SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Data Science Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21
มี.ค. 28th, 2019 by supaporn

จากการเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการประจำปี เรื่อง Data Science Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21  เมื่อวันที่  15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562  ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วยการบรรยาย  5 หัวข้อ ได้แก่

  • AI and Big Data in KU  โดย ผศ. ดร. ภุชงค์ อุทโยภาส (รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • Library Analytic and Matrix Using Data to Driven Decision Services โดย Dr.Jin Chen (Shanghai Jiao Tong University Library)
  • AI กับงานห้องสมุด โดย ผศ. ดร สุกรี สินธุภิญโญ (ภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • การเสวนาวิชาการเรื่อง Data Analytics จากประสบการณ์สู่การประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารจัดการห้องสมุด  โดย ผศ. ดร สุกรี สินธุภิญโญ อาจารย์สาโรช เมาลานนท์ (ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ผศ. ดร. ศจี ศิริไกร (สาขาวิชาบริหารปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)  และนายอภิยศ เหรียญวิพัฒน์ (นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ดำเนินรายการโดย รศ. ดร. สมชาย นำประเสริฐชัย (ผู้อำนวยการ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • SciVal เครื่องมือช่วยการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย โดย นางสาวมณีรัตน์ จอมพุก (ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล

จะขอสรุปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด ดังนี้ Read the rest of this entry »

View (326)

Electronic Resource Selection Principle and API
ก.พ. 23rd, 2019 by supaporn

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้เขียนและบุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในหัวข้อเรื่อง Electronic Resource Selection Principle and API  โดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เชิญ Dr.Jin Chen จาก Shanghai Jiao Tong University Library มาเป็นวิทยากรในกิจกรรมดังกล่าว ขอสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้

Shanghai Jiao Tong University Library มีการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic resources) โดยใช้หลักการ Three-One-Rule หรือ Trisection Unity Rule โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ให้เข้มแข็ง ได้แก่

1. กลุ่มอาจารย์และนักศึกษา เป็นหลักในการพิจารณาความต้องการในการใช้
2. บรรณารักษ์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา (Subject Librarians) เพื่อเป็นผู้แนะนำฐานข้อมูลแต่ละสาขาที่เหมาะสม
3. บรรณารักษ์จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (Acquisition Librarians) เพื่อให้เกิดความสมดุลในการบริหารจัดการและการควบคุมการใช้งบประมาณและทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

ในการเลือกซื้อนั้น มีข้อควรพิจารณาคือ

1. ลักษณะของทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ จะพิจารณาเป็น package มากกว่าเป็นรายชื่อ และซื้อเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 70 ของงบประมาณทั้งหมด
2. องค์ประกอบในการพิจารณาเลือกซื้อ ได้แก่ ปริมาณ คุณภาพ การใช้ประโยชน์ และราคา
3. การประเมินผล มีการประเมินทั้งก่อนซื้อและหลังซื้อ (เมื่อมีการใช้งานแล้ว) Read the rest of this entry »

View (90)

อบรมการใช้ VPN และ Dropbox
มี.ค. 20th, 2017 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดอบรมการใช้ VPN และการใช้ Dropbox ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการจัดการความรู้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียติ โดยจัดการอบรมออกเป็น 3 รุ่น ได้แก่ วันที่ 2, 16 และ 30 มีนาคม 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับเป็นสมาชิก และเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถใช้ฐานข้อมูลจากภายนอกมหาวิทยาลัยได้โดยผ่าน VPN โดยที่บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการติดตั้ง VPN  สรุปออกมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถอธิบายให้กับผู้ใช้บริการได้

การอบรมการใช้ VPN และ Dropbox

การอบรมการใช้ VPN และ Dropbox

การอบรมการใช้ VPN และ Dropbox

การอบรมการใช้ VPN และ Dropbox

นอกจากนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ในเรื่อง Dropbox ที่สามารถให้บุคลากรใช้ไฟล์ร่วมกันได้ โดยมีการจัดเก็บไฟล์ไว้ใน Dropbox ทำให้บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ทราบวิธีการใช้ วิธีการดึงไฟล์และการส่งไฟล์เมื่อมีการอัพเดทเกิดขึ้น

 

View (74)

ความร่วมมือกับสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ค. 17th, 2016 by supaporn

วันที่ 17 พฤษภาคม 2559 รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดี ให้การต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร และคณะในโอกาสหารือและเจรจาความร่วมมือ การใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ และการใช้ฐานข้อมูลงานวิจัยร่วมกัน  ในการนี้ ผู้อำนวยการและผู้ช่วยศูนย์บรรณสารสนเทศ เข้าร่วมการหารือในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารอำนวยการ มฉก. บางพลี

HUC-CU-1                                                                                      HCU-CU-3

HCU-CU-2

HCU-CU-4

View (20)

การอบรมการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect และ Search Talk
ม.ค. 29th, 2016 by supaporn

วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 9.00-11.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดการอบรมการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect ให้แก่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 149 คน ณ ห้อง 4-207 อาคารโภชนาการ

ก่อนนำเข้าการอบรมฐานข้อมูล ScienceDirect วิทยากรจากศูนย์บรรณสารฯ ได้อธิบายสารสนเทศต่างๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์ใหม่ของศูนย์บรรณสารฯ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ที่ http://lib.hcu.ac.th เพื่อเป็นการแนะนำแหล่งสารสนเทศต่างๆ เครื่องมือ และช่องทางการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย รวมทั้งฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับเป็นสมาชิก เช่น ScienceDirect ซึ่งได้อธิบายการใช้งานอย่างละเอียด และการนำภาพ สมการ จากฐานข้อมูลไปใช้ประกอบในการทำรายงานต่อไป รวมทั้งการอ้างอิงอย่างถูกต้อง เนื่องจากนักศึกษาพยาบาล เป็นผู้ใช้ ScienceDirect ในการเรียนอยู่เสมอ การเข้าใช้ฐานข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่คุ้นเคย ทีมงานวิทยากร จึงได้เตรียมการฝึกปฏิบัติการ “Search Talk” เพื่อให้นัักศึกษาพยาบาล ได้ฝึกฝนการคิดคำค้น กลวิธีในการสืบค้น จากโจทย์ที่เตรียมไว้ให้จำนวน 8 ข้อ และเพื่อจะได้นำคำค้น กลวิธีในการสืบค้น มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์ในการสืบค้น ประกอบการทำรายงาน การค้นคว้าต่อไป Read the rest of this entry »

View (74)

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ
ม.ค. 27th, 2016 by supaporn

วันที่ 27 มกราคม 2559 เวลา เวลา 9.30-11.30 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมสิ่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาโลจิสติกส์ สาขาการบัญชี สาขาการจัดการ สาขาการตลาดและสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ รวม 90 คน และเวลา 13.30-15.30 น. ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจจีน สาขาการเงิน และสาขาการตลาด รวม 54 คน โดยแนะนำการสืบค้นผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับจากต่างประเทศ การใช้ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ การใช้ฐานข้อมูลวิชาการ รวมทั้งแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารฯ นำมาเผยแพร่ไว้ที่หน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารฯ ที่ http://lib.hcu.ac.th

บรรยากาศการอบรม

บรรยากาศการอบรม

บรรยากาศการอบรม

บรรยากาศการอบรม

ในการอบรมครั้งนี้ มีการเน้นในเรื่องการเขียนรายการอ้างอิงอย่างถูกต้อง เนื่องจากจะเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ และถือว่าไม่จริยธรรมในทางวิชาการ และในปัจจุบันสามารถใช้โปรแกรม Plagiarism Check‎er ในการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน การเขียนรายการอ้างอิง ให้มีการสอบถามอาจารย์ที่มอบหมายว่าจะให้ใช้หลักเกณฑ์หรือรูปแบบใด ซึ่งที่หน้าเว็บของศูนย์บรรณสารฯ ได้นำข้อมูล การอ้างอิงตามหลักการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระของมหาวิทยาลัย ข้อมูลการเขียนการอ้างอิงรูปแบบต่างๆ เช่น Citation Styles (http://www.plagiarism.org/citing-sources/citation-styles) A Research Guide for Students (http://www.aresearchguide.com/) และ การอ้างอิงและการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ตามแบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 (แปลและเรียบเรียง โดย นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์ สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

View (56)

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 9.30-11.30 น.  ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ จำนวน 28 คน และเวลา 13.30-15.30 น. นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชั้นปีที่3 จำนวน 52 คน และคณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี สาขาการจัดการ สาขาการตลาด จำนวน 87 คน ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร

วิทยากรบรรยาย การส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ

วิทยากรบรรยาย การส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ

กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะแนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดผ่านระบบฐานข้อมูลห้องสมุด ตามสาขาวิชาของนักศึกษาแล้ว ยังได้มีการเน้นเรื่องการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect โดยแนะนำวิธีการสืบค้น การจำกัดการสืบค้น การดูผลการสืบค้น การดาวน์โหลดข้อมูล รวมทั้งการดึงข้อมูลในบทความมาใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น รูปภาพ สูตรสมการ เป็นต้น และการแนะนำการใช้เครื่องมือในการดึงข้อมูลทางรายการบรรณานุกรมของการอ้างอิงออกมาจากฐานข้อมูลด้วย ทั้งนี้ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ และฐานข้อมูลวิชาการเป็นอีก 2 ฐานข้อมูลที่นักศึกษาให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้มีการสาธิตการสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ ThaiLIS และฐานข้อมูลงานวิจัย TNRR และได้มีการเน้นในการค้นหาวิทยานิพนธ์ของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจากรายการวิทยานิพนธ์ทั้งหมดที่ศูนย์บรรณสารฯ ให้บริการที่หน้าเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารฯ ที่ http://lib.hcu.ac.th (1) โดยรวบรวมไว้ในรูปแบบของเอ็กเซล (2) และศูนย์บรรณสารฯ ได้อำนวยความสะดวกให้คลิกรายการวิทยานิพนธ์ที่้ต้องการและเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ ThaiLIS ได้ทันที (3) ก็จะสามารถคลิกดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มมาดูได้ทันที

ขั้นตอนการค้นหาวิทยานิพนธ์ มฉก. อย่างง่ายๆ

ขั้นตอนการค้นหาวิทยานิพนธ์ มฉก. อย่างง่ายๆ

View (52)

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ 3 สาขาวิชา คณะบริหารธุรกิจ
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

วันที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 13.30-15.30 น. ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ให้กับนักศึกษา 3 สาขาวิชา ของคณะบริหารธุรกิจ ได้แก่ สาขาโลจิติกส์ สาขาการจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ โดยแนะนำฐานข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ศูนย์บรรณสารฯ เพื่อสืบค้นข้อมูลประกอบการเรียน การสอน การค้นคว้า การทำสหกิจศึกษา การให้บริการต่างๆ ของศูนย์บรรณสารฯ รวมทั้งการแนะนำฐานข้อมูลออนไลน์ที่มีการบอกรับจากต่างประเทศ เช่น ScienceDirect และการติดตั้ง VPN เพื่อการเข้าใช้ฐานข้อมูลออนไลน์เมื่ออยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย การแนะนำฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ฐานข้อมูลวิชาการ เช่น ฐานข้อมูลงานวิจัย จากหลายๆ แหล่ง โดยใช้คำค้นที่เกี่ยวข้องในแต่ละสาขาเป็นคำค้น กลวิธีต่างๆ ในการสืบค้น ทั้งในการสืบค้นแบบพื้นฐาน และการสืบค้นแบบขั้นสูง

ระหว่างการบรรยาย

ระหว่างการบรรยาย

สภาพบรรยากาศของนักศึกษาให้ความสนใจในการเรียนรู้

สภาพบรรยากาศของนักศึกษาให้ความสนใจในการเรียนรู้

นอกจากนี้ ได้เน้นให้นักศึกษาตระหนักถึงการคัดลอกผลงานของคนอื่น การอ้างอิงอย่างถูกต้อง ในลักษณะการเขียนรายการอ้างอิงด้วยตนเอง ตามรูปแบบต่างๆ ของแต่ละสาขาวิชา หรือการใช้เครื่องมือต่างๆ เป็นตัวช่วย การใช้ฟังก์ชั่นของฐานข้อมูลที่มีให้บริการในการดึงข้อมูลรายการอ้างอิงในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้แหล่งทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ การสืบค้นได้อย่างถูกวิธี การนำไปใช้อย่างมีจริยธรรม

View (61)

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้แก่นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม
ม.ค. 20th, 2016 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศฯ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศให้แก่นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยาอุตสาหการ ชั้นปีที่ 3 จำนวน จำนวน 38 คนวันพุธที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 13.30 -15.30 น.  ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร

ทีมวิทยากรจากศูนย์บรรณสารฯ ได้แนะนำเว็บไซต์ เพื่อให้ทราบถึงช่องทางในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่จัดหาไว้ให้ เช่น การสืบค้นผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  แหล่งสารสนเทศแบบเปิด ฐานข้อมูลประเภทอื่นๆ เช่น วิทยานิพนธ์ ทั้งที่เป็นฐานข้อมูลในประเทศไทย และต่างประเทศ ฐานข้อมูลวิชาการ ฐานข้อมูลออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยบอกรับเป็นสมาชิก รวมทั้งการติดตั้ง VPN เพื่อให้สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลที่บอกรับได้จากทางบ้าน

นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอการทำ Pathfinder เพื่อให้นักศึกษาทราบวิธีการสืบค้นสารสนเทศในหลายๆ ประเภท เพื่อใช้เป็นเส้นทางในการหาสารสนเทศต่อไป และนำไปสู่สารสนเทศ นักศึกษาได้นำสารสนเทศเหล่านี้มาอ่าน และศึกษาจนเกิดการตกผลึก และสามารถเรียบเรียงเป็นสำนวนการเขียนของตนเอง และสามารถเขียนการอ้างอิงสารสนเทศต่างๆ ที่นำมาใช้ประกอบการเขียนรายงานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งได้แนะนำวิธีการสืบค้นฐานข้อมูลที่มีเครื่องมือในการดึงรายการอ้างอิง และคู่มือการเขียนรายการอ้างอิงในรูปแบบต่างๆ  และได้มีการสร้างความตระหนักในเรื่องของการลักลอกผลงานทางวิชาการให้แก่นักศึกษาอีกด้วย ซึ่งอาจารย์และนักศึกษาที่ร่วมการอบรมให้ความสนใจหัวข้อต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง

กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 สาขาจุลชีววิทยาอุตสาหการ คณะวิทยาศาสตร์

กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 สาขาจุลชีววิทยาอุตสาหการ คณะวิทยาศาสตร์

บรรยากาศระหว่างการอบรม

บรรยากาศระหว่างการอบรม

View (55)

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ นักศึกษา คณะการแพทย์แผนจีน และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ม.ค. 19th, 2016 by supaporn

วันที่ 19 มกราคม 2559 จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ใน 2 ช่วงเวลา คือ เวลา 9.30-11.30 น. แก่นักศึกษาคณะการแพทย์แผนจีน ชั้นปีที่ 4 จำนวน 111 คน และ เวลา 13.30-15.30 น. แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จำนวน 19 คน ในการนี้ทีมวิทยากรได้จัดการอบรมตามความต้องการของอาจารย์ผู้สอนที่ต้องการให้เน้นในด้านใดบ้าง เช่น เน้นการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ การใช้ฐานข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำรายงาน และเน้นการให้บริการในห้องสมุด เป็นต้น ทั้งนี้ ได้มีการซักถามการให้บริการของศูนย์บรรณสารฯ ในหลายๆ ประเด็น และน้องๆ นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด การรู้จักแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ การใช้แหล่งสารสนเทศออนไลน์ การรู้จักการอ้างอิง ซึ่งศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาแหล่งสารสนเทศต่างๆ เหล่านี้ไว้ที่หน้าเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารฯ ซึ่งเข้าได้ที่ http://www.lib.hcu.ac.th เพื่อประกอบการทำรายงาน พร้อมกับมีกิจกรรมสนุกๆ ระหว่างทีมวิทยากรและน้องๆ ศึกษาอีกด้วย

กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ คณะการแพทย์แผนจีน

กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ คณะการแพทย์แผนจีน

View (28)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa