SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
แนะนำทรัพยากรสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
พ.ค. 24th, 2018 by somsri

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มียุทธศาสตร์ในการเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและจีนศึกษา ศูนย์บรรณสารสนเศ ซึ่งเป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย จึงมีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยมีการให้บริการหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ ชั้น 4

ดังนั้น เพื่อให้หนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานมากขึ้น ผู้ปฏิบัติงาน จึงได้จัดมุมหนังสือใหม่ (New Books) ขึ้น ที่บริเวณประตูทางเข้าชั้น 4 ดังปรากฏดังภาพ

24.1

โดยการจัดมุมหนังสือแนะนำนั้น จะเลือกหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีการจัดทำบรรณนิทัศน์ประกอบหนังสือแต่ละเล่มไว้ด้วย เพื่อเป็นการนำเสนอให้ผู้ใช้บริการอ่านเนื้อหาโดยสรุปและพิจารณาที่จะอ่านต่อหรือยืมกลับไปอ่านต่อไป

 

24.4

 

24.2

 

24.3
หนังสือแนะนำดังกล่าว จะมีการประชาสัมพันธ์ขึ้น เฟซบุ๊ค ของศูนย์บรรณสารสนเทศและทางเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศในแต่ละเดือนด้วยเช่นกัน

หากผู้ใช้สนใจต้องการยืม สามารถหยิบไปยืมได้ที่ชั้น 1 ค่ะ

View (71)

National Library of Medicine Classification การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน
ก.ค. 11th, 2017 by kalyaraksa

National Library of Medicine Classification  หรือ NLM  คือ ระบบการจัดหมวดหมูแบบระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน จัดทำโดยหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่มีความสัมพันธ์กับการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หรือ LC (Library of Congress Classification) ระบบหนึ่ง

ระบบ NLM เริ่มมีการจัดทำ เมื่อประมาณปี ค.ศ 1940 โดยหอสมุดการแพทย์ทหารบกของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Army Medical Library) โดยจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1951 ใช้ชื่อหนังสือว่า Army Medical Library Classification จัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1958 ใช้ชื่อหนังสือว่า National Library of Medicine Classification จัดพิมพ์ครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ.1964 จัดพิมพ์ครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ.1978 จัดพิมพ์ครั้งที่ 5 ในปี ค.ศ. 1994 และ ฉบับพิมพ์ซ้ำ ครั้งที่ 5 ปี ค.ศ. 1999

ระบบ NLM ได้ใช้อักษร W เป็นสัญลักษณ์ของหมวดใหญ่ (Class) เป็นหมวดสำหรับแพทยศาสตร์ (Medicine) และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง  มีสัญลักษณ์แทนหมวดย่อย (Subclasses) ตั้งแต่ WA-WZ ส่วนหมวดย่อย QS-QZ เป็นหมวดสำหรับสาขาวิชาเตรียมแพทยศาสตร์ (Preclinical Sciences)

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการจัดหมวดหมู่ของทรัพยากรสารสนเทศ 2 ระบบ คือ การจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification)  สำหรับหนังสือทั่วไป  และจะใช้การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine)  สำหรับหนังสือทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ    ผู้เขียนได้รวบรวมขอบเขตการจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine) เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหาหนังสือดังกล่าว ซึ่งจะจัดไว้ที่แผนกบริการสารสนเทศ ชั้น 4 หนังสือที่เป็นภาษาจีน และคณะการแพทย์แผนจีน จัดไว้ที่แผนกบริการสารสนเทศ ชั้น 5 Read the rest of this entry »

View (3515)

ขั้นตอนการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
เม.ย. 29th, 2016 by jittiwan

งานที่รับผิดชอบในแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยารสารสนเทศ คือ วิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท  โดยมีรายละเอียดในการเรียนการสอน แต่ละหลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรปริญญาตรี

1. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

  • สาขาวิชาการจัดการโรงพยาบาล
  • สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. คณะพยาบาลศาสตร์ ประกอบด้วย

  • การพยาบาลพื้นฐานฯ
  • การพยาบาลผู้ใหญ่
  • การพยาบาลเด็ก
  • การพยาบาลมารดาฯ
  • การพยาบาลอนามัยฯ
  • การพยาบาลสุขภาพจิตฯ
  • การพยาบาลผู้สูงอายุ
  • กฎหมายและจรรยาบรรณ

Read the rest of this entry »

View (227)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa