SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2561).  การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสน. (A Study of Acronym in 108 Core Scripture as a Supplementary Buddhist Material). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108      (2) เพื่อศึกษาแหล่งที่มา สาระสำคัญ และการนำอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ไปใช้ในมิติต่าง ๆ (3) เพื่อศึกษาการใช้อักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และนำเสนอเป็นรายงานการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analysis Description)

ผลการวิจัยพบว่า การย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่ใช้วิธีการย่ออักษรตามคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะที่เป็นทฤษฎีการย่ออักษร 4 รูปแบบ คือ การย่ออักษรตัวแรกของศัพท์ การย่ออักษรตัวสุดท้ายของศัพท์ การย่ออักษรที่ใช้วิธีทั้งสองข้างต้นร่วมกัน การย่ออักษรแล้วประมวลอักษรมาไว้ตรงกลางโดยวางอักษรสลับกันไปมา หัวใจนอกจากนี้ใช้คำย่อ คำศัพท์ อักษรในภาษาบาลี อักษรไทย และคำไทยมาผสมกัน สำหรับแหล่งที่มาของอักษรย่อส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ รวมถึงบทสวดมนต์จากหนังสือสวดมนต์ แต่มีหัวใจบางส่วนที่มีแหล่งที่มาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไสยศาสตร์ วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์และขุนช้างขุนแผนที่โบราณาจารย์นำมาใช้สื่อเรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้า พระธรรม พุทธสาวกบางรูป คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา พิธีกรรม และเรื่องเล่าในพระพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของโบราณาจารย์ที่นำเรื่องเหล่านี้มาใช้สื่อผ่านหัวใจต่าง ๆ ดังนั้น หัวใจและอักษรย่อของหัวใจจึงเป็นสื่อการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาโดยย่อ ส่วนการนำไปใช้นั้นพบในรูปแบบสำคัญคือ การใช้ที่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจที่สัมพันธ์กับหลักการในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ใช้สำหรับท่องจำหลักที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ใช้เป็นอุบายฝึกจิตให้เป็นสมาธิโดยใช้อักษรในหัวใจเป็นเครื่องภาวนา และใช้เป็นอุบายเตือนสติผู้นำไปใช้ให้ละความชั่ว ทำความดีด้วยการรักษาศีล เสียสละ และพัฒนาจิตให้ผ่องใส ส่วนการนำไปใช้ที่ไม่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจนั้นพบว่า ส่วนใหญ่นำไปใช้ตามความเชื่อในไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดอานุภาพด้านทีดี เช่น ปลอดภัยจากอันตราย เมตตามหานิยม เป็นต้น และบางส่วนถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ทำให้คนหลงรัก ทำให้คนเกลียดชังกัน และนำไปใช้เสกของกินร่วมกับสุราที่เป็นการส่งเสริมให้คนผิดศีลข้อที่ 5 แต่ถ้ากล่าวสรุปตามสาระสำคัญของหัวใจแล้ว อักษรย่อในคัมภีร์ในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่เป็นสื่อการเรียนรู้พระพุทธ ศาสนาที่มุ่งให้คนเข้าใจและนำไปใช้พัฒนาชีวิตตั้งแต่หลักการพื้นฐาน เช่น ศีล 5 จนถึงหลักธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตสู่ความหลุดพ้นทุกข์ เช่น อริยสัจสี่ เป็นต้น

ผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาเรื่องนี้โดยสรุป คือ การไขความลี้ลับของหัวใจ 108 ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอานุภาพต่าง ๆ  แต่ผลการศึกษาเรื่องนี้สามารถยืนยันได้ว่า หัวใจต่าง ๆ ในคัมภีร์หัวใจ 108 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่อันเป็นกุศโลบายในการสอนพระพุทธศาสนาของ   โบราณาจารย์ไทย แต่เรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนาถูกกลบไปด้วยอิทธิพลของความเชื่อไสยศาสตร์ ประกอบกับการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้มักจะไม่มีการบอกความหมายและแหล่งที่มาของอักษรย่อจึงทำให้หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนาเลือนหายไปกลายเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาแทนที่อย่างน่าเสียดาย

Read the rest of this entry »

View (205)

มิลินทปัญหาฎีกา : การตรวจชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์
พ.ค. 18th, 2016 by rungtiwa

มิลินทปัญหาฎีกา : การตรวจชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์

The Milindapañhatika : Edition and Analytical Study

 

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2557). มิลินทปัญหาฎีกา : การตรวจชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์  9 (17), 1-12.

อ่านบทความฉบับเต็ม

View (24)

จริยศาสตร์เพื่อการกีฬา : การปรับความสมดุลของมนุษย์
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

จริยศาสตร์เพื่อการกีฬา : การปรับความสมดุลของมนุษย์

บทคัดย่อ

กีฬาจัดเป็นสันทนาการประการหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตและสังคม โดยมีปรัชญาพื้นฐานสำคัญคือการทำคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา บุคลิกภาพและสังคม แต่ปัจจุบันได้เกิดปัญหาขึ้นกับวงการกีฬามากมาย ปัญหาที่ว่านี้คือปัญหาที่เกิดจากตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาทั้งหมด เช่น ผู้แข่งขัน ผู้ตัดสิน ผู้ชมการแข่งขัน ผู้สนับสนุน และปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะการพนันที่เข้าไปทำลายสารัตถะของการกีฬาและก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย เมื่อวิเคราะห์ตามหลักพุทธจริยศาสตร์จะได้คำตอบที่ว่า ปัญหานี้เกิดจากความบกพร่องทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ดังนั้น กระบวนการแก้ไขปัญหานี้จึงอยู่ที่การหาวิธีการปลูกจิตสำนึกเชิงจริยธรรมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาทั้งหมดให้เป็นไปตามปรัชญาของการกีฬาที่ว่า “แก้กองกิเลสทำคนให้เป็นคน”

ธีรโชติ เกิดแก้ว.  (2546). จริยศาสตร์เพื่อการกีฬา : การปรับความสมดุลของมนุษย์. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 72-82.

View (23)

บุญคือปัจจัยพื้นฐานของชีวิต : บทวิเคราะห์จากปัญหาในสังคมไทย
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

บุญคือปัจจัยพื้นฐานของชีวิต : บทวิเคราะห์จากปัญหาในสังคมไทย

บทคัดย่อ:

บุญในทัศนะของพระพุทธศาสนา จัดเป็นพื้นฐานของชีวิตด้านจิตใจที่เชื่อมโยงชีวิตทั้งหมดเข้าด้วยกัน มิได้จำกัดอยู่เฉพาะชีวิตมนุษย์เท่านั้น แต่หมายถึงชีวิตทั้งหมดของโลก ทั้งคน สัตว์ พืช ที่ต้องอาศัยบุญคอยสนับสนุนส่งเสริมให้ดำเนินไปอย่างปกติสุข การเข้าใจเรื่องบุญที่ถูกต้องตามหลักการทางพระพุทธศาสนาจะช่วยให้เราเห็นความสำคัญของบุญและปฏิบัติตามหลักการสร้างบุญ ขจัดบาปที่เป็นตัวการทำลายบุญหรือความสมดุลของชีวิตอันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาสังคม เช่น การฆาตกรรม การละเมิดทรัพย์สินของกันและกัน เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ ถ้าวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดแล้วจะได้ข้อสรุปว่าผู้ที่สร้างปัญหาดังกล่าวขาดปัจจัยพื้นฐานของชีวิตที่เรียกว่าบุญทั้งสิ้น

 

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2547). บุญคือปัจจัยพื้นฐานของชีวิต : บทวิเคราะห์จากปัญหาในสังคมไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 70-84.

อ่านบทความฉบับเต็ม

View (68)

ประเพณีรับบัวที่วัดบางพลีใหญ่ใน : สารัตถะที่ชาวพุทธต้องเรียนรู้
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

ประเพณีรับบัวที่วัดบางพลีใหญ่ใน : สารัตถะที่ชาวพุทธต้องเรียนรู้

บทคัดย่อ:

ประเพณีรับบัวหรือโยนบัวเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ที่ปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านานและมีสาระน่ารู้หลายเรื่อง เช่น ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภูมิทัศน์เกี่ยวกับท้องที่ คติชนวิทยา เรื่องเล่าที่ทรงคุณค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่รู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาสร้างสรรค์ก่อให้เกิดประเพณีที่งดงาม วิถีชีวิตทางจริยธรรมที่เอื้ออาทรต่อกันของคนในอดีต โดยเฉพาะปรัชญาธรรมจากดอกบัว ดอกไม้ประจำพระพุทธศาสนาที่เป็นสัญลักษณ์ของปัญญา ซึ่งชี้ให้เห็นถึงสาระที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา หมายถึง ศาสนาที่มุ่งให้ศาสนิกใช้ปัญญาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตในทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา มิใช่ใช้แต่ศรัทธาเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้คนไม่เข้าใจถึงความเป็นมา ความหมาย วิธีการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่แท้จริงของเรื่องนั้นๆ จะกลายเป็นการปฏิบัติตามๆ กัน โดยปราศจากความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อพระพุทธศาสนาโดยตรง กลายเป็นการสืบสานกันแบบมือบอดที่นับวันจะทำให้สาระสำคัญหรือเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาเลือนหายไป

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2548). ประเพณีรับบัวที่วัดบางพลีใหญ่ใน : สารัตถะที่ชาวพุทธต้องเรียนรู้. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 84-99.

อ่านบทความฉบับเต็ม

View (36)

สัปปายะ 7 : หลักการจัดระเบียบเพื่อความสมดุลของครอบครัว/สังคม
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

สัปปายะ 7 : หลักการจัดระเบียบเพื่อความสมดุลของครอบครัว/สังคม

บทคัดย่อ:

สัปปายะเป็นหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ผู้ปฏิบัติธรรมแสวงหา เพราะเป็นเรื่องที่เอื้อให้การปฏิบัติธรรมบรรลุผลได้ง่ายขึ้น หลักการนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดระเบียบครอบครัว สถาบัน องค์กร และส้งคมได้เป็นอย่างดี  เนื่องจากเป็นหลักที่พูดถึงความเหมาะสมหรือความสมดุลของที่อยู่อาศัย ทำเลที่ประกอบอาชีพ การพูดจา บุคคลที่ควรคบหา การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ สภาพภูมิอากาศหรือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และการบริหารร่างกายอย่างถูกต้องเหมาะสมอันเป็นปัจจัยสนับสนุนคุณภาพชีวิตของคนให้ดียิ่งขึ้น นอกจากจะส่งผลดีต่อบุคคลและครอบครัวแล้ว ยังส่งผลดีต่อประเทศชาติและธรรมชาติอื่นๆ ด้วย

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2547). สัปปายะ 7 : หลักการจัดระเบียบเพื่อความสมดุลของครอบครัว/สังคม. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 80-92.

อ่านบทความฉบับเต็ม

View (51)

ความรัก : บำเหน็จทางสังคมกับคุณค่าที่แท้จริง
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

ความรัก : บำเหน็จทางสังคมกับคุณค่าที่แท้จริง

บทคัดย่อ:

ความรักจัดเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของจิตวิญญาณประการหนึ่งที่่มนุษย์จำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ เนื่องจากความรักมีทั้งคุณและโทษที่สามารถสร้างปัญหาให้แก่มนุษย์และสังคมได้ ถ้าหากเราขาดสติปัญญา บทความนี้ ได้นำเสนอปัญหาเกี่ยวกับความรักที่ได้รับอิทธิพลจากบำเหน็จทางสังคม หมายถึง ปัจจัยทางสังคมทั้งตัวบุคคล สื่อ และค่านิยมที่คนในสังคมหยิบยื่นให้แก่กัน ถ่ายทอดหรือร้บช่วงต่อกันมาอย่างผิดๆ โดยใช้แนวคิดทางพระพุทธศาสนาเป็นกรอบของการอธิบาย ซึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงประเภทและความหมายของความรักที่ควรปลูกฝังและควบคุม ค่านิยมทางสังคมเกี่ยวกับความรักที่อาจนำไปสู่หายนภัยที่ต้องเฝ้าระวังและทางออกของปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยการสร้างความรักบนพื้นฐานของปัญญาที่มองเห็นค่า ความหมาย และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเรียกว่า สัมมาทิฐิ ตลอดจนแนวทางการป้องกันและปรับความรักที่เป็นอกุศลให้เป็นกุศลด้วยปัญญาและจาคะ คือ การเสียสละ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ความรักสวยสด งดงาม และอำนวยประโยชน์ให้แก่ชีวิตและสังคม

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2549). ความรัก : บำเหน็จทางสังคมกับคุณค่าที่แท้จริง. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (18), 107-121.

อ่านบทความฉบับเต็ม

View (111)

พิบัติภัย : เรื่องที่ควรเรียนรู้และเตรียมตัวรับอย่างมีสติ
มี.ค. 3rd, 2016 by rungtiwa

พิบัติภัย : เรื่องที่ควรเรียนรู้และเตรียมตัวรับอย่างมีสติ

บทคัดย่อ:

พิบัติภัยในบทความนี้ หมายถึง ภัยที่นำความหายนะมาให้แก่มนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ พิบัติภัยจากธรรมชาติ เป็นเรื่องที่เราไม่อาจห้ามได้ เพราะเป็นไปตามเงื่อนไขของธรรมชาติ แต่เราสามารถ เรียนรู้ ป้องกัน และหลีกเลี่ยงได้ โดยไม่ยกพิบัติภัยจากคลื่นยักษ์สึมานิ เป็นกรณีศึกาษา และพิบัติภัยจากมนุษย์ กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันเอง เช่น การประทุษร้ายร่างกาย การทารุณกรรม การฆาตกรรม จนถึงสงครามที่สร้างหายนะให้แก่ชีวิตและสังคมที่มิอาจประเมินค่าได้ ซึ่งในบทความนี้ มุ่งอธิบายพิบัติภัยจากธรรมชาติเป็นสำคัญ โดยใช้กรอบแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการอธิบาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติ ความหมาย ประเภท มูลเหตุ และผลกระทบของพิบัติภัย ตลอดจนกระทั่งยุทธศาสตร์ในการเตรียมรับอย่างมีสติ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ การตั้งรับอย่างมีสติ และการก้าวต่อไป ไม่ยอมแพ้ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ผู้อ่านได้หลักการในการเตรียมรับกับพิบัติทั้ง 2 ประเภท อย่างมีสติซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียลงหรืออาจไม่ต้องสูญเสียอะไรเลยก็เป็นได้

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2548). พิบัติภัย : เรื่องที่ควรเรียนรู้และเตรียมตัวรับอย่างมีสติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 64-78.

อ่านบทความฉบับเต็ม

View (27)

หวย : เส้นทางลัดสู่ความร่ำรวยหรือหายนะอย่างยั่งยืน
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

หวย : เส้นทางลัดสู่ความร่ำรวยหรือหายนะอย่างยั่งยืน

Lottery : A short cut to wealth or disaste

บทคัดย่อ:

บทความนี้ได้นำเสนอปรากฏการณ์ทางสังคมเกี่ยวกับการเล่นหวยในมุมมองทางพระพุทธศาสนาโดยได้กล่าวถึงที่มาของหวยในสังคมไทย ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงการคงอยู่ของหวยในสังคมไทย เช่น นโยบายของรัฐที่สนับสนุนให้เกิดหวยบนดิน สื่อทางสังคมที่กระตุ้นให้คนเล่นหวยมากขึ้น ประเกอบกับความยากจนและความอยากรวยของประชาชนบางส่วน ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่มองว่าหวยเป็นอบายมุขที่นำมาซึ่งความหายนะทั้งด้านชีวิต จิตวิญญาณ ทรัพย์สิน และขัดแย้งกับหลักกรรมที่สอนให้คนแสวงหาสิ่งต่างๆ โดยการลงมือกระทำด้วยตนเอง และท้ายของบทความนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอทางออกจากปัญหานี้ตามหลักการของสัมมาทิฐิ หมายถึง กระบวนการสร้างแนวคิดใหม่ เป็นแนวคิดที่เข้าถึงความจริงจนมองเห็นโทษของการพนัน หนึ่งในวิธีการที่ผู้เขียนนำเสนอก็คือ การปลูกฝังนิสัยรักการทำงานสุจริตที่ทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะสถาบันครอบครัวที่พ่อแม่จะต้องสร้างแนวคิดและปลูกฝังเรื่องนี้ให้แก่ลูกตั้งแต่เยาว์วัยแทนการหวังรวยทางลัดด้วยการเล่นหวยหรือการพนันในรูปแบบอื่นเพราะการพนันทุกรูปแบบมิใช่ทางลัดสู่ความร่ำรวย แต่เป็นเส้นทางที่นำไปสู่ความหายนะ Read the rest of this entry »

View (34)

โพธิ์: จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

โพธิ์ : จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว

Bodhi Tree from Bodh Gaya to Huachiew

บทคัดย่อ:

โพธิ์เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกันกับโพ ชาวพุทธถือว่าโพธิ์เป็นต้นไม้ประจำพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งในขณะที่ตรัสรู้ชาวไทยพุทธนิยมนำโพธิ์สายพันธุ์พุทธคยามาปลูกไว้ตามวัดวาอารามทั่วไป เพื่อระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ต้นโพธิ์ยังเข้ามา
เกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมไทยในหลายเรื่อง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้กำหนดเอาต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย และสร้างประติมากรรมอันเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยภายใต้ชื่อว่าพระบรมโพธิสมภาร อันสื่อถึงพระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย และความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระมหากษัตริย์ไทยของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังแสดงถึงเป้าหมายของการศึกษา คือ ความรุ่งเรืองทางปัญญาและคุณธรรมของเยาวชนที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ตามรอยโพธิญาณของพระพุทธเจ้าภายใต้ปรัชญาธรรมอันสูงส่งที่ว่า เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม ซึ่งเป็นแม่บทของการใช้องค์ความรู้และการดำเนินชีวิตตามปฏิปทาธรรมของหลวงปู่ไต้ฮงที่ยึดแนวพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ทรงส่งพระสาวกไปทำงานให้พระศาสนา คือ การอนุเคราะห์ชาวโลกให้ได้รับประโยชน์และความสุข ดังนั้นเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วโพธิ์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา ความบริสุทธิ์แห่งจิต และกรุณาที่แสดงออกมาในรูปของการบำเพ็ญประโยชน์ต่อโลก

Bodhi Tree is a species of fig in the same family (Moraceae) as the Bo-Tree. This plant is considered sacred by the followers of Buddhism because Siddhartha Gautama is refered to have been sitting underneath a Bo-Tree when he was enlightened (Bodhi). Bodhi Trees has been involved in many aspects of Thai ways of life. Thai Buddhists usually plant the “Bodh Gaya” Bodhi Trees in the temples to remind themselves of Lord Buddha’s enlightenment. Huachiew Chalermprakiet University has also declared this tree as its official symbol. The university was established with the placement of “Phra Borom Bodhi Somparn” or “Golden Bodhi Tree” sculpture to represent the Royalty and gratitude of the Huachiew Chalermprakiet University founders. The sculpture signifies the university’s academic goals — the dawning light of the knowledge and the morals of the students. Following Lord Buddha’s teaching, the university has set its motto as “Learning to Serve Society”, meaning that the students should apply their knowledge to help other people in the society as demonstrated when the disciple monks were dispatched to explain the dharma to the populace. As a conclusion, the Bhodi Tree is a symbol of wisdom, purity, and kindness as reflected in the society-serving deeds.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2553). โพธิ์ : จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 69-84.

อ่านบทความฉบับเต็ม

View (39)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa