SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การกระทำทารุณกรรมผู้สูงอายุในสังคมไทย
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

การกระทำทารุณกรรมผู้สูงอายุในสังคมไทย

บทคัดย่อ

การกระทำทารุณกรรมผู้สูงอายุในสังคมไทยเป็นบทความที่นำเสนอถึงปรากฏการณ์การกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ ซึ่งในสังคมไทยยังมีการกล่าวถึงกันน้อย ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงความหมายและรูปแบบการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ ซึ่งได้แก่ การกระทำทารุณกรรมด้านร่างกาย ด้านจิตใจหรืออารมณ์ ด้านวัตถุ การทอดทิ้งทางร่างกาย และการทอดทิ้งทางด้านจิตใจ พร้อมทั้งหยิบยกประเด็นการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นภาพการกระทำทารุณกรรมผู้สูงอายุอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ได้นำเสนอถึงการวิเคราะห์ปัจจัยของการเกิดการกระทำรุณกรรมผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันครอบครัว การเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติของคนในครอบครัว และการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพร่างกายของผู้สูงอายุเอง ตลอดจนการนำเสนอแนวทางแก้ไขไว้ในช่วงสุดท้าย ซึ่งจะต้องพิจารณาตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการ ระดับชุมชน และระดับครอบครัว

นุชนาฎ ยูฮันเงาะ. (2546). การกระทำทารุณกรรมผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 43 – 50.

 

View (39)

อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส : ทางออกของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชุมชนเมือง
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส : ทางออกของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชุมชนเมือง

บทคัดย่อ:

บทความนี้มุ่งให้ทราบและตระหนักถึงบทบาทของอาสาสมัครในชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่องค์กรภาครัฐ ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเริ่มเล็งเห็นความสำคัญ โดยเฉพาะเมื่องใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น มีการแข่งขันสูง ก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่มีความหลากหลาย ซับซ้อน และทวีความรุนแรง โดยเฉพาะครอบครัวที่เป็นรากเหง้าของปัญหาส่วนใหญ่ของชุมชน เช่น ปัญหาการกระทำทารุณกรรม ทั้งต่อเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ตลอดจนการปล่อยปละละเลยทอดทิ้งผู้ด้อยโอกาสในชุมชน ปัญหาเล่านี้หากไม่มีผู้คอยประสาน ช่วยเหลือ ดูแล อาจจะทำให้ผู้ตกเป็นเหยื่อต้องทนทุกข์ทรมาน ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์และสังคม ทั้งนี้เนื่องจากการให้บริการจากภาครัฐยังไม่สามารถกระทำได้อย่างทั่วถึง และตรงกับความต้องการ ดังนั้น การมีอาสาสมัครในชุมชนจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาในเชิงรุก ด้วยการส่งเสริมให้คนในชุมชนเข้าร่วมกันแก้ไขปัญหาในชุมชนของตนอย่างยั่งยืน

นุชนาฎ ยูฮันเงาะ. (2547). อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส : ทางออกของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชุมชนเมือง. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 101-108.

อ่านบทความฉบับเต็ม

View (23)

คุณภาพชีวิตสตรีภายใต้ธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ก.พ. 26th, 2016 by rungtiwa

คุณภาพชีวิตสตรีภายใต้ธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

Quality of Life of Thai Women under the 2007 Constitution and Related Laws

บทคัดย่อ:

การศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิตภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นงานวิจัยที่สนับสนุนโดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาเจตนารมณ์และสาระในการพิทักษ์ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรี ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 รวมถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 แผนพัฒนาสตรีของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนในระดับท้องถิ่น และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง Read the rest of this entry »

View (49)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa