกเลือกรายการที่ 1

4. ขอใช้บริการโดยการส่งคำขอ (Request)  มายังศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อดำเนินการยืมระหว่างห้องสมุด  โดยคลิกที่  Request Item through InterLibrary Loan หน้าจอจะปรากฏแบบฟอร์ม ให้กรอกข้อมูลในกล่องที่มีเครื่องหมาย  *  ให้ครบ ได้แก่

1.   ประเภทของเอกสารที่ต้องการ (Service Type)
2.   เวลาที่ต้องการรับเอกสาร
3.   ชื่อ นามสกุล อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้
4.   กด Submit

หน้าจอการกรอกแบบฟอร์มเพื่อการยืมระหว่างห้องสมุด

หน้าจอการกรอกแบบฟอร์มเพื่อการยืมระหว่างห้องสมุด

 

หลังกด Submit แล้ว Request นี้ จะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อดำเนินการต่อไป

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนกบริการสารสนเทศ หมายเลขโทรศัพท์ภายใน  1472, 1473

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก 

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

View (1410)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
ต.ค. 15th, 2017 by supaporn

หลังจากที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้นำระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่จัดหามาเพื่อให้บริการแก่ชุมชนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติแล้ว บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกันจัดทำคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata เพื่อใช้เป็นคู่มือให้กับผู้ปฏิบัติงานในแผนกฯ ได้ลงรายการในระบบไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 มีผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบรรณารักษ์แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้จากการที่ได้รับการอบรม และทดลองการใช้ระบบ จนสามารถสรุปเป็นคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดังนี้

คู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

 

View (181)

การแสดงสรุปค่าใช้จ่ายจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
มิ.ย. 25th, 2017 by chanunchida

การแสดงผลด้วยกราฟ มักได้รับความนิยมมากกว่าการแสดงผลด้วยตาราง เพราะว่าการแสดงผลด้วยกราฟนั้น สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย  ดังนั้นกราฟจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการนำเสนองานเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยประหยัดเวลาในการอธิบาย และทำให้การนำเสนอน่าสนใจ และเป็นที่น่าจดจำมากขึ้น

ผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดทำสรุปค่าใช้จ่ายจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ แยกตามคณะ แผนก โดยรวบรวมค่าใช้จ่ายทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ และนำมาบันทึกในตาราง เพื่อทำรายงานสรุปให้กับผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในภายหลังได้ปรับรูปแบบการนำเสนอเป็นแบบกราฟ เมื่อให้ผู้บริหารเห็นภาพได้ง่ายมากขึ้นกว่าการนำเสนอแบบตาราง

ขั้นตอนของการทำกราฟ มีดังนี้

1.คิดวัตถุประสงค์ของการนำเสนอกราฟ เช่น ผู้เขียนจัดทำกราฟประเภทนี้เพื่อบอกสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศของแต่ละคณะ  แผนก

2.เลือกประเภทของกราฟที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น กราฟแทง กราฟเส้น และกราฟวงกลม ซึ่งกราฟแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอต่างกัน กล่าวคือ Read the rest of this entry »

View (366)

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่แจ้งหาย ศูนย์บรรณสารสนเทศ
มิ.ย. 19th, 2017 by kalyaraksa

ทรัพยากรสารสนเทศ ที่แจ้งหายคือ   ทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผู้ใช้บริการ เช่น  อาจารย์  เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ทำหายระหว่างการยืม     ส่วนใหญ่เป็นหนังสือ เมื่อผู้ใช้ทำหายให้มาติดต่อเขียนแบบฟอร์มการแจ้งหายที่เคาน์เตอร์ ชั้น 1   งานบริการยืม – คืน  ซึ่งงานบริการยืม – คืน   จะมีแบบฟอร์มให้กรอกรายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศเล่มที่ได้ทำหาย    ถ้ายังไม่ถึงวันกำหนดส่ง     ก็จะไม่มีค่าปรับ

ในประกาศมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ 44/2536 ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2536  เรื่องการใช้ห้องสมุด   หมวด 8  หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ใช้ห้องสมุดและผู้ยืมทรัพยากรสารสนเทศ ข้อ 27 ผู้ยืมทรัพยากรสารสนเทศต้องรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(3) เมื่อมีการสูญหาย ผู้ยืมจะต้องชดใช้ทรัพยากรสารสนเทศนั้นเป็นการทดแทน ในกรณีที่เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่สามารถจะหาซื้อได้อีก  หรือไม่ทราบราคา และผู้ยืมไม่สามารถจะหามาแทนได้  ผู้ยืมจะต้องชดใช้เป็นจำนวนเงินตามที่ศูนย์บรรณสารสนเทศเห็นสมควร

ในปัจจุบันได้กำหนดค่าปรับเกินกำหนดส่งวันละ 5 บาทต่อเล่ม และค่าปรับสูงสุดอยู่ที่จำนวนเงิน 300 บาท    หากผู้ใช้มาแจ้งการทำทรัพยากรสารสนเทศสูญหาย ก็จะคิดค่าปรับตามจำนวนวัน และเป็นจำนวนเงินดังกล่าว    พร้อมด้วยค่าดำเนินการในการจัดทำอีก เล่มละ 50 บาท   หลังจากการกรอกแบบฟอร์มการแจ้งหายแล้วจะให้เวลาผู้ใช้ในการหาซื้อ       หรือจัดทำเป็นเวลา  14   วัน โดยบุคลากรผู้ที่รับการแจ้งหายจะให้คำแนะนำการปฏิบัติ เช่น ให้ซื้อทรัพยากรสารสนเทศชื่อเดียวกัน แต่เป็นปีพิมพ์ที่ทันสมัยกว่า หรือปีพิมพ์ล่าสุด ราคาไม่น้อยกว่าเล่มที่สูญหาย กรณีหาซื้อไม่ได้ให้ไปถ่ายสำเนาทรัพยากรสารสนเทศ ชื่อเดียวกันมาดำเนินการจัดทำรูปเล่มให้เรียบร้อย นำมาทดแทน หรือเมื่อตรวจสอบฐานข้อมูลแล้วยังมีทรัพยากรสารเทศ เนื้อหาเดียวกันแต่เป็นคนละชื่อเรื่อง ก็สามารถซื้อมาทดแทนได้เช่นกัน

เมื่อกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มและรับทรัพยากรสารสนเทศแล้ว งานบริการสารสนเทศจะนำส่งใบสำเนาการแจ้งหาย  (สีเหลือง)     พร้อมทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ซื้อมาทดแทน     ส่งที่แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่อดำเนินการทำข้อมูลประวัติสิ่งพิมพ์ที่แจ้งหาย โดยบรรณารักษ์ที่ได้รับมอบหมายทำการวิเคราะห์หมวดหมู่ และทำข้อมูลทดแทนหรือข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศระเบียนใหม่เข้าในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ    และติดสัน ประทับตราให้เรียบร้อย  เพื่อนำส่งแผนกบริการสารสนเทศต่อไป

หนังสือ 2หนังสือ 1

View (103)

การเสนอการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
พ.ค. 24th, 2017 by ratchanee

ในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยเฉพาะหนังสือที่อยู่ในหลักสูตรต่างๆ อาจจะมีกระบวนการที่แตกต่างจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ  อาจเนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นมหาวิทยาลัยขนาดกลาง จึงสามารถที่จะกำกับดูแล หรือร่วมพิจารณาการจัดซื้อหนังสือ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

โดยในการจัดซื้อหนังสือนั้น จะต้องผ่านการพิจารณาจากคณบดีแต่ละคณะ ซึ่งผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดซื้อ จะจัดทำรายชื่อหนังสือที่อาจารย์แต่ละท่านแต่ละคณะได้พิจารณาคัดเลือกจากร้านหนังสือ  จากนั้้นทำบันทึกข้อความที่ได้รับการตรวจสอบจากฐานข้อมูลหนังสือที่พิจารณาคัดเลือกว่ามีอยู่ในห้องสมุดหรือไม่  กรณีที่ยังไม่มีหนังสือดังกล่าว จะดำเนินการทำบันทึกเสนอถึงคณบดีแต่ละคณะ และกำกับสาขาๆ ลงนามประธานคณะกรรมการวิชาการ และส่งกลับให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ

เมื่อศูนย์บรรณสารสนเทศได้รับรายชื่อหนังสือที่ผ่านการพิจารณาจากคณบดีแต่ละคณะเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการติดต่อร้านค้าเพื่อส่งรายชื่อหนังสือ ขอใบเสนอราคาร้านค้าเพื่อตรวจสอบราคา และพิจารณาดำเนินการสั่งซื้อต่อไป

View (68)

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ลงนามความร่วมมือวิชาการให้บริการสารสนเทศกับ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ค. 19th, 2017 by supaporn

สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามทางวิชาการการให้บริการสารสนเทศระหว่างห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามทางวิชาการการให้บริการสารสนเทศระหว่างห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามทางวิชาการการให้บริการสารสนเทศระหว่างห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2560 ณ ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร เพื่อให้บริการวิชาการแก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา และแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน โดยสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งสามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารสนเทศได้โดยตรงผ่าน website ของสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ เมื่อได้ข้อมูลทรัพยากรที่ต้องการแล้วจึงดำเนินการยืมระหว่างห้องสมุดต่อไป การแบ่งปันและร่วมกันใช้ทรัพยากรต่างๆ ของห้องสมุดในครั้งนี้ สำนักงานวิทยทรัพยากรจะบริหารจัดการด้วยมาตรฐานเดียวกันกับที่ดำเนินการกับห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ของรัฐ โดยไม่คำนึงถึงขนาดหรือสถานที่ตั้งของห้องสมุดแต่ละแห่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการแบ่งปันทรัพยากรห้องสมุด ลดความซ้ำซ้อน และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการดูแลบำรุงรักษาห้องสมุด

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเข้าร่วมลงนามทางวิชการการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเข้าร่วมลงนามทางวิชการการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็น 1 ใน 14 แห่งของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน การลงนามความร่วมมือทางวิชาการเป็นปฐมฤกษ์ในครั้งนี้

ภาพประกอบ

รายละเอียดของข่าว

View (49)

การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์
ก.ย. 17th, 2016 by supaporn

การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์ เป็นหัวข้อหนึ่งในหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน บรรยายโดย อาจารย์ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยอาจารย์ได้นำความรู้มาบรรยาย ในประเด็นต่อไปนี้

  1. ทรัพยากรสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
  2. การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  3. กระบวนการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  4. ตัวอย่างหอจดหมายเหตุดิจิทัลและพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล
  5. การพัฒนา “คลังสารสนเทศดิจิทัล” เริ่มต้นอย่างไร?

เริ่มต้น วิทยากรให้ความหมาย คำว่า “ทรัพยากรสารสนเทศ” ใน 2 มุมมอง คือ ความหมายในแง่ขององค์กร และของบุคคล กล่าวคือ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) ในมุมมองขององค์กร หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ที่ได้มีการรวบรวม กลั่นกรอง เรียบเรียง หรือประมวลผลไว้ โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ รูปภาพ รหัส แล้วนำมาบันทึกด้วยวิธีการต่างๆ ลงวัสดุชนิดต่างๆ เพื่อจัดเก็บ หรือเผยแพร่ให้ผู้รับได้ทราบ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ หรือความบันเทิง ขณะที่ ทรัพยากรสารสนเทศในมุมมองของบุคคล เน้นในเรื่องของความทรงจำของบุคคลนั้น เป็นความทรงจำที่มีความหมาย มีความสำคัญ หรือถูกด้วยปัจจัยต่างๆ โดยผู้เป็นเจ้าของของความทรงจำ เช่น ภาพถ่ายที่ถูกบันทึกลงในกระดาษ ภาพถ่ายในรูปแบบฟิล์ม ม้วนเทปวิดีโอ เทปบันทึกเสียง ภาพวาด สมุดบันทึก Sketchbook ฯลฯ ดังนั้น ทรัพยากรสารสนเทศ จึงแบ่งได้เป็น Read the rest of this entry »

View (691)

หลังบ้าน หน้าบ้านของการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
ก.ย. 17th, 2016 by supaporn

กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน แต่ต้องพิจารณาก่อนว่าจะเก็บอะไรให้เป็นดิจิทัล จัดเก็บอย่างไร เข้าถึงและเผยแพร่ได้ทางไหน อย่างไร

3 ขั้นตอน ได้แก่ การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) การบริหารจัดการข้อมูล (Information Management) และ การจัดแสดงการเผยแพร่การให้บริการ (Information Access)

กระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล

กระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล

ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://lib.hcu.ac.th/files/2016/seminar-2016Sep15-16/20160916-DigitalPreservation-Rachabadin.pdf

รายการอ้างอิง

ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ. (2559). การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล : ตัวช่วยในการอนุรักษ์. เอกสารประกอบการบรรยายการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน วันที่ 16 กันยายน 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

View (49)

ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต
ก.ค. 4th, 2016 by navapat

ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต

เป็นบทความรวบรวม ความคิดเห็นของบรรณารักษ์  สถาปนิก และนักวิชาการจากหลายสาขา ซึ่งมารวมตัวกันที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, MIT) เพื่อให้ความเห็น และชี้ให้เห็นอนาคตของห้องสมุด

นอกเหนือจากการเป็นคลังหนังสือแล้ว ห้องสมุดเก่าแก่แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ยังเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการให้กับบรรดานักวิชาการ   คำว่า “Mouseion” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า สถานที่ทำงานของเทพเจ้า Muses (เทพ Muses เป็นเทพแห่งวรรณกรรม และศิลปะ เป็นธิดาของเทพ Zeus ในตำนานกรีก : ผู้แปล)  ด้วยเหตุนี้ในห้องสมุดในสมัยแรกเริ่ม จึงประกอบไปด้วย  ห้องสอนหนังสือ (Exedra) โรงรับประทานอาหาร (Oinks) และ ทางเดินแบบมีหลังคา (Peripatos)  เมื่อสรุปรวมกันจึงแปลได้ว่า เป็นสถานที่นักวิชาการใช้สำหรับค้นคว้า และสนทนาทางวิชาการ  นักวิชาการ สามารถเดินถือตำราไปไหนมาไหนหรือรับประทานอาหาร ภายใต้ร่มเงานั้นได้ แม้ว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม แต่ความหมายโดยรวมของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก

นับเป็นเวลา 1,000 ปีมาแล้ว ที่ห้องสมุด ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ และภาวะของสังคม ซึ่งแน่นอนว่า ข้อมูล และสภาวะทางสังคม ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ เช่น การเปลี่ยนจากโต๊ะดินเหนียว ไปเป็นตู้แบบที่มีล้อเลื่อน และกลายเป็นการสืบค้นแบบเข้ารหัส และเข้าสู่ยุคดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ห้องสมุดจึงมีการปรับเปลี่ยน การอ่านออกเขียนได้ กลายเป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับ เหล่านักวิชาการ มีการรวมตัวกันมากขึ้น นิสัยการอ่านก็เปลี่ยนแปลง  มีวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล หลายหมื่นข้อความ ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดมีการพัฒนา  มันได้เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล และพฤติกรรมทางสังคม รวมทั้งนิสัยการอ่าน การเรียน  ล้วนแต่มีผลต่อรากฐานของห้องสมุด Read the rest of this entry »

View (219)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa