SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ขั้นตอนการ Create Bill ค่าปรับเข้าระบบ กรณีแจ้งหนังสือหาย
ก.ค. 9th, 2021 by kityaphat

เมื่อสมาชิกยืมหนังสือออกจากห้องสมุดแล้วเกิดการสูญหาย แล้วมาติดต่อขอแจ้งหายกับเจ้าหน้าที่/บรรณารักษ์ ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 นั้น จะต้องชำระค่าดำเนินการแจ้งหาย และค่าปรับเกินกำหนด (ถ้ามีค่าปรับเกินหนด) ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ได้มีฟังก์ชั่น Create Bill  เพื่อ Create ค่าปรับเข้าไปในระบบ โดยผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องเขียนใบเสร็จรับเงิน สามารถเคลียร์ค่าปรับในระบบ และส่งบิลการชำระค่าปรับให้กับสมาชิกผ่านช่องทาง E-mail ของสมาชิกได้โดยสะดวก ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. Scan Barcode หรือพิมพ์รหัสสมาชิก ช่อง Enter Barcode

Read the rest of this entry »

View (43)

ขั้นตอนการตัดงบประมาณของ E-Product ในระบบ WMS
ก.พ. 8th, 2021 by ladda

จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) ได้ตัดงบประมาณ ในส่วนของ ตัวเล่มหนังสือ และให้บริการตัวเล่มหนังสือเป็นหลักตลอดมา แต่มาช่วงปี 2562 ได้มีซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนงานตัดงบประมาณของ E-Product ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการสร้างใบ Invoice

– คลิกที่ Acquisition module

– คลิกที่ Invoice และกดเลือกที่ New Invoice

– ใส่รายละเอียด Invoice Number, Vender, Tax Handling ตามรูป และกด Save

 

เลือก Receive and Invoice

*** ส่วนของ Processing Type ให้เลือกที่  E-Product

ส่วนของ  Action เลือก Receive and Invoice

ส่วนของ Vender ใส่ Vender

ส่วนของ Invoice Number ใส่เลขที่ใบส่งของ จากนั้นกดที่ View Items

Read the rest of this entry »

View (55)

การเพิ่มและการบันทึกรายการระเบียนบรรณานุกรม (Bib Record) ในกรณีใช้ระเบียนบรรณานุกรมร่วมกับห้องสมุดอื่น
ก.พ. 2nd, 2021 by jittiwan

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดที่รวมบรรณานุกรมของสมาชิกที่มีข้อมูลรวมกันในระบบ การนำเข้าข้อมูลทางบรรณานุกรมเข้าระบบ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าก่อนเสมอ ซึ่งจะใช้เขตข้อมูลต่อไปนี้ในการตรวจสอบ ได้แก่

  1. tag 020 ISBN
  2. tag 100 ผู้แต่ง
  3. tag 245 ชื่อเรื่อง
  4. tag 250 ครั้งที่พิพ์
  5. tag 260 ปีพิมพ์

กรณีที่เขตข้อมูลดังกล่าวตรงกับหนังสือที่กำลังนำเข้า สามารถใช้ bibliographic record ร่วมกันได้ และสามารถเพิ่ม
ข้อมูลใน bibliographic record ให้สมบูรณ์มากขึ้นได้ ดังตัวอย่าง Read the rest of this entry »

View (81)

การใช้คำสั่ง Move LBD และ LHR เมื่อมีข้อมูลซ้ำ
ม.ค. 21st, 2021 by dussa

เมื่อพบว่า มีระเบียนบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศซ้ำซ้อนหรือมี bibliographic record (bib) ซ้ำกัน บรรณารักษ์จะรวมระเบียนนั้น ๆ หรือรวม bib นั้นให้เหลือเพียงระเบียนเดียว หรือ bib เดียวที่สมบูรณ์เท่านั้น โดยการเลือกใช้คำสั่ง Move ย้ายไปยังระเบียนที่สมบูรณ์ที่สุด

เข้าสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS https://hcu.share.worldcat.org/wms และเลือกโมดูล Matadata แล้ว เลือกระเบียนที่มี Bib ซ้ำ  ซึ่งจะย้ายไปรวมกับ Bib อื่น จึงต้อง Move ส่วนที่เป็น LBD (คือ Local Bibliographic Data เป็นส่วนข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุด ซึ่งจะมีส่วนนี้ เมื่อใช้ Bib ร่วมกับ Master record กับห้องสมุดแห่งอื่น ห้องสมุดที่ขอใช้ระเบียนร่วมจะใส่ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่ห้องสมุดใส่นอกเหนือจากที่มีการลงใน master record)  ไปอยู่ในระเบียนใหม่

 

ตัวอย่างแสดงหน้าจอ LBD

Read the rest of this entry »

View (105)

เข้าใจข้อมูล สื่อสารได้เข้าใจ โดนใจผู้ใช้
ม.ค. 20th, 2021 by supaporn

การเขียนบทความนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2563 เรื่อง เข้าใจข้อมูล สื่อสารได้เข้าใจ โดนใจผู้ใช้

เนื่องจากมีการพิจารณาแล้วเห็นว่า ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีการลงข้อมูลบรรณานุกรมพร้อมรายละเอียดอื่นๆ ที่ผู้ใช้ห้องสมุดควรทราบและจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด โดยเฉพาะระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เป็นระบบที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเป็นสมาชิกในเครือข่ายมากกว่า 7,200 แห่งทั่วโลก ดังนั้น ข้อมูลหรือข้อความที่ลงในปรากฏในระเบียนบรรณานุกรม 1 ระเบียนจะมีความแตกต่างจากระเบียนบรรณานุกรมของระบบห้องสมุดโดยทั่วไป การที่ผู้ใช้ห้องสมุดจะสามารถใช้ฟังก์ชั่นงานต่างๆ และข้อมูลหรือข้อความที่ปรากฏในระเบียนบรรณานุกรมได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดนั้น บุคลากรของห้องสมุดควรจะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้หรือสามารถอธิบายข้อมูลหรือข้อความในระเบียนบรรณานุกรมให้กับผู้ใช้ได้ดีที่สุด

แต่การที่บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ส่วนใหญ่จบมาจากหลากหลายสาขา และปฏิบัติหน้าที่ในงานอื่นๆ ที่เป็นงานหลัก แต่ต้องทำหน้าที่ให้บริการในช่วงนอกเวลาทำการ ย่อมทำให้มีความรู้ ข้อมูลที่อาจจะไม่เท่ากัน และเพื่อเป็นการปรับทักษะ หรือให้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ระบบพัฒนาขึ้นมาใหม่ ด้วย ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เข้าใจข้อมูล สื่อสารได้เข้าใจ โดนใจผู้ใช้” นี้ขึ้น ทั้งนี้ เน้นข้อมูลหรือข้อความที่ผู้ใช้ห้องสมุดเห็นจากระบบการสืบค้นเป็นหลัก

ในการเขียนเอกสารนี้ ขอเขียนขึ้นในลักษณะที่เป็นข้อคำถาม ซึ่งน่าจะง่ายต่อความเข้าใจ และเป็นไปตามลำดับของการเข้าใช้ระบบ

1. การแจ้ง URL ในการสืบค้น

คำอธิบาย:  ให้ตอบว่า  https://hcu.on.worldcat.org/discovery

ถ้าต้องตอบว่า จะสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของศูนย์บรรณสารสนเทศได้จากช่องทางใด ควรจะตอบว่า https://hcu.on.worldcat.org/discovery  มากกว่าที่จะตอบว่า เข้ามาที่เว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่  http://www.lib.hcu.ac.th

เนื่องจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ทำช่องสืบค้นของระบบห้องสมุด WMS ไว้ให้ จึงง่ายต่อการแนะนำ และ URL สำหรับหน้าจอการสืบค้นของ WMS อาจจะยาวและจำยาก แต่ควรแนะนำให้แจ้ง URL ที่ ตัวสืบค้นของระบบห้องสมุด WMS จะดีกว่า  เนื่องจากระบบ WMS มีการบริหารจัดการอยู่บน Cloud กรณีที่มหาวิทยาลัยไฟดับ หรือมีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ผู้ใช้สามารถเข้าสืบค้นมายังระบบห้องสมุด WMS ได้โดยตรง (ไม่ต้องมาเข้าที่เว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ซึ่งจะเข้าใช้ไม่ได้ถ้าเกิดไฟดับ เนื่องจากเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ที่มหาวิทยาลัย)

สำหรับ URL https://hcu.on.worldcat.org/discovery  นี้  มีเทคนิคในการจำแบบง่าย ๆ ดังนี้

hcu                 =        Huachiew University
on                   =        บน
worldcat        =        รายการบรรณานุกรมบนโลก (World Cataloging)
org                  =        องค์กร (organization) เป็นชื่อโดเมนบริหารโดย OCLC
discovery       =        การสืบค้น การค้นหา

ทั้งหมดนี้จะมีชื่อเรียกเป็นคำย่อสำหรับหน้าจอหรือช่องทางการสืบค้นของระบบ WMS ว่า WCD = worldcat discovery หรือคำทั่วไป ที่เรามักจะได้ยินว่า OPAC ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วไป นั่นเอง Read the rest of this entry »

View (357)

Group related editions ฟังก์ชั่นเพื่อช่วยในการสืบค้นของ WMS
ม.ค. 6th, 2021 by supaporn

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS เพิ่มฟังก์ชั่นช่วยในการสืบค้น ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้เป็นตัวช่วยใน (กรอง) การสืบค้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการมากขึ้น ฟังก์ชั่นหรือทางเลือกที่เพิ่มเข้ามาได้แก่

รูปที่ 1 ตัวกรองการสืบค้น

Current Search        –  Keep selections for subsequent searches

เมื่อเปิดใช้งานตัวเลือกนี้ search filters ที่ผู้ใช้ได้เลือกไปแล้วนั้นจะยังคงอยู่เพื่อใช้ในการค้นหาในครั้งต่อไป ถ้าปิดตัวเลือกนี้ search filters ที่เคยเลือกไว้จะถูกลบ เมื่อผู้ใช้ได้ค้นหาคำค้นครั้งใหม่ Read the rest of this entry »

View (54)

การจัดเรียง Item ในส่วนของ LHRs
ต.ค. 12th, 2020 by ladda

การจัดเรียง Item ในส่วนของ LHRs ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ด้วยการปรับแต่ละ Item ที่สลับ ฉบับ (ฉ.), สลับเล่ม (ล.) หรือปี พ.ศ. อยู่ ให้เรียงตามลำดับตำแหน่งให้ถูกต้องตามความต้องการ ด้วยการใส่ ตัวเลขตามลำดับที่ต้องการให้เรียงใน Item ลำดับไหน โดยใส่ในส่วนของ Copy Number ดังต่อไปนี้

ตัวอย่าง รายการ Item ที่ยังไม่เรียงตามปี พ.ศ.

Read the rest of this entry »

View (46)

ขั้นตอนการเปลี่ยน Location หนังสือ เป็น On display
ก.ค. 19th, 2020 by piyanuch

ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ศึกษา ระบบ WorldShare Management Services (WMS)  โมดูล Circulation เพื่อหา location หรือ status ที่กำหนดสถานภาพหนังสือเพื่อจัดแสดง / แนะนำหนังสือใหม่ ว่ามี location หรือ status หนังสือที่เป็น On display หรือไม่ ผู้เขียนได้ศึกษา พบว่า โมดูล Circulation มี shelving location หรือ status หนังสือที่เป็น On display ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS

      1.1 เลือกที่  HUACHIEW CHALERMPRAKIET UNIVERSITY LDAP

ภาพที่ 1  เข้าระบบห้องสมุด WMS

Read the rest of this entry »

View (60)

Bulk renew itemsในระบบ OCLC
ก.ค. 14th, 2020 by kamolchanok

Bulk renew items เป็นฟังก์ชั่นใหม่ที่ทำให้การทำงานของ Admin ที่ดูแลระบบทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น  เพื่อให้สะดวกมากขึ้นในการปรับ วันกำหนดส่ง (Due dates) ในระบบ WMS ให้กับผู้ใช้บริการครั้งละมากๆ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19  ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ต้องขยายการต่ออายุ หรือต่ออายุหนังสือให้กับผู้ที่ยืม โดยที่ไม่ต้องห่วงเรื่องการมาคืน หรือกลัวจะถูกปรับ เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่สามารถออกจากบ้านได้ เนื่องจากการเกิดโรคระบาด

ฟังก์ชั่นนี้ต้องจัดทำโดยผู้ดูแลระบบเท่านั้น ซึ่งมีขั้นตอนในการทำดังนี้

1.ดาวน์โหลดโปรแกรม worldshare-circ-bulk-renew-windows.exe Read the rest of this entry »

View (87)

แนะนำหนังสือน่าสนใจใน WMS ผ่าน #SubjectGuideไกด์หนังสือให้คุณ
ก.ค. 13th, 2020 by Natchaya

ปัจจุบัน Facebook เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ และก็ถูกใช้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่งของหน่วยงานนั้นๆ อย่างห้องสมุดก็ใช้ Facebook ในการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดด้วย ไม่ว่าจะเป็น การแจ้งประกาศ ข่าวสาร กิจกรรมต่าง ๆ การแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ และสามารถคลิกไปหาหนังสือที่ต้องการเพิ่มเติมก็เป็นสิ่งที่ห้องสมุดทำช่องทางให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แนะนำหนังสือด้วยการสร้าง URL Link และ แฮชแท็ก (Hashtag) #SubjectGuideไกด์หนังสือให้คุณ ในโพสหน้าเพจ Facebook เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ก็สามารถเข้าถึงระบบห้องสมุด เพื่อดูหนังสือที่แนะนำ หรือค้นหาหนังสืออื่นๆ ในระบบได้ทันทีเพียงคลิกเดียว! แต่ทั้งนี้ ต้องมีการสืบค้นหัวข้อที่จะแนะนำหนังสือนั้น ๆ ก่อน นะคะ

ตัวอย่างที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แนะนำหนังสือด้วยการใช้ Subject Guide เพื่อการประชาสัมพันธ์หรือแนะนำหนังสือผ่าน Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศค่ะ

Read the rest of this entry »

View (47)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa