SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่มีอยู่ใน OCLC WorldCat
ต.ค. 31st, 2019 by wanna

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่มีอยู่ใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบ WorldShare Management Services (WMS) ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2.  สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการในโมดูล Metadata เลือก Record Manager และ Search เลือก Data Type ที่ Bibliographic Records โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้

2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหาที่  All WorldCat

2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number

2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ISBN

Search: ISBN = 9787301260456

รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search

        Read the rest of this entry »

View (107)

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่ยังไม่มีใน OCLC WorldCat
ต.ค. 30th, 2019 by wanna

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่ยังไม่มีใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบ WorldShare Management Services (WMS) ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการในโมดูล Metadata เลือก Record Manager และ Search เลือก Data Type ที่ Bibliographic Records โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้

2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหาที่  All WorldCat

2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number

2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น Title

Search: Title = 中华实用起名全解

รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search

Read the rest of this entry »

View (154)

การนำข้อมูลของในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS ที่มีอยู่มาต่อยอดของหัวเฉียวง่ายนิดเดียวกับคำว่า Derive
พ.ค. 15th, 2019 by uthairath

วิธีและขั้นตอนการทำ Derive Bib หรือทำการคัดลอก Bib เดิม ให้ได้ Bib ใหม่

ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่ในงานจัดหาฯ ของแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับมอบหมายในการลงรายการเบื้องต้น และทำการ Derive ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) ในการสร้าง Order ของฐานข้อมูลห้องสมุด เพื่อเป็นการลงรายการทางบรรณนุกรมเบื้องต้น และเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms
  2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการ การสืบค้นสามารถสืบค้นได้ทั้ง 2 โมดูล คือ ในโมดูล Acquisition เลือก Discover Items  Search และโมดูล Metadata เลือก Record Manager Search โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้
    2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหา My Library Holding , All WorldCat, My LHRs
    2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title,  Author, ISBN, ISSN,  OCLC Number
    2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ต้องการหาชื่อเรื่อง Search: Title = ทำตลาดได้เงินล้านบนไลน์ด้วย Line@

Search: Title = ทำตลาดได้เงินล้านบนไลน์ด้วย Line@ (All WorldCat)

รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search

Read the rest of this entry »

View (147)

ขั้นตอนการเปลี่ยน Location ในระบบ WMS
พ.ค. 4th, 2019 by jittiwan

ผู้เขียนมีหน้าที่รับผิดชอบวิเคราะห์หมวดหมู่สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย คณะกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะการแพทย์แผนจีน ทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ส่วนมากจะอยู่ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี จะมีบางส่วนอยู่ที่วิทยาเขตยศเส เมื่อจำเป็นจะต้องย้ายกลับมาให้บริการที่วิทยาเขตบางพลี บรรณารักษ์ผู้รับผิดชอบจึงต้องนำทรัพยากรสารสนเทศมาเปลี่ยน Location ให้อยู่ที่วิทยาเขตบางพลี เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการค้นหา ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

1. นำตัวเล่มหนังสือมาสืบค้น ดังตัวอย่าง สืบค้นด้วย ISBN

2. เลือกรายการที่ตรงกับตัวเล่ม ดังตัวอย่าง คลิกที่ชื่อเรื่อง

 

3. ตรวจสอบความถูกต้องหรือมีการเพิ่มเติมรายการบรรณานุกรมให้สมบูรณ์มากขึ้นใน Master record

Read the rest of this entry »

View (100)

Shelf management กรณีวิทยานิพนธ์
พ.ค. 4th, 2019 by kalyaraksa

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีนโยบายในการจัดพื้นที่ของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ เนื่องจากต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในแง่ของการเพิ่มพื้นที่นั่งอ่าน ซึ่งมหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายในการขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมีการก่อสร้างอาคารใหม่ ศูนย์บรรณสารสนเทศจึงต้องพิจารณาแนวทางในการจัดการพื้นที่ โดยเริ่มพิจารณาจากทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีการพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศ ดังนี้

1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภททีไม่มีจำเป็นในการให้บริการในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์ เนื่องจากมีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เช่น วิทยานิพนธ์
2. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำนวนมากเกินความต้องการหรือการให้บริการ
3. ทรัพยากรสารสนเทศที่มียอดจำนวนการยืมน้อย
4. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเก่า ล้าสมัย เช่น กฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ เป็นต้น Read the rest of this entry »

View (76)

หัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (Online Thai Subject Headings)
ม.ค. 27th, 2018 by yuphin

หัวเรื่อง (subject heading) มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อรวบรวมวัสดุสารสนเทศที่มีเนื้อหาในเรื่องเดียวกันมาอยู่ด้วยกันภายใต้คำหรือวลีเดียวกัน เป็นวิธีการจัดเก็บและควบคุมสารสนเทศอีกวิธีหนึ่งที่จะให้ความสะดวกในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศและข้อมูลทางบรรณานุกรมได้ตามความต้องการและช่วยให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงสารสนเทศของห้องสมุด

หัวเรื่องที่บรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะกำหนดหัวเรื่องโดยมีคู่มือหัวเรื่องที่มีการจัดทำออกมาอย่างเป็นมาตรฐาน ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ หรือเป็นคู่มือการกำหนดหัวเรื่องเฉพาะสาขาวิชา สำหรับคู่มือการกำหนดหัวเรื่องที่รู้จักกันดีและเป็นมาตรฐานในการที่บรรณารักษ์ใช้เป็นคู่มือในการกำหนดหัวเรื่อง เช่น Library of Congress Subject Headings ของ Library of Congress

ปัจจุบันสามารถมีเป็นไฟล์หัวเรื่อง ติดตาม   ได้ที่ https://www.loc.gov/aba/publications/FreeLCSH/freelcsh.html  ซึ่งใช้กำหนดหัวเรื่องสำหรับทรัพยากรสารสนเทศภาษาอังกฤษ  หรือ คู่มือกำหนดหัวเรื่องทางการแพทย์ (Medical Subject Headings)  ส่วนการกำหนดหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทย เช่น หัวเรื่องสำหรับการลงรายการหนังสือภาษาไทย ของคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีเวอร์ชั่นออนไลน์เพื่อให้บริการจัดเก็บและสืบค้นผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้ได้จากที่ต่างๆ สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น สามารถเข้าถึงได้ที่ https://webhost2.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php

เว็บไซต์หัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์

ขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ

พิมพ์ชื่อผู้ใช้ :  visitor

รหัสผ่าน : 123

Verify code : (ใส่ code ที่ระบบให้มา ในการเข้าสู่ระบบแต่ละครั้ง number code จะเปลี่ยนไป)

การใช้หัวเรื่องออนไลน์เพื่อตรวจสอบคำค้นนั้น โดยผู้ใช้พิมพ์คำค้นที่ต้องการลงไปในช่องการสืบค้นข้อมูลและคลิกค้นหา เช่น ต้องการค้นหาหัวเรื่อง กฎหมาย ว่ามีการกำหนดใช้หรือไม่  สามารถพิมพ์คำว่า กฎหมาย

02

ตัวอย่างการตรวจสอบคำค้นกฎหมายที่ฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์จะปรากฎหัวเรื่องที่เป็นภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ เข้าไปทดลองใช้กันดูนะคะ

03

 

 

 

View (1650)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
ต.ค. 15th, 2017 by supaporn

หลังจากที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้นำระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่จัดหามาเพื่อให้บริการแก่ชุมชนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติแล้ว บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกันจัดทำคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata เพื่อใช้เป็นคู่มือให้กับผู้ปฏิบัติงานในแผนกฯ ได้ลงรายการในระบบไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 มีผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบรรณารักษ์แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้จากการที่ได้รับการอบรม และทดลองการใช้ระบบ จนสามารถสรุปเป็นคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดังนี้

คู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

 

View (181)

การศึกษาดูงาน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ม.ค. 30th, 2017 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ทัศนศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2559 นำโดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และทีมงานจำนวน 17 คน โดยมีการกำหนดหัวข้อในการขอเข้าฟัง ดังนี้

  1. การบริหารจัดการในภาพรวมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. การพัฒนาฐานข้อมูลการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ตรวจสอบเอง และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การนำระเบียนข้อมูลทางบรรณานุกรมเข้าระบบ WorldCat
  3. การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
  4. การพัฒนานวัตกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. การบริการเชิงรุก
  6. การให้บริการ WorldShareILL
  7. การจัดการความรู้
  8. การประกันคุณภาพ
  9. การอนุรักษ์พลังงาน
บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ผอ. วรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์) และบุคลากรที่มาต้อนรับ ทุกท่าน (ประกอบด้วย คุณคัทลียา  ปรีชานิ คุณปราชญ์ สงวนศักดิ์  คุณหวานใจ อรุณ คุณศุภวรรณ อาจกล้า  คุณสุรินทรา  หล้าสกูล คุณสดศรี  กันทะอินทร์  คุณศิริมนัส  อินต๊ะแก้ว และคุณจิราภรณ์  หาบุญ) ที่เร่งทำเวลาในการบรรรยายให้ความรู้ ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความเห็น และตอบคำถาม จึงขอสรุปข้อความรู้ในประเด็นหลักๆ ดังนี้ Read the rest of this entry »

View (402)

ขั้นตอนการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
เม.ย. 29th, 2016 by jittiwan

งานที่รับผิดชอบในแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยารสารสนเทศ คือ วิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท  โดยมีรายละเอียดในการเรียนการสอน แต่ละหลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรปริญญาตรี

1. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

  • สาขาวิชาการจัดการโรงพยาบาล
  • สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. คณะพยาบาลศาสตร์ ประกอบด้วย

  • การพยาบาลพื้นฐานฯ
  • การพยาบาลผู้ใหญ่
  • การพยาบาลเด็ก
  • การพยาบาลมารดาฯ
  • การพยาบาลอนามัยฯ
  • การพยาบาลสุขภาพจิตฯ
  • การพยาบาลผู้สูงอายุ
  • กฎหมายและจรรยาบรรณ

Read the rest of this entry »

View (227)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa